การสร้างการประกันความมั่นคงทางอาหารในระดับชุมชน: กรณีศึกษาชุมชนป่าตรง อำเภอเมืองปราจีนบุรี จังหวัดปราจีนบุรี

Authors

  • วงศ์ตระกูล มาเกตุ นักศึกษา หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต คณะพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

Keywords:

วิธีการจัดการอาหาร, การสร้างการประกันความมั่นคงทางอาหาร, food management, food security

Abstract

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาวิธีการจัดการอาหารในระดับชุมชน  และ 2) ศึกษาวิธีการสร้างการประกันความมั่นคงทางอาหารในระดับชุมชน  การศึกษาใช้แนวทางการวิจัยเชิงคุณภาพ  เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์แบบเจาะลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ  การสังเกตและนำข้อมูลมาวิเคราะห์ตีความตามหลักตรรกะ ผลการวิจัยพบว่า

1. วิธีการจัดการอาหารแบ่งเป็น 3 ช่วงเวลา คือ 1) ในช่วงเวลาปกติ ชุมชนมีการสำรองอาหารไว้กิน เช่น หน่อไม้ดอง ปลาร้า ปลาแดดเดียว และไข่เค็ม มีการปลูกพืชหมุนเวียนรอบๆ บ้าน  2) ในช่วงเวลาฉุกเฉิน (ภัยพิบัติ)ชุมชนมีอาหารไว้กิน เนื่องจากมีการแปรรูปอาหารด้วยการหมักดอง แช่อิ่ม ตากแห้ง  3) ในช่วงขาดแคลน ชุมชนมีการแบ่งปันอาหารซึ่งกันและกัน  เพราะว่าชาวชุมชนมีความใกล้ชิดสนิทสนมและอยู่ร่วมกันแบบญาติพี่น้อง

2. วิธีการสร้างการประกันความมั่นคงทางอาหารแบ่งเป็น 3 วิธี คือ 1) การเก็บอาหาร ชุมชนมีการสำรองอาหารไว้กินในยามฉุกเฉิน  เพราะการมีอาหารทำให้สามารถป้องกันความหิวโหยได้  2) การทำให้พืชผลมีความอุดมสมบูรณ์โดยไม่ใช้ปุ๋ยเคมี  และมีบ่อกักเก็บน้ำเพื่อใช้ในการเพาะปลูก 3) การแปรรูปอาหารเพื่อรักษาคุณค่า  เพิ่มมูลค่าให้แก่อาหารและเพิ่มรายได้แก่ครอบครัว  ด้วยวิธีการหมัก ดอง แช่อิ่ม ตากแห้ง ส่วนอาหารที่มักนิยมทำกันก็คือ ปลาร้า ปลาแดดเดียว  ผลไม้ดอง  และไข่เค็ม

 

Abstract

The objectives of this research are to study food management in a local community and investigate the creation of guarantees of food security in the community. The research involved the collection of data through in-depth interviews and observation and the use of descriptive analysis involving the integration of theory in the context of the community. The research found that:

1. Food management in Patrong Community can be divided into three modes: 1) Normal mode: community members engage in food preservation, such as pickling bamboo shoots, pickling fish, drying fish and salting eggs. They also engage in crop rotation in the surrounding area. 2) Emergency mode: sufficient food is available in Patrong Community as a result of food processing by pickling or other means of food preservation; 3) Scarcity mode: people in Patrong Community commonly share food with one another since they have good relationships and live like one big family.

2. Guarantees of food security in the community are established in three ways, namely: 1) Food storage: the community preserves and stores foods for emergencies, which can prevent hunger from affecting the family; 2) Producing and maintaining good crops without using chemical fertilizers and building ponds to store water for household agriculture; 3) Food preservation and food processing: community members preserve nutrition, add value to foods and earn additional family income by processes such as pickling and preservation in syrup. The most commonly preserved foods are pickled fish, dried fish, other foods preserved in salt solution or syrup, and salted eggs.

Downloads