ผลลัพธ์ของการจัดตั้งคลินิกโรคหืดอย่างง่าย โรงพยาบาลสามร้อยยอด

ผู้แต่ง

  • Wasinee Weravaitaya, M.D. โรงพยาบาลสามร้อยยอด จังหวัดประจวบคีรีขันธ์

คำสำคัญ:

คลินิกโรคหืดอย่างง่าย, ผลลัพธ์การรักษา, โรงพยาบาลชุมชน

บทคัดย่อ

        วัตถุประสงค์:  เพื่อศึกษาผลของการดูแลรักษาผู้ป่วยในคลินิกโรคหืดอย่างง่าย ในโรงพยาบาลสามร้อยยอด และเป็นแนวทางติดตามผลการดำเนินงาน

        วิธีการศึกษา:  เป็นการศึกษาเชิงพรรณนา โดยเก็บข้อมูลย้อนหลังจากแบบบันทึกเวชระเบียนการตรวจรักษาผู้ป่วยในคลินิกโรคหืดอย่างง่าย ของโรงพยาบาลสามร้อยยอด ก่อนเข้ารับการรักษาและหลังเข้าการรักษาในคลินิก ปีที่ 1, 2, และ 3 โดยมีช่วงระยะเวลาเก็บข้อมูลเดือนมกราคม 2553 - ธันวาคม 2555 และมกราคม 2559 – ธันวาคม 2561 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย

        ผลการศึกษา:  จำนวน และร้อยละ ระดับการควบคุมโรคของผู้ป่วยก่อนและหลังเข้ารับการรักษาในคลินิกโรคหืดอย่างง่าย (Easy Asthma Clinic) ปี 2553-2555 พบว่า ปี 2553 ผู้ป่วยมีการควบคุมอาการหอบก่อนและหลังเข้าคลินิกไม่เปลี่ยนแปลง poor control ร้อยละ 100 ปี 2554 ผู้ป่วยกลุ่มที่ควบคุมอาการหอบได้ดี total control และ well control มีจำนวนมากขึ้น ร้อยละ 2.3 และร้อยละ 1.3 ตามลำดับ ปี 2555 ผู้ป่วยกลุ่มที่ควบคุมอาการหอบได้ดี total control และ well control มีจำนวนมากขึ้น ร้อยละ 11.0 และร้อยละ 8.9 ตามลำดับ ขณะที่ผู้ป่วยกลุ่มที่ควบคุมโรคไม่ดี poor control มีจำนวนลดลงร้อยละ 3.6 และร้อยละ 19.8 ในปี 2554 และปี 2555 ตามลำดับ การศึกษาย้อนหลังล่าสุด 3 ปี (ปี 2559-2561) พบว่าผลการควบคุมโรคได้ทั้งหมด (total control) ร้อยละ 30.8, 27.7, 30.9 ตามลำดับ ผลการควบคุมโรคได้ดีบางส่วน (well control) ร้อยละ 56.7, 61.7, 59.1 ตามลำดับ และผลการควบคุมโรคไม่ดี (poor control) ร้อยละ 12.5, 10.6, 10.0 ตามลำดับ

        สรุป:  การศึกษาวิจัยแสดงให้เห็นผลการรักษาที่ดีขึ้นชัดเจนใน 3 ปีแรก ของการจัดตั้งคลินิกเนื่องจากมีการทำงานที่เป็นระบบตามแนวทาง Easy Asthma Clinic (EAC) ทั้งการให้สุขศึกษา การประเมินผู้ป่วยและการดูแลรักษาที่ดีมากขึ้นตามลำดับ เมื่อให้การดูแลรักษาตามแนวทาง EAC อย่างต่อเนื่องในระยะยาวก็จะถึงจุดที่เห็นผลดีแบบคงที่ในปี พ.ศ. 2559 – 2561 ส่งผลให้ผู้ป่วยโรคหืดมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น จึงควรมีการจัดตั้งคลินิกโรคหืดอย่างง่ายในโรงพยาบาลชุมชนทุกแห่ง

Author Biography

Wasinee Weravaitaya, M.D., โรงพยาบาลสามร้อยยอด จังหวัดประจวบคีรีขันธ์

อ.ว. เวชศาสตร์ครอบครัว 

References

1. Boonsawat W, Charoenphan P, Kiatboonsri S, et al. Survey of asthma control in Thailand. Respirology 2004;9:373-8.

2. Global Initiative for Asthma, World Health Organization, National Heart, Lung, and Blood Institute. Global strategy for asthma management and prevention : NHLBI/WHO workshop report (based on a March 1993 meeting). Bethesda, Md.: National Institutes of Health, National Heart, Lung, and Blood Institute; 1995.

3. Teeratakulpisarn J, Pairojkul S, Heng S. Survey of the prevalence of asthma, allergic rhinitis and eczema in school children from Khon Kaen, Northeast Thailand. An ISAAC study. International Study of Asthma and Allergies in Childhood. Asian Pac J Allergy Immunol 2000;18(4):187-94.

4. สมาคมอุรเวชช์แห่งประเทศไทย. แนวทางการวินิจฉัยและรักษาโรคหืดในประเทศไทย สำหรับผู้ป่วยผู้ใหญ่ พ.ศ. 2559. กรุงเทพฯ: สมาคมอุรเวชช์แห่งประเทศไทย; 2559.
5. Global initiative for asthma. Global Strategy for Asthma Management and Prevention update 2016 [internet]. 2016 [cited 2018 Sep 19]. Available from: URL: http://www.ginaasthma.org

6. วัชรา บุญสวัสดิ์. คลินิกโรคหืดแบบง่ายๆ (Easy Asthma Clinic). ใน: วัชระ จามจุรีรักษ์, สุนันทา สวรรค์ปัญญาเลิศ, บรรณาธิการ. การประชุมวิชาการ 5th BGH annual academic meeting: from the basic to the top in medicine. กรุงเทพฯ: ส.รุ่งทิพย์ ออฟเซท; 2548. หน้า 83-7.

7. ชาญชัย จันทร์วรชัยกุล. ผลลัพธ์ของการจัดตั้งคลินิกโรคหืดอย่างง่ายในโรงพยาบาลยางตลาด จังหวัดกาฬสินธุ์. ศรีนครินทร์เวชสาร 2550;22:449-58.

8. โสมนัส โกยสวัสดิ์. ผลสัมฤทธิ์ของคลินิกโรคหืดโรงพยาบาลกระสัง จังหวัดบุรีรัมย์. วารสารการแพทย์โรงพยาบาลศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์ 2555;27:33-42.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-04-10