รูปแบบการพัฒนาแบบบูรณาการเพื่อความเป็นเลิศของตำบลเขาดิน อำเภอบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา

Main Article Content

โชคธวีร์ อ้นถาวร
ปรีชา ดิลกวุฒิสิทธิ์
ศิริวัฒน์ จิระเดชประไพ

บทคัดย่อ

               การวิจัยเชิงคุณภาพนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ: 1) ศึกษาสภาพการณ์ปัจจุบันของการพัฒนาเพื่อความเป็นเลิศของตำบลเขาดิน อำเภอบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา 2) สร้างรูปแบบของการพัฒนาเพื่อความเป็นเลิศของตำบลเขาดิน อำเภอบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา และ 3) ประเมินรูปแบบของการพัฒนาเพื่อความเป็นเลิศของตำบลเขาดิน อำเภอบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลได้แก่ การสัมภาษณ์เจาะลึกและการจัดสนทนากลุ่ม ประกอบด้วยผู้นำและผู้อาวุโสในชุมชนจำนวนทั้งสิ้น 40 คน ได้มาโดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้สำหรับการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการจัดกลุ่มสนทนาได้มาโดยวิธีการเลือกแบบเจาะจงประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องจำนวน 10 คน ข้อมูลที่เก็บรวบรวมวิเคราะห์โดยการวิเคราะห์เนื้อหา โดยเฉพาะประเด็นหลัก/แบบแผนหลัก


               ผลการดำเนินการวิจัยนี้มีดังนี้ : 1. ในด้านสภาพการณ์ปัจจุบันของการพัฒนารูปแบบบูรณาการการพัฒนาเพื่อความเป็นเลิศของตำบลเขาดิน อำเภอบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา นั้น ผู้วิจัยพบว่าการพัฒนาแบบบูรณาการเพื่อความเป็นเลิศประกอบด้วย 4 ด้านหลัก ได้แก่ 1.1 สังคม : ประชาชนในตำบลเขาดินโดยภาพรวมเป็นผู้รักสันติและมีความรักกันและกัน ผู้นำชุมชนและชาวบ้านช่วยเหลือซึ่งกันและกันเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตของทุกคนในชุมชน 1.2 เทคโนโลยี : ผู้นำชุมชนและชาวบ้านโดยภาพรวมประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่อย่างเหมาะสมในขณะเดียวกันก็สงวนรักษาภูมิปัญญาท้องถิ่นและวิถีชีวิตแบบดั้งเดิมไว้อย่างมั่นคง 1.3 เศรษฐกิจ : มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในการวางแผนและการบริหารจัดการการผลิตและการตลาดเพื่อรายได้ที่ดีของชาวบ้านและตำบลเขาดินโดยรวม 1.4 การเมือง : ผู้นำชุมชนเน้นความสำคัญของการกระจายอำนาจและฉันทามติ และ 2. รูปแบบการพัฒนาแบบบูรณาการเพื่อความเป็นเลิศของตำบลเขาดิน อำเภอบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา สร้างขึ้นจากข้อมูลที่เก็บรวมรวมมาได้จากการวิจัยครั้งนี้ เน้นความร่วมมือระหว่างผู้นำชุมชน ชาวบ้าน เจ้าหน้าที่ นักวิชาการ และเจ้าหน้าที่อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนความร่วมมือระหว่างเครือข่ายต่างๆ3. รูปแบบการพัฒนาแบบบูรณาการเพื่อความเป็นเลิศของตำบลเขาดิน อำเภอบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา ได้รับความเห็นชอบจากผู้เชี่ยวชาญและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทั้ง 10 คนที่เข้าร่วมกลุ่มสนทนา  

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1.วิรัช วิรัชนิภาวรรณ, การบริหารจัดการและการบริหารการพัฒนา. กรุงเทพมหานคร : บริษัท เอ็กซเปอร์เน็ท จำกัด, 2550.

2.วิฑูรย์ เลี่ยนจำรูญ, ปฏิรูปเกษตรกรรมเพื่อความมั่นคงทางอาหาร : บทวิเคราะห์และการปฏิรูปทางนโยบาย. สมุทรสาคร : พิมพ์ดี, 2554

3.วันชัย ธงชัย, ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงและวัฒนธรรมโรงเรียนที่ส่งผลต่อการบริหาร งบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงานในโรงเรียนมัธยมศึกษา.วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2547.

4.ศุภลักษณ์ เศษธะพานิช, “การพัฒนาระบบการบริหารที่มุ่งเน้นความเป็นเลิศของสถานศึกษาเอกชน,” วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550.

5.วิทยา จันทร์แดง, “การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการชุมชนเข้มแข็งตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในเขตจังหวัดภาคกลางตอนบน,” วิทยานิพนธ์ (รป.ด.(รัฐประศาสนศาสตร์) มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์, 2556.

6.ฟิสิกส์ ฌอณ บัวกนก, “การพัฒนาสื่อเทคโนโลยีการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุจากการมีส่วนร่วมของชุมชน ในเขตชานเมือง เทศบาลเมือง จังหวัดลำปาง,” งานวิจัย สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง, 2559.

7.สิริยา ห้าวหาญ, “รูปแบบการบริหารสู่ความเป็นเลิศของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษ,” วิทยานิพนธ์สาขาวิชากการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 2556.

8.พรทิพย์ ขุนวิเศษ, “รูปแบบการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการสู่ความเป็นเลิศของกองทุนหลักประกัน สุขภาพระดับท้องถิ่นในจังหวัดชัยนาท,” ดุษฎีนิพนธ์ สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎเทพสตรี, 2558.