การพัฒนารูปแบบการมีส่วนร่วมของผู้ปกครอง เพื่อพัฒนาพฤติกรรมด้านคุณธรรมตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง สำหรับเด็กปฐมวัย

Main Article Content

กรรณิการ์ สุสม

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยและพัฒนา โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาพฤติกรรมด้านคุณธรรมตามแนวเศรษฐกิจพอเพียงสำหรับเด็กปฐมวัย  เพื่อสร้างและพัฒนารูปแบบการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองเพื่อพัฒนาพฤติกรรมด้านคุณธรรมตามแนวเศรษฐกิจพอเพียงสำหรับเด็กปฐมวัย เพื่อศึกษาผลของการใช้รูปแบบการมีส่วนร่วมของผู้ปกครอง เพื่อพัฒนาพฤติกรรมด้านคุณธรรมตามแนวเศรษฐกิจพอเพียงสำหรับเด็กปฐมวัย กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้ปกครองเด็กปฐมวัย จำนวน 30 คน และเด็กปฐมวัยซึ่งเป็นบุตรหลานของผู้ปกครองที่เป็นกลุ่มตัวอย่างที่มีอายุ 4-5 ปี จำนวน 30 คน กำลังศึกษาอยู่ที่ศูนย์พัฒนาเด็กก่อนวัยเรียนชุมชนบ้านคูคตพัฒนา แขวงมีนบุรี เขตมีนบุรี กรุงเทพมหานคร ภาคเรียนที่2 ปีการศึกษา 2554 ซึ่งได้มาจากการสุ่มแบบเจาะจง วิธีดำเนินการวิจัย สร้างและพัฒนารูปแบบการมีส่วนร่วมของผู้ปกครอง ตรวจสอบคุณภาพรูปแบบการมีส่วนร่วมของผู้ปกครอง แล้วนำไปทดลองใช้กับกลุ่มตัวอย่าง เป็นเวลา 8 สัปดาห์ โดยใช้การทดลองแบบกลุ่มเดียว ทดสอบก่อนหลังการทดลอง (One-Group Pretest-Posttest Design) วิเคราะห์ผลการทดลองใช้รูปแบบการมีส่วนร่วม ด้วยการเปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยกลุ่มตัวอย่างแบบ Pair-Samples t- test วิเคราะห์พฤติกรรมด้านคุณธรรมสำหรับเด็กปฐมวัยใช้ One Samples t-test  ผลการวิจัยพบว่า 1) รูปแบบการมีส่วนร่วมของผู้ปกครอง มีองค์ประกอบ 4 ด้าน คือ การเตรียมการเกี่ยวกับการให้ความรู้ผู้ปกครองในการมีส่วนร่วม การเข้าสู่การมีส่วนร่วมของผู้ปกครอง การดำเนินการมีส่วนร่วมของผู้ปกครอง และการประเมินผลการมีส่วนร่วมของผู้ปกครอง 2) คุณภาพของรูปแบบการมีส่วนร่วมของผู้ปกครอง มีความเหมาะสมที่จะนำไปใช้ในระดับมากที่สุด 13 ด้าน และมีความเหมาะสมที่จะนำไปใช้ในระดับมาก 8 ด้าน 2) ผลการทดลองใช้รูปแบบการมีส่วนร่วมของผู้ปกครอง พบว่า เด็กปฐมวัยมีพฤติกรรมด้านคุณธรรมทั้ง 8 ด้าน โดยภาพรวม มีคะแนนเฉลี่ยอยู่ในระดับปฏิบัติ เป็นประจำ ( gif.latex?\bar{X} = 2.50, S.D. = 0.32) เด็กปฐมวัยมีคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมด้านคุณธรรมหลังการเข้าร่วมรูปแบบการมีส่วนร่วมของผู้ปกครอง  หลังการทดลองสูงกว่าเกณฑ์การประเมินอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 คะแนนเฉลี่ยความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองเพื่อพัฒนาพฤติกรรมด้านคุณธรรมตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง หลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ผู้ปกครองมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมสูงกว่าเกณฑ์การประเมินรูปแบบการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ผู้ปกครองมีความพึงพอใจในรูปแบบการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองเพื่อพัฒนาพฤติกรรมด้านคุณธรรมตามแนวเศรษฐกิจพอเพียงสำหรับเด็กปฐมวัย โดยภาพรวม อยู่ในระดับมากที่สุด ( gif.latex?\bar{X}=4.55, S.D.= 0.42)

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1 กรมวิชาการ, “กระทรวงศึกษาธิการ”, หลักสูตรการศึกษาปฐมวัยพุทธศักราช 2546. กรุงเทพฯ : คุรุสภาลาดพร้าว, 2546.
2 คณะอนุกรรมการนโยบายปฏิรูปการศึกษาทศวรรษที่สอง, “ยุทธศาสตร์พัฒนาการศึกษาเพื่อสร้างความเป็นพลเมืองดี พ.ศ.2553-2561ฉบับแก้ไข ตามมติที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายปฏิรูปการศึกษา ทศวรรษที่สอง (กนป)”, ครั้งที่ 6/2553 ณ ห้องประชุมตึกสันติไมตรี หลังนอก ทำเนียบรัฐบาล, 2553.
3 คณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ, “สำนักงาน สาระสำคัญเกี่ยวกับบทบาทของบิดา มารดา ผู้ปกครอง ชุมชน และผู้เรียนตามแนวพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542”, กรุงเทพฯ : คุรุสภา, 2544.
4 อรุณี หรดาล, “ปกครองกับการจัดการศึกษาปฐมวัยศึกษาในประมวล 3 สาระ ชุดวิชาหลักการและแนวคิดทางการศึกษาปฐมวัย”,หน่วยที่ 13. นนทบุรี : สาขาศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช อัดสำเนา, 2536.
5 เลขาธิการสภาการศึกษา,“สำนักงานกระทรวง ศึกษาธิการ, “คุณธรรมพื้นฐาน 8 ประการ”,สืบค้นเมื่อ 15 พฤศจิกายน 2554,สืบค้นจาก http://www. doingtheright.net/koonatham.html