การดำเนินโรคของผู้ป่วยภายหลังการถอดท่อช่วยหายใจเร็ว ในการผ่าตัดหัวใจโดยใช้เครื่องปอดและหัวใจเทียม ในโรงพยาบาลนครปฐม

ผู้แต่ง

  • Saranya Harnroongroj, M.D. กลุ่มงานวิสัญญีวิทยา โรงพยาบาลนครปฐม
  • Areerat Kaewanuchit, M.D. กลุ่มงานวิสัญญีวิทยา โรงพยาบาลนครปฐม

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: วัตถุประสงค์หลักเพื่อศึกษาอุบัติการณ์การถอดท่อช่วยหายใจเร็วหลังการผ่าตัดหัวใจ โดยใช้เครื่องปอดและหัวใจเทียมของโรงพยาบาลนครปฐม วัตถุประสงค์รองคือ หาความแตกต่างของผลที่ตามมาหลังการถอดท่อช่วยหายใจเร็วและช้า

วิธีการศึกษา: การศึกษาย้อนหลัง ของผู้ป่วยอายุมากกว่า 18 ปี ที่ได้รับการผ่าตัดหัวใจโดยอาศัยเครื่องปอดและหัวใจเทียม 250 ราย เก็บข้อมูลพื้นฐานผู้ป่วย ข้อมูลผ่าตัด ดมยาสลบ ชนิดการถอดท่อช่วยหายใจ (เร็วหรือช้า) และข้อมูลหลังดมยาสลบ ได้แก่ การใส่ท่อช่วยหายใจซ้ำ ภาวะแทรกซ้อนหลังดมยาสลบ การเสียชีวิตระยะเวลาในหอผู้ป่วยวิกฤต และระยะเวลานอนโรงพยาบาล

ผลการศึกษา: อุบัติการณ์ของการถอดท่อช่วยหายใจเร็วของการผ่าตัดหัวใจ ที่อาศัยเครื่องปอดและหัวใจเทียม มีค่าร้อยละ 50.8 (ช่วงความเชื่อมั่นร้อยละ 95 คือ 45-57) กลุ่มถอดท่อช่วยหายใจช้ามี อายุ, ASA ระดับ 4, ระยะเวลาการผ่าตัด, การดมยาสลบ, ระยะเวลาที่ต่อเครื่องปอดและหัวใจเทียม และระยะเวลา aortic cross clamp มากกว่ากลุ่มถอดท่อหายใจเร็วอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ในขณะที่น้ำหนักในกลุ่มถอดท่อช่วยหายใจช้ามีค่าน้อยกว่ากลุ่มถอดท่อหายใจเร็วอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ส่วนเวลามัธยฐานการนอนในหอวิกฤตและโรงพยาบาล อัตราการเกิดผลแทรกซ้อนและอัตราการตายในกลุ่มถอดท่อหายใจเร็วมีค่าน้อยกว่าถอดท่อหายใจช้า อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ

สรุป: อุบัติการณ์การถอดท่อช่วยหายใจเร็วของการผ่าตัดหัวใจ ที่อาศัยเครื่องปอดและหัวใจเทียมของโรงพยาบาลนครปฐม มีค่าร้อยละ 50.8 ไม่มีความต่างของการใส่ท่อช่วยหายใจซ้ำ เมื่อเทียบกับการถอดท่อช่วยหายใจช้า การถอดท่อช่วยหายใจเร็วลดระยะเวลาการนอนในหอผู้ป่วยวิกฤตและการนอนโรงพยาบาล การเกิดภาวะแทรกซ้อน และอัตราตายน้อยกว่ากลุ่มถอดท่อช่วยหายใจช้าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ

Author Biographies

Saranya Harnroongroj, M.D., กลุ่มงานวิสัญญีวิทยา โรงพยาบาลนครปฐม

ว.ว. วิสัญญีวิทยา 

Areerat Kaewanuchit, M.D., กลุ่มงานวิสัญญีวิทยา โรงพยาบาลนครปฐม

ว.ว. วิสัญญีวิทยา 

References

1. Badhwar V, Esper S, Brooks M, et al. Extubating in the operating room after adult cardiac surgery safely improves outcomes and lowers costs. J Thorac Cardiovasc Surg 2014;148(6):3101-9.

2. Sato M, Suenaga E, Koga S, et al. Early tracheal extubation after on-pump coronary artery bypass grafting. Ann Thorac Cardiovasc Surg 2009;15(4):239-42.

3. Rady MY, Ryan T. Perioperative predictors of extubation failure and the effect on clinical outcome after cardiac surgery. Crit Care Med 1999;27(2):340-7.

4. Chamchad D, Horrow JC, Nakhamchik L, et al. The impact of immediate extubation in the operating room after cardiac surgery on intensive care and hospital lengths of stay. J Cardiothorac Vasc Anesth 2010;24(5):780-4.

5. Rodriguez Blanco YF, Candiotti K, Gologorsky A, et al. Factors which predict safe extubation in the operating room following cardiac surgery. J Card Surg 2012;27(3):275-80.

6. Singh KE, Baum VC. Pro: early extubation in the operating room following cardiac surgery in adults. Semin Cardiothorac Vasc Anesth 2012;16(4):182-6.

7. Bansal S, Thai HM, Hsu CH, et al. Fast track extubation post coronary artery bypass graft: a retrospective review of predictors of clinical outcomes. World J Cardiovasc Surg 2013;3:81–6.

8. ช่อทิพย์ กาญจนจงกล. การศึกษาผลภายหลังการผ่าตัดหัวใจแบบเปิดในโรงพยาบาลราชบุรี. วารสารแพทย์เขต 4-5 2552;28(4):359–66.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-05-05