การบริหารงานบุคคลตามหลักธรรมาภิบาลในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 1

Main Article Content

ยุทธนา อิศรางกูร ณ อยุธยา

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการบริหารงานบุคคลตามหลักธรรมาภิบาลในสถานศึกษา และเพื่อเปรียบเทียบการบริหารงานบุคคลตามหลักธรรมาภิบาลในสถานศึกษา จำแนกตามประสบการณ์ทำงานและขนาดสถานศึกษาประชากร คือ ข้าราชการครูในสถานศึกษาสังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ปทุมธานี เขต 1 จำนวนทั้งสิ้น 1,642 คนและใช้การสุ่มแบบแบ่งชั้น (Stratified Random Sampling) ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 322 คน เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูลคือแบบสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลตามหลักธรรมาภิบาลในสถานศึกษา สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย(gif.latex?\bar{X} ) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) สถิติทดสอบ t-test , F-test และเปรียบเทียบรายคู่วิธีการของเชฟเฟ่ (Scheffe’s) ผลการวิจัย พบว่า 1) ข้าราชการครูมีความคิดเห็นเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลตามหลักธรรมาภิบาล ภาพรวม อยู่ในระดับมาก โดยที่ด้านหลักนิติธรรม มีค่าเฉลี่ยสูงสุด (gif.latex?\bar{X} =4.26) รองลงมาด้านหลักคุณธรรม ( gif.latex?\bar{X}= 4.23) และด้านหลักการมีส่วนร่วมกับด้านหลักความรับผิดชอบ ( gif.latex?\bar{X}= 4.13) มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด 2) ผลการเปรียบเทียบการบริหารงานบุคคลตามหลักธรรมาภิบาลในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 1 ตามประสบการณ์ทำงานและขนาดสถานศึกษา พบว่า 1) ข้าราชการครู ที่มีประสบการณ์ทำงานต่างกัน มีความคิดเห็นเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลตามหลักธรรมาภิบาลในสถานศึกษาในภาพรวมแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยที่ด้านหลักคุณธรรม ด้านหลักความโปร่งใส ด้านหลักการมีส่วนร่วม ด้านหลักความรับผิดชอบ และด้านหลักความคุ้มค่ามีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 2) ข้าราชการครูที่ทำงานอยู่ในสถานศึกษาที่มีขนาดต่างกัน มีความคิดเห็นเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลตามหลักธรรมาภิบาลในสถานศึกษาในภาพรวมและรายด้านไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1 สำนักนายกรัฐมนตรี, “ระเบียบสำนักนายก รัฐมนตรีว่าด้วยการสร้างระบบบริหารกิจการบ้านเมืองและสังคมที่ดี”, กรุงเทพฯ : สำนักฯ, 2542.
2 สำนักนายกรัฐมนตรี, “ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองและสังคมที่ดี”, กรุงเทพฯ :สำนักฯ, 2546.
3 Yamane, Taro, “Statistic and Introduction Analysis," 3 rded.New York : Harper and Row, 1973.
4 Cronbach, L.J, “Essentials of Psychological Testing (5th ed.)”, New York : Harper Collins, 1990.
5 Scheffé, H, “The Analysis of Variance”, Wiley, New York, 1995.
6 สมคิด มาวงค์, “การบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารโรงเรียน ตามความคิดเห็น ของครู สังกัดโรงเรียนเทศบาล ในจังหวัดระยอง จันทบุรี และตราด วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี
7 ปัทมา พุทธแสน, “สภาพและปัญหาการบริหารงานบุคคลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเพชรบูรณ์ เขต 3”, วิทยานิพนธ์ ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี, 2551.
8 ยงยุทธ รักษาภิกษุ, “ความคิดเห็นเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลตามหลักธรรมาภิบาลต่อคณะผู้บริหารเทศบาลนครหาดใหญ่ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ค้นคว้าอิสระรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น”,มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 2551.
9 ขวัญใจ ป้อมพระเดช, “การบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี.วิทยานิพนธ์ ค.ม. (การบริหารการศึกษา). จันทบุรี : บัณฑิตวิทยาลัย” , มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี, 2551.
10 ประสม ขุมเพชร, “แนวทางพัฒนาการบริหารงานบุคคลตามหลักธรรมาภิบาล ขององค์การบริหารส่วนตำบลในเขตอำเภอคลองลาน จังหวัดกำแพงเพชร วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการปกครองท้องถิ่น” , มหาวิทยาลัยราชภัฏ กำแพงเพชร, 2554.
11 วิชัยโนนทิง, “สภาพการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาหนองคาย เขต 3. วิทยานิพนธ์ ค.ม. (การบริหารการศึกษา). มหาสารคาม : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 2550.
12 ไพฑูรย์ บังชิด, “การใช้หลักธรรมาภิบาลในการบริหารจัดการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามหาสารคามเขต 2. วิทยานิพนธ์ค.ม(การบริหารการศึกษา). มหาสารคาม” ,บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 2550.