การพัฒนาหลักสูตรการจัดการขยะมูลฝอยและของเสียอันตราย สำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษา

Main Article Content

ธนัญญา รุ่งเรือง
กิตติวงค์ สาสวด
ศิริวัฒน์ จิระเดชประไพ
พรพรรณ วีระปรียากูร

บทคัดย่อ

               การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) จัดทำและพัฒนาหลักสูตรการจัดการขยะมูลฝอยและของเสียอันตราย สำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษา และ 2) ประเมินผลการใช้หลักสูตรการจัดการขยะมูลฝอยและของเสียอันตรายสำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษา ซึ่งกระบวนการจัดทำหลักสูตรการจัดการขยะมูลฝอยและของเสียอันตรายสำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษาดำเนินการในกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารและครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 3 จำนวน 305 คน ศึกษาข้อมูลด้วยการใช้แบบสอบถาม จากนั้นจึงนำหลักสูตรที่พัฒนาได้ไปใช้ในห้องเรียนระดับมัธยมศึกษาโดยเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการสนทนากลุ่มและการสัมภาษณ์เชิงลึกจากกลุ่มตัวอย่าง ประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิและผู้ที่เกี่ยวข้องจำนวน 18 คน แล้วจึงประเมินผลการใช้หลักสูตรการจัดการขยะมูลฝอยและของเสียอันตรายสำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษา


               ผลการวิจัยพบว่า 1) การจัดทำหลักสูตรการจัดการขยะมูลฝอยและของเสียอันตรายสำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษา เน้นองค์ประกอบ 6 ด้าน คือ (1) การวิเคราะห์ความจำเป็นของเนื้อหา (2) กำหนดจุดมุ่งหมาย (3)วิเคราะห์ คุณลักษณะผู้เรียน (4) เทคนิคการจัดการเรียนการสอนของผู้สอน (5) การเลือกวิธีและสื่อการสอน และ (6) การประเมินผลสัมฤทธิ์ของหลักสูตร และเมื่อนำหลักสูตรที่พัฒนาขึ้นมาแล้วนั้นไปใช้ในห้องเรียนระดับมัธยมศึกษาโดยเน้นกระบวนการและการฝึกอบรมในบริบทและสถานการณ์จริง และเมื่อวิเคราะห์ผลการประเมินการใช้หลักสูตรการจัดการขยะมูลฝอยและของเสียอันตรายสำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษา โดยภาพรวมพบว่ามีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก 

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1.กรมควบคุมมลพิษ, รายงานสถานการณ์มลพิษของประเทศไทย พ.ศ.2560,กระทรวงทรัพยากร ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม, 2560.

2.กระทรวงศึกษาธิการ, นโยบายกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. 2558 การสร้างวินัยของคนในชาติมุ่งสู่การจัดการที่ยั่งยืน - กิจกรรมการรณรงค์ประชาสัมพันธ์ ให้ความรู้ สร้างจิตสำนึก ความตระหนักในการจัดการขยะมูลฝอย, การกำจัดขยะมูลฝอยภายในสถานศึกษา และการจัดการเรียนการสอนเกี่ยวกับการจัดการขยะมูลฝอยให้แก่นักเรียน, 2558.

3.รุ่งกิจ บูรณ์เจริญ, “การจัดการขยะฐานศูนย์กรณีศึกษา โรงเรียนจอมพระประชาสรรค์ อำเภอจอมพระ จังหวัดสุรินทร์,” วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (การจัดการสิ่งแวดล้อม) สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2554.

4.สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 3 (นนทบุรี - พระนครศรีอยุธยา) ข้อมูลสารสนเทศ ปีการศึกษา 2557, นนทบุรี : พี.พี.เอส. กิจเจริญ, 2557.

5. Yamane, Taro. Statistics : An Introductory Analysis, 2d ed, ToKyo John Weatherhill, Inc, 1970.

6.ธานินทร์ ศิลป์จารุ, การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS, (พิมพ์ครั้งที่ 7).กรุงเทพฯ : วี. อินเตอร์ พริ้นท์, 2550.
7.ศิริชัย พงษ์วิชัย, การวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วยคอมพิวเตอร์เน้นสำหรับงานวิจัย, สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย : กรุงเทพมหานคร, 2552.

8.Best W. John, Research in Education. Boston MA. : Allyn and Bacon, 1997
.
9. Mcllrath, D. and Huitt, W., The teaching learning process: a discussion, London: The United States of America, 1995.

10.พัชรีภรณ์ บางเขียว, “การพัฒนา หลักสูตรฝึกอบรมครูเพื่อจัดทำชุดการเรียนรู้ ด้วยตนเอง สำหรับการบูรณาการการสอนนักศึกษากลุ่มเทียบโอนความรู้และประสบการณ์งานอาชีพ ตามหลักสูตรการอาชีวศึกษา,” วิทยานิพนธ์หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาบริหารอาชีวะและเทคนิคศึกษา ภาควิชาบริหารเทคนิคศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ, 2557.

11.ทิศนา แขมมณี, ศาสตร์การสอนองค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ, (พิมพ์ครั้งที่10), กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545.

12 Heineck, Molenda, Russell and Smaldino, Instructional media and the new echnologies of instruction. London: The United States of America, 1996.