การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาทักษะการอ่านและเขียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนบ้านห้วยเหล็ก สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 1

Authors

  • กนกวรรณ เหง้าวิชัย ครูชำนาญการพิเศษ โรงเรียนบ้านห้วยเหล็ก สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 1
  • พรสวรรค์ ศิริกัญจนาภรณ์ อาจารย์ประจำคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย

Keywords:

การมีส่วนร่วม, การพัฒนาทักษะการอ่านและเขียน, participation, developing reading and writing skills

Abstract

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์  1) เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาทักษะการอ่านและเขียน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่  1 โรงเรียนบ้านห้วยเหล็ก  สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 1  โดยใช้การปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม 2)  เพื่อสร้างและพัฒนาแบบฝึกเสริมทักษะการอ่านและเขียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนบ้านห้วยเหล็ก สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 1ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80  3)เพื่อเปรียบเทียบคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ที่เรียนโดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะการอ่านและเขียนสระเปลี่ยนรูปที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น  4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนบ้านห้วยเหล็กที่มีต่อแบบฝึกเสริมทักษะการอ่านและเขียนสระเปลี่ยนรูป  กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย 

กลุ่มเป้าหมาย เป็นครู จำนวน  3  คน  ผู้ปกครองนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1  ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา  2553  จำนวน 20  คน และนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1  ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา  2553  จำนวน 20  คน ซึ่งได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง  (Purposive  sampling)  ใช้รูปแบบการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (Action  Research  : AR)  โดยใช้ทฤษฎีเชิงปฏิบัติการแบบบันไดเวียนตามแนวคิดของ  เคริท  เลวิน (Kurt  Lewin)  กลุ่มเป้าหมายกลุ่มเดียวมีการทดลองก่อนและหลังเรียน (One – Group   Pre – Test – Post - Test Design) เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาได้แก่ แบบฝึกเสริมทักษะการอ่านและเขียนสระเปลี่ยนรูป  แผนการจัดการเรียนรู้ แบบทดสอบวัดความสามารถทางการเรียน และแบบประเมินความพึงพอใจ  สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย  ร้อยละ  ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  และสถิติที ผลการวิจัยพบว่า

1. แนวทางการพัฒนาทักษะการอ่านและเขียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่  1 โรงเรียนบ้านห้วยเหล็ก สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 1 โดยใช้การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม  ผลการวิจัยพบว่าผู้มีส่วนร่วมมีความต้องการให้ครูพัฒนาทักษะด้านการอ่านและเขียนสระเปลี่ยนรูปโดยใช้แบบฝึกที่นักเรียนเรียนรู้และจดจำได้ง่าย ๆ เน้นให้นักเรียนรู้จักกฎกติกาการเปลี่ยนรูปรู้จักการแจกลูกสะกดคำในการอ่านการเขียนภาษาไทยได้อย่างถูกต้อง

2. ประสิทธิภาพของแบบฝึกเสริมทักษะการอ่านและเขียนสระเปลี่ยนรูป  กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย  ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนบ้านห้วยเหล็ก สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 1 มีประสิทธิภาพ (E1/E2) เท่ากับ  86.76/  83.50 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 80/ 80 ที่ตั้งไว้

3.  ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียน โดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะการอ่านและเขียนสระเปลี่ยนรูป  กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนบ้านห้วยเหล็ก สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 1  สูงกว่าก่อนเรียน

4. ผลการดำเนินงานการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม ตามแผนปฏิบัติการในวงรอบการวิจัย  สามารถกำหนดรูปแบบการจัดกระบวนการพัฒนาทักษะการอ่านการเขียนของนักเรียนทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ  พบว่า  นักเรียนที่ได้รับการพัฒนาด้วยกระบวนวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมมีทักษะการอ่านการเขียนเพิ่มขึ้นมากกว่าก่อนเข้าร่วมในกระบวนการวิจัยนักเรียนและผู้ปกครองมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด และต้องการให้จัดกิจกรรมเช่นนี้อีก

 

Abstract

The purposes of this study were to 1)  A study participatory action process of teachers and parents  regarding situations with problems. 2)  Skill guidelines the development of  Reading and Writing for Prathomsuksa 1 students at BanHuaylex school, under the Loei Primary Educational Service Area office 1 3) Investigate of reading and writing skill development after undertaking participatory action process 4) The development  of reading and writing skill   made students and parents satisfied.

The purposive  sampling participants included 20 Prathomsuksa 1 students, 3 teachers, 20 parents. Loop action (Action  Research  : AR) research was  comprising three steps : planning, acting and observing, and  reflecting. A mixed methodology of quantitative and qualitative research was applied One – Group   Pre – Test – Post - Test Design. reading and writing test was quantitatively analyzed while focus group discussion, in-dept interview,  participant observation, and circular assessment of each activity were descriptively analyzed through qualitative research. Statistics used was frequency, and percentage. The  findings  were  as  follows :

1. In terms of situations with problems, development of reading and  writing skill  guidelines, it fount three teachers, twenty parents and twenty Prathomsuksa students 1 voluntarily  participated  the  research. Teachers were able to fully participate the whole  process of the  research starting from  planning  activity, operating activity, evaluating and developing activity and to concluding participatory action process.  Parents were aware of situations with problems and proposed guidelines for resolution while students realized  the  value  of skill  activities reading  and  writing.

2. The practice in reading and writing skills for Prathomsuksa  students 1 had  the efficiency  following   86.76 /  83.50

3. The  results of  competence the  development that is reading and  writing skills learning activity was higher than before the   experiment. 

4. The results of the development of reading and writing skills according to loop circle  practice revealed a reading and writing skill development that students with the treatment of  participatory action process increased in reading and writing skill competence that is reading fluency and  correct  spelling. These made students and parents satisfied and were expected to have such activities.

Downloads