ปัจจัยการตัดสินใจซื้อปุ๋ยอินทรีย์ของเกษตรกรตำบลผาน้อย อำเภอวังสะพุง จังหวัดเลย

Authors

  • กชวรรณ ทาแก้วน้อย นักศึกษา หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการทั่วไป คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย
  • อารีรัตน์ ภูธรรมะ อาจารย์ ประจำสาขาวิชาการจัดการ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย

Keywords:

ปุ๋ยอินทรีย์, ตำบลผาน้อย, เลย, organic fertilizer, Phanoi sub-district, Loei

Abstract

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยการตัดสินใจซื้อปุ๋ยอินทรีย์ของเกษตรกรในตำบลผาน้อย อำเภอวังสะพุง  จังหวัดเลย และเพื่อเปรียบเทียบปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อปุ๋ยอินทรีย์ของเกษตรกร จำแนกตาม เพศ อายุ ระดับการศึกษา รายได้เฉลี่ยต่อปีและขนาดพื้นที่การเพาะปลูก  กลุ่มตัวอย่างในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ เกษตรกรที่เลือกใช้ปุ๋ยอินทรีย์ในตำบลผาน้อย อำเภอวังสะพุง จังหวัดเลย จำนวน 229 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาในครั้งนี้เป็นแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติที่ใช้ในการทดสอบสมมติฐานของการศึกษา ได้แก่ t-test independent และการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียวและเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยรายคู่ด้วยวิธีเชฟเฟ่

ผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยการตัดสินใจซื้อปุ๋ยอินทรีย์ของเกษตรกรตำบลผาน้อย อำเภอวังสะพุง จังหวัดเลย โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง (= 3.37) รายด้านพบว่า อยู่ในระดับมาก 1 ด้านและระดับปานกลาง 3 ด้าน โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุดคือ ด้านผลิตภัณฑ์ (= 3.74) รองลงมาคือ ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย (= 3.36) ด้านราคา (= 3.28) และด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดคือ ด้านการส่งเสริมการตลาด (= 3.04) เกษตรกรที่มีอายุ และระดับการศึกษาต่างกันมีการตัดสินใจซื้อปุ๋ยอินทรีย์ของเกษตรกรในภาพรวมไม่ต่างกัน แต่เกษตรกรที่มีเพศ ขนาดพื้นที่การเพาะปลูกและรายได้เฉลี่ยต่อปีต่างกันมีการตัดสินใจซื้อปุ๋ยอินทรีย์ในภาพรวมต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

 

The purposes of this study were to investigate the factors of the agriculturalists’ final decision on their organic fertilizer purchase in  Phanoi  sub-district,  Wangsaphung  district,  Loei province and then  to compare the factors affected their final decisions on their organic fertilizer purchase classified by gender, age, educational level, average of the income and average income per year, and planting size.  The samples group consisted of 229 agriculturalists who use the organic fertilizer in Phanoi sub-district.  A questionnaire was used for data collection and the earned data were analyzed to obtain frequency, percentage, mean, standard deviation and statistics for test hypothesis were Independent t-test and Analysis of variance and compare the pairs with the Scheffe method.

The result showed that the overall aspect of the factors of the agriculturists’ final decisions on their organic fertilizer purchase was clearly found at a moderate level ( = 3.37). Considering each aspect, 1 aspect was found at a high level and 3 aspects were found at a moderate level.  The highest mean of the factor was the products (= 3.74), the channel of distribution (=3.36) and price (=3.28). The lowest mean obviously found was the marketing promotion (=3.04). The agriculturists who have the different age and educational level have indifferent decision on the organic fertilizer purchase in the overall aspect.  However, the agriculturalists with different gender, planting size and the average income per year have the different decision on the organic fertilizer purchase in overall aspect with the statistical significance at .05 level.

Downloads