ปัญหากฎหมายแรงงานไทยต่อประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน

Main Article Content

เพียงจิต ตันติจรัสวโรดม
บุญยกร พนมอุปการ

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ปัญหากฎหมายแรงงานไทยต่อประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน และเพื่อหาแนวทางในการแก้ไขปัญหาดังกล่าวอย่างถูกต้องและเหมาะสมตามเจตนารมณ์ของกฎหมาย ซึ่งใช้ระเบียบวิธีวิจัยทางนิติศาสตร์ (Legal Research) ด้วยวิธีการวิจัยเอกสาร (Documentary Research) และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) ผลการศึกษาพบว่า ปัญหากฎหมายแรงงานไทยต่อประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ได้แก่ ปัญหาด้านกฎหมายแรงงานไทยในการเปิดเสรีแรงงาน ปัญหาแรงงานอาเซียนในการเข้ามาทำงานในประเทศไทย และปัญหาแรงงานไทยในการทำงานประเทศอาเซียน  ดังนั้น บทความวิจัยนี้จึงได้เสนอแนะแนวทางแก้ไขกฎหมายแรงงานของประเทศไทยให้สอดคล้องกับเจตนารมณ์ในการจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนที่แท้จริง

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1.การจัดประเภทมาตรฐานอาชีพ, กรมการจัดหางาน, (มปป.)

2.คนไทยไปอย่างไรในอาเซียน. (21 กรกฎาคม 2561). สืบค้นจาก http://www.pim.ac.th/mba/ re/application _form/AEC2.pdf.

3.ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน. (20 สิงหาคม 2561). สืบค้นจาก จาก http://www.thai-aec.com.

4.มาตรฐานวิชาชีพที่ได้มีการรับรองจากประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน. (21 สิงหาคม 2561). สืบค้นจาก http://www.cmemployment.org/newtopic/pohots.asp?po_noticeidpk =90.

5.วัชรี ศรีคำ, “แรงงานย้ายถิ่นเวียดนามในเขตเทศบาลเมืองอุบลราชานี,” วารสารลุ่มน้ำโขง, ปีที่ 10 ฉบับที่ 1, หน้า 139-162, 2557.

6.สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. AEC เปิดเสรี ไทยได้เปรียบเสียเปรียบอย่างไร. (10 กันยายน 2561). สืบค้นจาก http://www.oae.go.th/zone10/ index.php?option= com content&view= article&id=113:aec-5-&catid=32:news& Itemid=89

7.อนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติทางเชื้อชาติในทุกรูปแบบ (International Convention on the Elimination of All Forms of Racial Discrimination-ICERD), กระทรวงการต่างประเทศ. (ม.ป.ป.).