คำแนะนำสำหรับผู้เขียน

สำหรับผู้เขียนที่สนใจส่งบทความขอตีพิมพ์ในวารสารวิจัยและพัฒนา สามารถดาวน์โหลดคู่มือ การสมัครสมาชิก  การจัดการข้อมูลส่วนตัว  การส่งบทความ และการแก้ไขบทความ ที่ Manual  โดยคลิ๊ก For Authors  และดาวน์โหลดคำแนะนำสำหรับผู้เขียน คลิ๊ก

           วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย (Research and Development Journal, Loei Rajabhat University) เป็นวารสารที่นำเสนอผลงานบทความทางวิชาการ/บทความวิจัย/บทความวิทยานิพนธ์ที่หลากหลายสาขาวิชาทางด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ โดยสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย เป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบดำเนินการจัดทำวารสาร ซึ่งกำหนดตีพิมพ์วารสาร 4 ฉบับ/ปี (รอบ 3 เดือน) บทความทางวิชาการ/บทความวิจัย/บทความวิทยานิพนธ์ที่จะตีพิมพ์ในวารสารต้องผ่านการกลั่นกรองจากผู้ทรงคุณวุฒิภายนอก และการประสานงานระหว่างผู้เขียนและผู้ทรงคุณวุฒิ ต้องได้รับความเห็นชอบจากกองบรรณาธิการเท่านั้น ผู้ประสงค์ส่งผลงานบทความเพื่อขอรับการพิจารณาตีพิมพ์ลงในวารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย สำหรับอาจารย์และพนักงานของมหาวิทยาลัยราชภัฏเลย ไม่ต้องชำระค่าธรรมเนียมการตีพิมพ์ นักศึกษาของมหาวิทยาลัยราชภัฏเลย ต้องชำระค่าธรรมเนียมเรื่องละ 1,000 บาท และบุคคลภายนอก ต้องชำระค่าธรรมเนียมการตีพิมพ์เรื่องละ 2,000 บาท โดยส่งบทความผ่านระบบออนไลน์เท่านั้น ที่เว็บไซต์ https://so05.tci-thaijo.org/index.php/research journal-lru โดยกองบรรณาธิการได้กำหนดเนื้อหาการส่งบทความ เพื่อให้อยู่ในมาตรฐานเดียวกันดังต่อไปนี้

ส่วนประกอบของบทความ

           1. บทความวิจัย/วิทยานิพนธ์

              1.1  ชื่อเรื่อง ต้องมีทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ

              1.2  ชื่อ-สกุล และสังกัดของผู้เขียน ต้องมีทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษให้ครบทุกคน  โดยใส่หมายเลขที่ชื่อผู้เขียน ที่เป็นผู้ติดต่อพร้อมอีเมล์ติดต่อที่ชัดเจน

              1.3  บทคัดย่อและคำสำคัญ (ภาษาไทย)

                     1.3.1  บทคัดย่อภาษาไทย  สรุปเนื้อหาของบทความให้เข้าใจถึงที่มาของการทำวิจัย วิธีการดำเนินการวิจัย ผลที่ได้จากการวิจัย และการนำผลการวิจัยไปใช้ประโยชน์  ความยาวประมาณ 250 คำ

                     1.3.2  คำสำคัญภาษาไทย จำนวน 3 - 5 คำ (ไม่ใช่วลี หรือ ประโยค)

              1.4  บทคัดย่อและคำสำคัญ (ภาษาอังกฤษ)

                     1.4.1  บทคัดย่อภาษาอังกฤษ แปลจากบทคัดย่อภาษาไทย โดยให้มีขนาดและเนื้อหาเหมือนกับ บทคัดย่อภาษาไทย

                     1.4.2  คำสำคัญภาษาอังกฤษ แปลจากคำสำคัญภาษาไทย

                     1.4.3  บทคัดย่อภาษาอังกฤษ ต้องได้รับการตรวจทานภาษาอังกฤษจากผู้เชี่ยวชาญทางภาษาให้ถูกต้องก่อนการส่งบทความขอตีพิมพ์ในวารสาร

              1.5  เนื้อเรื่อง

                     1.5.1  ความเป็นมาของปัญหา ให้อธิบายถึงเหตุผล และชี้ให้เห็นความสำคัญของงานวิจัยที่ทำ

                     1.5.2  วัตถุประสงค์ของการวิจัย ให้ระบุวัตถุประสงค์ของการวิจัยให้ชัดเจน โดยบอกเป็นข้อๆ ตามลำดับความสำคัญ

                     1.5.3  วิธีดำเนินการวิจัย ให้ระบุประเภทการวิจัย ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง เครื่องมือที่ใช้ การเก็บรวบรวมข้อมูล และวิเคราะห์ข้อมูล

                     1.5.4  ผลการวิจัย ให้แสดงผลจากการวิจัยที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ ซึ่งอาจมีภาพประกอบ แผนภูมิ ตาราง หรือการสื่อในลักษณะอื่นๆ ที่ผู้อ่านดูแล้วเข้าใจ

                     1.5.5  อภิปรายผล อภิปรายให้ผู้อ่านเห็นความสัมพันธ์และความเป็นไปได้ของผลการศึกษา สนับสนุนหรือคัดค้านทฤษฎี เปรียบเทียบหรือตีความเพื่อเน้นความสำคัญของงานให้เข้าใจง่ายที่สุด

                     1.5.6  สรุปผลการวิจัย ข้อสรุปที่ได้จากการวิจัย ความยาวประมาณ 150 คำ

                     1.5.7  ข้อเสนอแนะ ให้แนะนำการนำผลจากการวิจัยไปใช้ประโยชน์ และแนะนำเพื่อทำการวิจัยครั้งต่อไป

                     1.5.8  เอกสารอ้างอิง ให้ระบุชื่อเอกสารที่ใช้อ้างอิงในเนื้อหาบทความทั้งหมด โดยเรียงลำดับตามตัวอักษร ชื่อผู้แต่ง (คนไทย) หรือ ตัวอักษรนามสกุลผู้แต่ง (คนต่างชาติ) และการอ้างอิงในเนื้อหาและท้ายบทความต้องสอดคล้องกัน ดังรูปแบบที่อธิบายไว้ในข้อ 3

          2. บทความทางวิชาการ

              2.1  ชื่อเรื่อง ต้องมีทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ

              2.2  ชื่อ-สกุล และสังกัดของผู้เขียน ต้องมีทั้งภาษาไทย และภาษาอังกฤษให้ครบทุกคน โดยใส่หมายเลขที่ชื่อผู้เขียน ที่เป็นผู้ติดต่อพร้อมอีเมล์ติดต่อที่ชัดเจน

              2.3  บทคัดย่อและคำสำคัญ (ภาษาไทย)

                     2.3.1  บทคัดย่อภาษาไทย  สรุปความเป็นมาของสิ่งที่นำเสนอ และสรุปภาพรวมทั้งหมดของบทความ ความยาวประมาณ 250 คำ

                     2.3.2  คำสำคัญภาษาไทย จำนวน 3 - 5 คำ (ไม่ใช่วลี หรือ ประโยค)

              2.4  บทคัดย่อและคำสำคัญ (ภาษาอังกฤษ) 

                     2.4.1  บทคัดย่อภาษาอังกฤษ แปลจากบทคัดย่อภาษาไทย โดยให้มีขนาดและเนื้อหาเหมือนกับบทคัดย่อภาษาไทย

                     2.4.2  คำสำคัญภาษาอังกฤษ แปลจากคำสำคัญภาษาไทย

                     2.4.3  บทคัดย่อภาษาอังกฤษ ต้องได้รับการตรวจทานภาษาอังกฤษจากผู้เชี่ยวชาญทางภาษาให้ถูกต้องก่อนการส่งบทความขอตีพิมพ์ในวารสาร

              2.5  เนื้อเรื่อง

                     2.5.1  ความนำ ควรประกอบด้วย

                              1)  ความเป็นมาหรือภูมิหลังหรือความสำคัญของเรื่องที่นำเสนอ

                              2)  วัตถุประสงค์ของการนำเสนอบทความที่ต้องการให้ผู้อ่านทราบเรื่องอะไรบ้าง ซึ่งจะต้องสอดคล้องกับเรื่องหรือเนื้อหาของบทความ 

                              3)  ขอบเขตของเรื่องที่นำเสนอ ระบุกรอบในการอ่านโดยการเขียนขอบเขตเพื่อบอกให้ผู้อ่านทราบและเข้าใจตรงกัน

                              4)  คำจำกัดความ ควรระบุไว้เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้อ่านหากคำเหล่านั้นมีความหมายที่แตกต่างจากคำทั่วๆ ไป หรือคำที่ผู้อ่านอาจจะไม่เข้าใจความหมาย

                     2.5.2  เนื้อหา ต้องมีความสอดคล้องกับวัตถุประสงค์

                     2.5.3  บทสรุป ข้อสรุปประเด็นสำคัญที่ได้จากเนื้อหา/เนื้อเรื่อง ความยาวประมาณ 150 คำ

                     2.5.4  เอกสารอ้างอิง ให้ระบุชื่อเอกสารที่ใช้อ้างอิงในเนื้อหาบทความทั้งหมด โดยเรียงลำดับตามตัวอักษร  ชื่อผู้แต่ง (คนไทย) หรือ ตัวอักษรนามสกุลผู้แต่ง (คนต่างชาติ) และการอ้างอิงในเนื้อหาและท้ายบทความต้องสอดคล้องกัน

ข้อกำหนดในการเตรียมต้นฉบับ

           ให้พิมพ์ต้นฉบับโปรแกรม Microsoft Word ชนิดอักษร Cordia New หรือ Cordia UPC แบบ 1 คอลัมน์ สำหรับบทคัดย่อภาษาไทยและภาษาอังกฤษ และแบบ 2 คอลัมน์สำหรับเนื้อหาบทความ โดยใช้ขนาดตัวอักษร 14 ปกติ จำนวนหน้า 7-12 หน้า ขนาดกระดาษ  A4 210x297 mm ห่างจากขอบกระดาษบน 2.2 ซม. ด้านล่าง 2.2 ซม. ห่างจากระยะขอบกระดาษด้านซ้ายและขวาด้านละ 2  ซม. การเว้นวรรคระหว่างประโยคให้เคาะเว้นวรรค 2  ครั้ง  โดยมีรายละเอียดแต่ละรายการดังต่อไปนี้

  1. ชื่อเรื่อง ขนาดตัวอักษร 17 ตัวหนา จัดไว้กลางหน้ากระดาษ
  2. ชื่อผู้เขียน ให้ใช้ขนาดตัวอักษร 14 ปกติ ไว้ขอบด้านขวาหน้ากระดาษ
  3. คำสำคัญ (Keywords) หัวข้อหลักในตัวบทความให้ใช้ขนาดตัวอักษร 14 ตัวหนา เนื้อหาของคำสำคัญ ให้ใช้ขนาดตัวอักษร 15 ปกติจัดชิดขอบกระดาษด้านขวา
  4. ชื่อหัวข้อหลักและรอง หัวข้อหลักในตัวบทความให้ใช้ขนาดตัวอักษร 15 ตัวหนา ชิดขอบด้านซ้ายของคอลัมน์และหัวข้อรองให้ใช้ขนาดตัวอักษร 14 ตัวหนา ชิดขอบด้านซ้ายของคอลัมน์
  5. 5. รูปแบบและตาราง ชื่อตารางให้จัดวางบนตารางโดยใช้ขนาดตัวอักษร 14 ตัวหนา จัดให้ชิดขอบด้านซ้ายของคอลัมน์ ส่วนคำบรรยายรูปภาพจัดไว้ให้อยู่ใต้รูปภาพ
  6. ความห่างระหว่างข้อความ การเว้นวรรคระหว่างประโยคให้เคาะเว้นวรรค 2 ครั้ง กรณีที่ขึ้นหัวข้อใหม่ (หัวข้อหลัก) ให้กด Enter 2 ครั้ง กรณีที่ขึ้นหัวข้อใหม่ (หัวรอง) ให้กด Enter 1 ครั้ง

การอ้างอิงเอกสาร

  1. การลงรายการอ้างอิงในเนื้อเรื่อง

           ให้ใช้ระบบนาม-ปี ทั้งผู้แต่งชาวไทยและชาวต่างประเทศ โดยแยกเป็น

           1.1  ข้อมูลนาม-ปี อยู่หน้าข้อความ ชื่อผู้เขียนเป็นส่วนหนึ่งของข้อความ ใส่ปีพิมพ์ไว้ในวงเล็บ ตามรูปแบบ ชื่อ – สกุล (ปีพิมพ์) / Surname (Date) โดยไม่ต้องใส่เลขหน้า ยกเว้นการอ้างอิงแบบคัดลอกข้อความในเครื่องหมายอัญประกาศ (“ ”) เท่านั้น

                   ในกรณีที่มีจำนวนผู้แต่ง 3 คนให้ลงชื่อทุกคน มีคำว่า “และ” (“and” ในกรณีเป็นผู้แต่งชาวต่างประเทศ) เชื่อม   คนสุดท้ายและคั่นแต่ละคนด้วยเครื่องหมายจุลภาค (,) ส่วนในกรณีที่ผู้แต่ง 4 คนขึ้นไป ให้ลงชื่อผู้แต่งคนแรก และคำว่า “และคณะ” (“et al.” ในกรณีเป็นผู้แต่งชาวต่างประเทศ) ต่อท้าย นอกจากนี้ การอ้างอิงงานเดียวกันที่มีผู้แต่งตั้งแต่ 4 คนขึ้นไป หลังการอ้างอิงครั้งแรกไปแล้ว ให้ลงชื่อผู้แต่งคนแรก และคำว่า “และคณะ” (et al. ในกรณีเป็นผู้แต่งชาวต่างประเทศ) ต่อท้าย เช่น

ชื่อผู้แต่ง

ภาษาไทย

(อ้างอิงครั้งแรก)

ภาษาไทย

(อ้างอิงครั้งต่อๆ ไป

ในบทความ)

ภาษาอังกฤษ

ภาษาอังกฤษ

(อ้างอิงครั้งต่อๆ ไป

ในบทความ)

1 คน

วันทนา ทับทิม (2552)

วันทนา ทับทิม (2552)

Brown (2009)

Brown (2009)

2 คน

วันทนา ทับทิม และอุษา งามดี (2552)

วันทนา ทับทิม และอุษา งามดี (2552)

Smith and Brown (2009)

Smith and Brown (2009)

3 คน

วันทนา ทับทิม, สมใจ พิมพา และอุษา งามดี (2553)

วันทนา ทับทิม และคณะ (2553)

Smith, Bradley,  and Brown (2011)

Smith et al. (2011)

≥ 4 คน

วันทนา ทับทิม และคณะ (2552)

วันทนา ทับทิม และคณะ (2552)

Smith et al. (2009)

Smith  et al. (2009)

ผู้แต่งเป็นสถาบัน (มีชื่อย่อที่เป็นทางการ)

สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช., 2555)

วช. (2555)

National University of Singapore (NUS, 2015)

NUS (2015)

ผู้แต่งเป็นสถาบัน (ไม่มีชื่อย่อที่เป็นทางการ)

มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย (2560)

มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย (2560)

Loei Rajabhat University (2003)

Loei Rajabhat University (2003)

 

          1.2  ข้อมูลนาม-ปี อยู่ท้ายข้อความ ชื่อผู้เขียนไม่ได้อยู่ในข้อความที่อ้าง ใส่ชื่อผู้แต่งและปีพิมพ์ คั่นด้วยเครื่องหมายจุลภาค (,) ไว้ในวงเล็บ วางไว้ท้ายข้อความที่อ้าง เช่น

ชื่อผู้แต่ง

ภาษาไทย

(อ้างอิงครั้งแรก)

ภาษาไทย

(อ้างอิงครั้งต่อๆ ไป

ในบทความ)

ภาษาอังกฤษ

ภาษาอังกฤษ

(อ้างอิงครั้งต่อๆ ไปในบทความ)

1 คน

(วันทนา  ทับทิม, 2552)

(วันทนา  ทับทิม, 2552)

(Brown, 2009)

(Brown, 2009)

2 คน

(วันทนา  ทับทิม และอุษา งามดี, 2552)

(วันทนา  ทับทิม และอุษา งามดี, 2552)

(Smith and Brown, 2009)

(Smith and Brown, 2009)

3 คน

(วันทนา  ทับทิม, สมใจ พิมพา และอุษา งามดี 2553)

(วันทนา  ทับทิม และคณะ, 2553)

(Smith, Bradley, & Brown, 2011)

(Smith et al., 2011)

≥ 4 คน

(วันทนา  ทับทิม และคณะ, 2552)

(วันทนา  ทับทิม และคณะ, 2552)

(Smith  et al., 2009)

(Smith  et al., 2009)

ผู้แต่งเป็นสถาบัน (มีชื่อย่อที่เป็นทางการ)

(สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ [วช.], 2555)

(วช., 2555)

(National University of Singapore [NUS], 2015)

(NUS, 2015)

ผู้แต่งเป็นสถาบัน (ไม่มีชื่อย่อที่เป็นทางการ)

(มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย, 2560)

(มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย, 2560)

(Loei Rajabhat University, 2003)

(Loei Rajabhat University, 2003)

           

  1. การอ้างอิงเอกสารทุติยภูมิ (อ้างถึงใน)

           ในกรณีที่เป็นการอ้างถึงงานที่ถูกอ้างอิงอยู่ในงานเขียนอื่น และประสงค์จะอ้างอิงงานนั้นด้วย ให้ใส่ข้อความเพิ่มว่า อ้างถึงใน ชื่อผู้แต่งงานเขียนแหล่งที่ 2 ตามด้วยเครื่องหมายจุลภาค และปีพิมพ์ สำหรับภาษาอังกฤษใช้ as cited in secondary source author, year และลงรายละเอียดของเอกสารทุติยภูมิในอ้างอิงท้ายบทความ เช่น

                     ชัยอนันต์ สมุทวณิช (อ้างถึงใน พนม คลี่ฉายา, 2542)

                     Allport's diary (as cited in Nicholson, 2003).

 

  1. การลงรายการเอกสารอ้างอิงท้ายบทความ (Reference)

                     ใช้การลงรายการอ้างอิงตามรูปแบบของ APA (American Psychological Association 6th edition) ระบุเฉพาะรายการที่ถูกอ้างอิงในเนื้อหาของบทความเท่านั้น  โดยให้เรียงลำดับเอกสารตามตัวอักษรชื่อผู้แต่ง (กรณีภาษาไทย) หรือ นามสกุลของผู้แต่ง (กรณีภาษาอังกฤษ) และเรียงเอกสารภาษาไทยไว้ก่อนภาษาอังกฤษ แสดงการลงรายการเพื่อเป็นตัวอย่างดังนี้

 

                  3.1  หนังสือทั่วไป (อ้างอิงทั้งเล่ม)

                       3.1.1 ฉบับพิมพ์

ชื่อผู้แต่ง. (ปีพิมพ์). ชื่อเรื่อง (ครั้งที่พิมพ์ ครั้งที่ 2 เป็นต้นไป). สถานที่พิมพ์: สำนักพิมพ์.              

                       3.1.2 ฉบับพิมพ์ มีบรรณาธิการ

ชื่อผู้แต่ง (บรรณาธิการ). (ปีพิมพ์). ชื่อเรื่อง (ครั้งที่พิมพ์ ครั้งที่ 2 เป็นต้นไป). สถานที่พิมพ์: สำนักพิมพ์.

                       3.1.3 หนังสืออิเล็กทรอนิกส์

ชื่อผู้แต่ง. (ปีพิมพ์). ชื่อเรื่อง (ครั้งที่พิมพ์ ครั้งที่ 2 เป็นต้นไป). สืบค้นจาก http://www.xxxxxxx     

ตัวอย่าง

ศักดา ดาดวง. (2551). เทคโนโลยีมหัศจรรย์เพื่อชีวิต (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น.

มัญชุสา วัฒนพร (บรรณาธิการ). (2542). คู่มือการจัดและตกแต่งสวนในบ้าน (พิมพ์ครั้งที่ 8, เล่ม 2). กรุงเทพฯ: บ้านและสวน.

วีระชัย ณ นคร. (2556). สาระน่ารู้เรื่องหญ้าแฝก (พิมพ์ครั้งที่ 7). สืบค้นจาก http://ebook.lib.ku.ac.th/item /2/20170123

Hogue, A. (2008). First steps in academic writing (2nd ed.). NY: Pearson Education.

Chen, A., & Xu, K. (Eds). (2011). Fabulous furniture. Hong Kong: Artpower.

Sarrazin, N. (2016). Music and the Child. Retrieved from http://textbooks.opensuny.org/music-and-the-child/

 

                  3.2 บทความหรือบทในหนังสือ

ชื่อผู้แต่งบทความหรือบท. (ปีพิมพ์). ชื่อบทความหรือบท. ใน ชื่อบรรณาธิการ (บรรณาธิการ), ชื่อหนังสือ (หมายเลขหน้าที่ปรากฏบทความ). สถานที่พิมพ์: สำนักพิมพ์. 

ตัวอย่าง

สุปราณี แจ้งบำรุง. (2546). ปริมาณสารอาหารอ้างอิงที่ควรได้รับประจำวัน. ใน สุปราณี แจ้งบำรุง และคณะ (บรรณาธิการ), ปริมาณสารอาหารอ้างอิงที่ควรได้รับประจำสำหรับคนไทย พ.ศ. 2546 (น. 21-26). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ (รสพ).

Haybron, D.M. (2008). Philosophy and the science of subjective well-being. In M. Eid & R. J. Larsen (Eds.), The science of subjective well-being (pp. 17-43). New York, NY: Guilford Press.

 

                  3.3 หนังสือแปล

ชื่อผู้แต่งต้นฉบับ. (ปีพิมพ์). ชื่อเรื่องที่แปล [ชื่อต้นฉบับ] (ชื่อผู้แปล, แปล). สถานที่พิมพ์: สำนักพิมพ์. (ต้นฉบับพิมพ์ปี ค.ศ. หรือ พ.ศ.) 

ตัวอย่าง

แบรี่ สมาร์. (2555). มิเชล ฟูโกต์ [Michel Foucault] (จามะรี เชียงทอง และ สุนทร สราญจิต, แปล). กรุงเทพฯ: ศูนย์มานุษยวิทยาสิริธร (องค์การมหาชน). (ต้นฉบับพิมพ์ปี ค.ศ. 1994).

 

                  3.4  บทความวารสาร

                         3.4.1  ฉบับพิมพ์

ชื่อผู้แต่ง. (ปีพิมพ์). ชื่อบทความ. ชื่อวารสาร, เลขของปีที่(เลขของฉบับที่), เลขหน้าที่ปรากฏบทความ.

                        3.4.2  ออนไลน์ (มีรหัส DOI – Digital Object Identifier)

ชื่อผู้แต่ง. (ปีพิมพ์). ชื่อบทความ. ชื่อวารสาร, เลขของปีที่(เลขของฉบับที่), เลขหน้าที่ปรากฏบทความ. doi:xx.xxxx

                        3.4.3  ออนไลน์ (ไม่มีรหัส DOI ให้ลง URL ของวารสาร)

ชื่อผู้แต่ง. (ปีพิมพ์). ชื่อบทความ. ชื่อวารสาร, เลขของปีที่(เลขของฉบับที่), เลขหน้าที่ปรากฏบทความ. สืบค้นจาก http://www.xxxx

ตัวอย่าง

ปิยะวิทย์ ทิพรส. (2553). การจัดการป้องกันและลดสารให้กลิ่นโคลน Geosmin ในผลิตภัณฑ์แปรรูปสัตว์น้ำ. วารสารสุทธิปริทัศน์, 24(72), 103-119.

จรรยาลักษณ์ สิริกุลนฤมิตร, และภิญรดา เมธารมณ์. (2561). องค์ประกอบของการสื่อสารเพื่อการสร้างกระแสความนิยมเพลงเกาหลีในประเทศไทย. วารสารบริหารธุรกิจ, 41(157), 1-20. doi: 10.14456/jba.2018.5

ดิเรก หงษ์ทอง. (2558). พงศาวดารเขมรใน “นิพานวังน่า”: ความสำคัญต่อการตีความชีวิตของเจ้านายเขมรพลัดถิ่นในสยาม. วารสารอารยธรรมศึกษาโขง-สาละวิน, 6(1), 203-222. สืบค้นจาก https://www.tci-thaijo.org /index.php/jnuks/index

Siriwongworawat, S. (2003). Use of ICT in Thai libraries: An overview. Program, 37(1), 38-43.

Samorna, S. (2013). Social movements against gold mining. Procedia - Social and Behavioral Sciences, 88(2013), 299-305. doi:10.1016/j.sbspro.2013.08.509

Kramanon, R., & Gray, R. (2015). Differentials in happiness among the young old, the middle old and the very old in Thailand. Journal of Population and Social Studies [JPSS], 23(2), 180-192. Retrieved from https://www.tci-thaijo.org/index.php/jpss/article/view/102342

 

                  3.5  วิทยานิพนธ์/การค้นคว้าอิสระ และดุษฎีนิพนธ์

                        3.5.1  ฉบับพิมพ์

ชื่อผู้เขียนวิทยานิพนธ์. (ปีพิมพ์). ชื่อวิทยานิพนธ์ (วิทยานิพนธ์/การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต หรือ วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต). ชื่อสถาบันที่จบ, เมืองของสถาบันที่จบ.

                       3.5.2 จากฐานข้อมูลที่สถาบันบอกรับ คลังข้อมูลสถาบัน ฐานข้อมูลพาณิชย์ และเว็บไซต์ส่วนบุคคล

ชื่อผู้เขียนวิทยานิพนธ์. (ปีพิมพ์). ชื่อวิทยานิพนธ์ (วิทยานิพนธ์/การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต หรือ วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต, ชื่อสถาบัน, เมือง, ประเทศ). สืบค้นจาก ระบุชื่อฐานข้อมูล หรือ http://www.xxxxxxx. (หมายเลขประจำรายการ - ถ้ามี)  

ตัวอย่าง

เข็มทอง ศิริแสงเลิศ. (2540). การวิเคราะห์ระบบประกันคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนอาชีวศึกษาเอกชนกรุงเทพมหานคร (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.

กฤษดี ปิยะวัฒนะนนท์. (2546). โครงสร้างเงินทุนของธุรกิจ SMEs ในประเทศไทย (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ). สืบค้นจากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ไทย.

จรัล อุ่นฐิติวัฒน์. (2548). กลวิธีการถ่ายทอดทางสังคมขององค์การที่ส่งผลต่อความพึงพอใจในงานและความผูกพันในองค์การสำหรับพนักงานสถาบันการเงินพิเศษของรัฐ (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, กรุงเทพฯ). สืบค้นจาก http://library.swu.ac.th

Nickels, D. W. (2005). The relationship between IT-business alignment and organizational culture: An exploratory study (Unpublished doctoral dissertation). University of Memphis, Memphis, TN.

Li, S. (2000). Network traffic control and bandwidth management in Internet: A differentiated services case study (Master’s thesis). Retrieved from ProQuest Dissertation and Theses database. (AAT MQ64392)

DiNicola, M.D. (2004). Pathological Internet use among college students: The prevalence of Pathological Internet use and its correlates (Doctoral dissertation). Retrieved from http://www.ohiolink.edu/etd

 

                    3.6 รายงาน รายงานการวิจัย

ชื่อผู้วิจัย. (ปีที่พิมพ์). ชื่อเรื่อง (รายงานการวิจัย). สถานที่พิมพ์: สำนักพิมพ์.

 ตัวอย่าง

ยุวลักษณ์ เวชวิทยาขลัง. (2550). รายงานการวิจัยเรื่อง ความต้องการพัฒนาศักยภาพของทรัพยากรบุคคลในธุรกิจ SMEs จังหวัดสมุทรปราการ (รายงานการวิจัย). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี.

Huguet, J. W., & Chamratrithirong, A. (Eds.). (2011). Thailand migration report: Migration for development in Thailand: Overview and tools for policy makers. Retrieved from http://publications.iom.int/bookstore/free/ tmr_2011.pdf

 

                  3.7  เอกสารประกอบการนำเสนอในที่ประชุม สัมมนา รายงานการประชุม

                         3.7.1 บทความที่เผยแพร่ในรายงานการประชุม

ชื่อผู้เขียนบทความ. (ปี). ชื่อบทความ. ใน ชื่อบรรณาธิการ (บรรณาธิการ), ชื่อหัวข้อกลุ่มนำเสนอ (หน้าที่ปรากฏบทความ). doi  หรือ ชื่อการประชุม, เมืองที่จัดการประชุม.

                        3.7.2 บทคัดย่อออนไลน์ของบทความที่นำเสนอในที่ประชุม

ชื่อผู้เขียนบทความ. (ปี, เดือน). ชื่อบทความ. บทความนำเสนอในการประชุม..., สถานที่จัดการประชุม. บทคัดย่อสืบค้นจาก http://www.xxxxxxx

                         3.7.3 บทความ/โปสเตอร์นำเสนอในงานประชุมที่ไม่มีการตีพิมพ์เผยแพร่เป็นทางการ

ชื่อผู้เขียนบทความ. (ปี, เดือน). ชื่อบทความ. บทความ หรือ โปสเตอร์นำเสนอในการประชุม..., สถานที่จัดการประชุม.

ตัวอย่าง

สุภักตร์ ปัญญา, และสมชาย อารยพิทยา. (2560). การพัฒนาบนฐานข้อมูลสมุนไพรในตำรับยาหมอพื้นบ้านในภาคเหนือตอนบน. ใน สำนักวิจัยและส่งเสริมวิชาการการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้, รายงานการประชุมวิชาการ ประจำปี 2560 มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ภาคบรรยาย (น. 592-603). การประชุมวิชาการ ประจำปี 2560 มหาวิทยาลัยแม่โจ้, เชียงใหม่.

Mo, L., และจิตรลดา แสงปัญญา. (2560, พฤษภาคม). ปัญหาครอบครัวในสังคมไทย: ภาพสะท้อนจาก นวนิยายไทย ช่วง พ.ศ. 2508-2557. บทความนำเสนอ ณ โครงการประชุมวิชาการระดับชาติและนานาชาติ ครั้งที่ 5: "งานวิชาการรับใช้สังคม" ในโอกาสครบรอบ 25 ปี ของมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ, สมุทรปราการ. บทคัดย่อสืบค้นจาก https://hcuconf.hcu.ac.th/download/2017/hcu-conference-2017-abstract-pdf.pdf

กุลศิริ เตียนศรี, และอัชฌา พงศ์พิทักษ์ดำรง. (2557, พฤศจิกายน). How to approach to abnormal pain in children. บทความนำเสนอ ณ การประชุมวิชาการประจำปี 2557: สุขภาพดีสมวัย อนามัยแม่และเด็กในยุค AEC, นครราชสีมา.

Katz, I., Gabayan, K., & Aghajan, H. (2007). A multi-touch surface using multiple cameras. In J. Blanc-Talon, W. Philips, D. Popescu, & P. Scheunders (Eds.), Lecture Notes in Computer Science: Vol. 4678. Advanced Concepts for Intelligent Vision Systems (pp. 97-108). doi: 10.1007/978-3-540-74607-2_9

Liu, S. (2005, May). Defending against business crises with the help of intelligent agent based early warning solutions. Paper presented at the Seventh International Conference on Enterprise Information Systems, Miami, FL. Abstract retrieved from http://www.iceis.org/iceis2005/abstracts_ 2005.htm

Brown, S., & Caste, V. (2004, May). Integrated obstacle detection framework. Paper presented at the IEEE Intelligent Vehicles Symposium, Detroit, MI.

 

                  3.8  บทความในหนังสือพิมพ์

                         3.8.1 ฉบับพิมพ์

ชื่อผู้เขียนบทความ. (ปี, วันที่ เดือนที่พิมพ์). ชื่อบทความ. ชื่อหนังสือพิมพ์, เลขหน้าที่ปรากฏบทความ.

                         3.8.2 ออนไลน์

ชื่อผู้เขียนบทความ. (ปี, วันที่ เดือนที่พิมพ์). ชื่อบทความ. ชื่อหนังสือพิมพ์. สืบค้นจาก http://www.xxxxxxx

                         3.8.1 กรณีไม่ปรากฏชื่อผู้เขียนบทความ

ชื่อบทความ. (ปี, วันที่ เดือนที่พิมพ์). ชื่อหนังสือพิมพ์, เลขหน้าที่ปรากฏบทความ.

ชื่อบทความ. (ปี, วันที่ เดือนที่พิมพ์). ชื่อหนังสือพิมพ์. สืบค้นจาก http://www.xxxxxxx

 ตัวอย่าง

จินดารัตน์ โพธิ์นอก. (2560, 16 พฤศจิกายน). มหาวิทยาลัยนวัตกรรม. เดลินิวส์, น. 8.

ชนัดดา ชินะโยธิน. (2561, 18 ธันวาคม). คุยกับทูตโปแลนด์ ผู้ที่เคย Backpack มาเที่ยวไทย เพราะหลงใหลวิถีชีวิต-ผู้คน และการฝึกความอดทนกับสภาพจราจร. มติชนสุดสัปดาห์. สืบค้นจาก https://www.matichonweekly.com/column/article_ 156170

รื้อฟื้น! อัตลักษณ์ชุมชน ทายาทผ้าขาวม้าไทย สร้างผลิตภัณฑ์ระดับห้าดาว!. (2561, 19 ธันวาคม). ผู้จัดการรายวัน, น. 5.

Leesa-nguansuk, S., & Sritama, S. (2018, May 25). EU data privacy laws creating local waves. Bangkok Post, p. B3.

Judd, J. (2018, December 17). On International Migrants Day, a sea change for Thai fishing?. The Nation. Retrieved from http://www.nationmultimedia.com/detail/opinion/30360513

Bangkok tops Agoda’s 2018 list of Asian destinations. (2018, December 11). The Nation. Retrieved from http://www. nationmultimedia.com/detail/thailand/30360181

 

                  3.9 เว็บไซต์

ชื่อผู้แต่ง. (ปีพิมพ์, วันที่ เดือน). ชื่อบทความ. สืบค้นจาก http://www.xxxxxxx

 ตัวอย่าง

เนื้อแพร เล็กเฟื่องฟู, วรประภา นาควัชระ, และปภัสสร แสวงสุขสันต์. (2560, 2 มิถุนายน). Big Data บอกอะไรได้บ้างเกี่ยวกับตลาดแรงงานไทย. สืบค้นจาก https://www.pier.or.th/?abridged=big-data-บอกอะไรได้บ้างเกี่ยวกับตลาดแรงงานไทย

Koh, D. (2018, November 4). Spreading digital health initiatives in Thailand with the Khon Kaen Health project. Retrieved from https://www.healthcareitnews.com/news/spearheading-digital-health-initiatives-thailand -khon-kaen-smart-health-project