การนำเสนอแนวทางการพัฒนาบุคลากรและการประชาสัมพันธ์ สู่ประชาคมอาเซียนของโรงเรียนมัธยมศึกษาในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา

Main Article Content

สมทรง อนุภาพ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างแนวทาง ศึกษาความเหมาะสม และศึกษาความเป็นไปได้ของแนวทางการพัฒนาบุคลากรและการประชาสัมพันธ์สู่ประชาคมอาเซียนของโรงเรียนมัธยมศึกษาในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 คน ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 17 คน ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 106 คน และหัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ จำนวน 145 คน เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่ามัธยฐาน ค่าพิสัยระหว่างควอไทล์ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบค่าที ผลการวิจัยพบว่า แนวทางการพัฒนาบุคลากรและการประชาสัมพันธ์สู่ประชาคมอาเซียนของโรงเรียนมัธยมศึกษาในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา มีความตรงตามเนื้อหา โครงสร้าง และหลักวิชา มีความเหมาะสมและความเป็นไปได้ที่จะนำไปปฏิบัติในโรงเรียนเพื่อเตรียมเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ตามกระบวนการบริหารจัดการ 4 ขั้นตอนรวม 2 ด้าน 41 รายการ ประกอบด้วย 1) ด้านการพัฒนาบุคลากร จำนวน 19 รายการ เช่น กำหนดวัตถุประสงค์ของการพัฒนาบุคลากรโดยนำข้อมูลเกี่ยวกับอาเซียนมาเป็นส่วนหนึ่งในการดำเนินการพัฒนา กำหนดผู้รับผิดชอบและมอบหมายงานหน้าที่ต่างๆ ในการดำเนินงาน การพัฒนาบุคลากร จัดทำเอกสารแนวทางการดำเนินงานการพัฒนาบุคลากรสู่ประชาคมอาเซียน นิเทศ ติดตาม ประเมินผลการดำเนินงานการพัฒนาบุคลากรอย่างต่อเนื่อง 2) ด้านการประชาสัมพันธ์ จำนวน 22 รายการ เช่น กำหนดสาระสำคัญของข่าวสารในการประชาสัมพันธ์ที่เกี่ยวข้องกับสถานศึกษาสู่ประชาคมอาเซียน กำหนดโครงสร้างของการประชาสัมพันธ์จัดทำเอกสารแนวทางการดำเนินงานการประชาสัมพันธ์สถานศึกษาสู่ประชาคมอาเซียนระดับสถานศึกษา สรุปและรายงานผลการดำเนินงานการประชาสัมพันธ์สถานศึกษาสู่ประชาคมอาเซียนทั้งภายในและภายนอกสถานศึกษาอย่างต่อเนื่องในรูปแบบที่หลากหลาย

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1 กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น, ข้อเสนอการจัดการศึกษาขององค์กรปกครองท้องถิ่นเพื่อรองรับ การเข้า สู่ประชาคมอาเซียน, สืบค้นเมื่อ 1 ธันวาคม 2555, สืบค้นจาก http://www.cityub.go.th/index.php?option=com...id...
2 กรุงเทพมหานคร, แนวการจัดการศึกษาเพื่อ เตรียมความพร้อมสู่ประชาคมอาเซียนของกรุงเทพมหานคร, สืบค้นเมื่อ 26 เมษายน 2556, สืบค้นจาก
http://203.144.166.11/attach_files/download/ News2012041856305636.pdf.
3 ชุมศักดิ์ อินทร์รักษ์, สมเกียรติ พ่วงรอด, และ อ้อมใจ วงษ์มณฑา, “ความร่วมมือระหว่างภาครัฐกับภาคเอกชนในการพัฒนาฝีมือแรงงาน จังหวัดภาคใต้ตอนล่าง เพื่อรองรับการพัฒนาเขตการค้าเสรีอาเซียน (AFTA)” รายงานการวิจัย, ปัตตานี: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี โครงการจัดตั้งสถาบันสมุทรรัฐเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา, 2546.
4 ธานินทร์ ศิลป์จารุ, “การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS, กรุงเทพฯ : วี.อินเตอร์ พริ้นท์, 2550.
5 ธิดารัตน์ โชคสุชาติ, “ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน: ความสำคัญและการเตรียมความพร้อมของไทย” มฉก. วิชาการ 99, กรกฏาคม-ธันวาคม, 2553,หน้า. 110.
6 พวงรัตน์ ทวีรัตน์, วิธีการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์, (พิมพ์ครั้งที่ 8). กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร, 2543.
7 พวงเพ็ชร ชุนละเอียด, การเตรียมความพร้อมสู่ประชาคมอาเซียน กระทรวงศึกษาธิการ ครั้งที่1/2556, สืบค้นเมื่อ 19 เมษายน2556, สืบค้นจาก http://www.moe.go.th/websm/2013/mar/095.html.
8 สมเกียรติ วัฒนศิริชัยกุล, แผนยุทธศาสตร์ชาติเพื่อพัฒนาประเทศไทยก่อนเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในปี ค.ศ.2015, กรุงเทพฯ : สินทวีกิจ พริ้นติ้ง, 2553.
9 สำนักการประชาสัมพันธ์ต่างประเทศ กรมประชาสัมพันธ์, ประเทศไทยกับอาเซียน, กรุงเทพฯ : เปเปอร์เฮ้า, 2552.
10 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 3, แผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2555, นนทบุรี : สำนักงานฯ, 2555.
11 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน, แนวทางการบริหารจัดการเรียนรู้สู่ประชาคม อาเซียนระดับมัธยมศึกษา, โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย, 2554.
12 สำนักงานวิชาการและมาตรฐานการศึกษา, แนวทางการบริหารจัดการเรียนรู้สู่ประชาคมอาเซียน, ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย, 2554.
13 เอกราช อะมะวัลย์, การพัฒนาการศึกษาของโรงเรียนช่างฝีมือทหารในการเตรียมความพร้อม ด้านบุคลากรสู่ความเป็นประชาคมอาเซียนในปี พ.ศ.2558, วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการทรัพยากรเพื่อความมั่นคง, มหาวิทยาลัยบูรพา, 2554.
14 Agado, G.A.,“Staff development in effective boarder schools.” Dissertation Abstracts International”, Retrieved March 10, 2013, From http://search.proquest.com/docview/304453565?accountid=31098. (304453565).
15 Olson,W.R.,SchoolPublic Relation Practices of an Elementary Principles and High School Principles in Four Midwestern States (Iowa, Nebraska, South Dokata), Master’s Thesis, South Dakota : University of South Dakota, 1990.