สักลาย : การบวชในสังคมไทย

ผู้แต่ง

  • พระทศเทพ ทสธมฺโม (วณิชาติ) นักวิชาการอิสระด้านพุทธศาสนาและปรัชญา
  • พระราชปริยัติวิมล พระราชปริยัติวิมล มหาวิทยาลัยมหามกุฎราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด
  • อุทัย กมลศิลป์ มหาวิทยาลัยมหามกุฎราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด

คำสำคัญ:

สักลาย, การบวช, พระอุปัชฌาย์

บทคัดย่อ

บทความนี้ มีจุดประสงค์เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจในเรื่องของผู้ที่สักลายแล้วมีความประสงค์จะเข้ามาบวช ในพระพุทธศาสนา กับการพิจารณาให้บวชของพระอุปัชฌาย์ การสักลายในสมัยโบราณนิยมสักเพื่อให้มีคุณค่าด้านความขลัง ความศักดิ์สิทธิ์ ปัจจุบันค่านิยมนี้ได้เปลี่ยนไป ส่วนใหญ่เป็นการสักเพื่อความโก้เก๋ตามสมัยนิยม ส่วนค่านิยมของการบวช เพื่อประพฤติพรหมจรรย์ อันเป็นหนทางแห่งความหลุดพ้น คือ การบรรลุนิพพาน ก็กลายเป็นการบวชเพื่อจุดประสงค์อื่นไป ดังนั้นการให้บวชจึงเป็นหน้าที่ของพระอุปัชฌาย์ที่จะต้องพินิจพิจารณา ในการคัดเลือกผู้ที่จะเข้ามาบวช ให้มีคุณสมบัติที่ถูกต้อง ตามพระธรรมวินัย

References

กนก แสนประเสริฐ. (2549). ประมวลพระราชบัญญัติคณะสงฆ์. กรุงเทพฯ : สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ.

กรมการศาสนา. (2538). คู่มือการบรรพชาอุปสมบทฉบับกรมการศาสนา. กรุงเทพฯ: กรมการศาสนา.

ธ. ธรรมศรี. (2519). คู่มือคู่สวดอุปัชฌาย์. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์เลี่ยงเซียงจงเจริญ.

นามานุกรมขนบธรรมเนียมประเพณีไทย. (2552). หมวดประเพณีราษฎร์ เล่ม 3 (คติความเชื่อ). กรุงเทพฯ: บริษัท แอดวานซ์ วิชั่นเซอร์วิส จำกัด.

บรรพต วีระสัย. (2519). สังคมวิทยา มานุษยวิทยา. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

พระครูวิลาศกาญจนธรรม (เล็ก สุธมฺมปญฺโญ). (2560). เก็บตกจากบ้านเติมบุญ ต้นเดือนกันยายน 2560. สืบค้นเมื่อ 26 ธันวาคม 2560. จาก https://www.watthakhanun.com/webboard/showthread.php?t=5794

พระตำหนักจิตรดารโหฐาน. (2539). มิลินทปัญหา. กรุงเทพฯ: บริษัท อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด.

พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). เล่ม 4 ข้อ 84. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2546). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลศัพท์ (พิมพ์ครั้งที่ 11). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พุทธทาสภิกขุ. (2537). คำสอนผู้บวช ภาค 1. กรุงเทพฯ: สมชายการพิมพ์.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2546). พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542. กรุงเทพฯ: นานมีบุ๊คส์ พับลิเคชั่นส์.

ลำพูน นาสวัสดิ์. (2504). อานิสงส์ต่าง ๆ แผนใหม่. กรุงเทพฯ: คลังนานาวิทยา.

สมเด็จพระมหาธีราจารย์ (นิยม ฐานิสฺสโร). (2549). ปัญหาอุปสรรคในการปฏิบัติหน้าที่ของพระอุปัชฌาย์.กรุงเทพมหานคร: กรมการศาสนา.

สมพร เจริญพงศ์. (2544). พจนานุกรมไทยฉบับพิสดาร. กรุงเทพฯ: ธรรมสภาและสถาบันบันลือธรรม.

สวิง บุญเจิม. (2539). ตำรามรดกอีสาน (พิมพ์ครั้งที่ 4). อุบลราชธานี: โรงพิมพ์มรดกอีสาน.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-06-01