การศึกษาการดำเนินงานโครงการโรงเรียนดีศรีตำบล ของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา พระนครศรีอยุธยา เขต 1 และ เขต 2

Main Article Content

ฐานิตย์ เนคมานุรักษ์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาสภาพ ปัญหาและแนวทางพัฒนาการดำเนินงานโครงการโรงเรียนดีศรีตำบล ของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา พระนครศรีอยุธยา เขต 1 และ เขต 2 การวิจัยแบ่งเป็น 2 ขั้นตอน ประกอบด้วย ขั้นศึกษาสภาพ และปัญหาการดำเนินงานโครงการโรงเรียนดีศรีตำบล กลุ่มตัวอย่างคือ โรงเรียนดีศรีตำบล โดยผู้ให้ข้อมูลคือผู้อำนวยการโรงเรียน จำนวน 110 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ หาคุณภาพเครื่องมือโดยการประเมินของผู้เชี่ยวชาญ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และขั้นศึกษาแนวทางพัฒนาการดำเนินงานโรงเรียนดีศรีตำบล กลุ่มตัวอย่างคือ โรงเรียนดีศรีตำบล โดยผู้ให้ข้อมูลคือผู้อำนวยการโรงเรียน จำนวน 16 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เป็นแบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า สภาพการดำเนินงานโครงการโรงเรียนดีศรีตำบลในภาพรวมมีการปฏิบัติอยู่ในระดับมากทั้ง 4 ด้าน โดยเรียงตามลำดับคือ ด้านบรรยากาศและสิ่งแวดล้อม รองลงมาคือ ด้านการบริหารจัดการ ด้านการมีส่วนร่วม และด้านการเรียนรู้ ปัญหาการดำเนินงานโครงการโรงเรียนดีศรีตำบลในภาพรวมมีปัญหาอยู่ในระดับน้อยทั้ง 4 ด้าน โดยเรียงตามลำดับคือ ด้านการเรียนรู้ รองลงมาคือด้านบรรยากาศและสิ่งแวดล้อม ด้านการมีส่วนร่วม และด้านการบริหารจัดการ และแนวทางพัฒนาการดำเนินงานโรงเรียนดีศรีตำบล  ด้านบริหารจัดการ ได้แก่ ควรมีการวางแผน กำหนดนโยบาย ขอบข่ายงาน ผู้รับผิดชอบให้ชัดเจน และมีการกำกับติดตามให้คำแนะนำอย่างต่อเนื่อง สรุป ประเมินผล และรายงานผลการดำเนินงานอย่างจริงจัง ตามขั้นตอนระยะเวลาที่กำหนด ด้านการเรียนรู้ ได้แก่ ควรส่งเสริมให้ครูผลิตสื่อ ใช้สื่อเทคโนโลยี ประกอบกับการจัดการเรียนรู้ ส่งเสริมให้ครูเข้ารับการพัฒนาอบรม ศึกษาดูงาน ด้านบรรยากาศและสิ่งแวดล้อม ได้แก่ ควรหางบประมาณจากทั้งภายในและภายนอก เพื่อมาสนับสนุนการจัดบรรยากาศและสิ่งแวดล้อมภายในโรงเรียนเพื่อให้เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้ และด้านการมีส่วนร่วม ได้แก่ควรเปิดโอกาสให้คณะครู นักเรียน และชุมชนสามารถเข้ามาบริหารโรงเรียนได้ตามบทบาทและหน้าที่ของตนเอง เพื่อให้เกิดความร่วมมือที่ดีจากชุมชน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน, “คู่มือดำเนินงาน โรงเรียนดีศรีตำบล ตามโครงการโรงเรียนดีศรีตำบล”, โรงพิมพ์ชุมชนสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย, 2553.
2 กลุ่มนโยบายและแผน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา พระนครศรีอยุธยา เขต 1, “รายงานผลการจัดการศึกษาประจำปีงบประมาณ 2554”, พระนครศรีอยุธยา, 2554.
3 กลุ่มนโยบายและแผน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 2,พระนครศรี อยุธยา, 2556.
4 Yamane, T, “Statistic: An Introductory Analysis. (3rd ed)”. New York: Harper and Row, 1973.
5 รัตนา สิทธิราช, “ผลการดำเนินงานโรงเรียนดีศรีตำบลของโรงเรียนพร้าวบูรพา จังหวัดเชียงใหม่”, การค้นคว้าแบบอิสระศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2555.
6 ไมตรี โหมดเครือ, “ศึกษาสภาพและปัญหาในการดำเนินการตามหลักการบริหารแบบมีส่วนร่วม ของผู้บริหารสถานศึกษา ในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ช่วงชั้นที่ 1-2 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุพรรณบุรี”, วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี, 2547.
7 กฤษฎา สารการ, “รูปแบบการมีส่วนร่วมของชุมชนในการบริหารจัดการโรงเรียนดีศรีตำบล กรณีศึกษา โรงเรียนชุมชนสร้างถ่อสามัคคี สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 1”, วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี, 2555.
8 ธนกร อินทขันตี, “การศึกษาสภาพและปัญหาการบริหารจัดการโรงเรียนประถมศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุพรรณบุรี ตามนโยบายโรงเรียนพี่โรงเรียนน้อง”, วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี, 2547.
9 สินี สิวาธรณิศร, “ความพร้อมในการวางแผนงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงานของโรงเรียนประประถมศึกษา สังกัดกรุงเทพมหานคร”, วิทยานิพนธ์ ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 2548.
10 รุ่งทิวา เกษดี, “การมีส่วนร่วมในการบริหาสถานศึกษา ของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ในสถานศึกษา ที่จัดการศึกษา ช่วงชั้นที่ 3-4 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุพรรณบุรี”, วิทยานิพนธ์ ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี, 2547.
11 วิชัย จันทพรม, “ศึกษาปัญหาและแนวทางการแก้ไขปัญหาการบริหารงานวิชาการในโรงเรียนนำร่องและโรงเรียนเครือข่ายการใช้หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาในจังหวัดนครราชสีมา”, วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา, 2549.
12 ภูวนัย สุวรรณธารา, “ศึกษาการจัดสภาพแวดล้อมที่เอื่อต่อการเรียนรู้ของนักเรียนโรงเรียนอาชีวศึกษาเอกชน”, สารนิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยกรุงเทพสุวรรณภูมิ, 2555.
13 ศักดิ์ผจญ เริงใจ, “ศึกษาแนวทางการให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาพระนครศรีอยุธยา”,วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา,มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา, 2547.