การวิจัยปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชา คณิตศาสตร์ เรื่อง เศษส่วนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านโคกนาเหล่า

Authors

  • ประเสริฐ วงศ์จวง นักศึกษา หลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิจัยและประเมินผลการศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย
  • ภัทราพร เกษสังข์ อาจารย์ ประจำคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย
  • นฤมล ศักดิ์ปกรณ์กานต์ อาจารย์ ประจำคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา

Keywords:

การวิจัยปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม, ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์, เศษส่วน, participatory action research, achievement of mathematic, title a fraction

Abstract

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัญหาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์  เรื่อง เศษส่วน 2) ศึกษาความคาดหวังและแนวทางการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชาคณิตศาสตร์  เรื่อง  เศษส่วน 3) ศึกษาผลการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชาคณิตศาสตร์  เรื่อง  เศษส่วน (3.1) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชา คณิตศาสตร์ เรื่องเศษส่วน กับเกณฑ์คะแนนที่ผ่านกระบวนการวิจัยปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (3.2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชาคณิตศาสตร์  เรื่อง เศษส่วน ระหว่างก่อนและหลังการพัฒนาโดยใช้กระบวนปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม กลุ่มเป้าหมาย ที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านโคกนาเหล่า สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองบัวลำภู เขต 2 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2555 จำนวน 30 คน  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 15 แผน 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ 3) แบบทดสอบท้ายวงจร จำนวน 2 ชุด ชุดละ 20 ข้อ 4) แบบฝึกทักษะ เรื่อง เศษส่วน จำนวน 14 ชุด 5) เพลงเกี่ยวกับเศษส่วน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล สถิติพื้นฐาน ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทีที่กลุ่มตัวอย่างเดียวเทียบกับเกณฑ์และสถิติทีที่กลุ่มตัวอย่างสัมพันธ์  ผลการวิจัยพบว่า

1.  ผลการศึกษาปัญหาเกี่ยวกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน พบว่า นักเรียนเรียนไม่ทันเพื่อน ไม่เข้าใจการคำนวณ ท่องสูตรคูณไม่คล่อง ไม่มีความเชื่อมั่นในตนเอง และเนื้อหาที่สอนซับซ้อนไกลตัว

2.  ความคาดหวังเกี่ยวกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชา คณิตศาสตร์ เรื่อง เศษส่วน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จากผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง พบว่า กลุ่มเป้าหมายมีความคาดหวังว่าผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนควรเป็นไปตามเกณฑ์ขั้นต่ำของเขตพื้นที่การศึกษาตั้งไว้คือ ร้อยละ 60 เนื้อหาที่เรียนควรเป็นเรื่องใกล้ตัว และอยากให้นักเรียนนำความรู้ที่ได้ไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ และคิดคำนวณขั้นพื้นฐานได้

ผลการศึกษาแนวทางการพัฒนาที่เกิดจากผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง พบว่า 1) ครูและผู้ปกครองควรร่วมมือกันในการแก้ไขปัญหา 2) ควรมีสื่อสำหรับการเรียนการสอน คือ เล่นเกม ร้องเพลง และแบบฝึกเสริมทักษะ

3.  นักเรียนที่ได้รับการพัฒนามีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชา คณิตศาสตร์ เรื่องเศษส่วน สูงกว่าเกณฑ์ ร้อยละ 60 คะแนนที่ผ่านกระบวนการวิจัยปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และนักเรียนหลังที่ได้รับการจัดกิจกรรมพัฒนามีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชา คณิตศาสตร์ เรื่องเศษส่วน สูงกว่าก่อนการพัฒนา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

 

Abstract

The purpose of this research were to study 1) the problem of achievement of mathematic title a fraction 2) development expectation and guidelines of this 3) the results of the development on mathematic title a fraction (3.1) comparing their achievement between after development with stakeholders’ criteria, and (3.2) comparing their achievement between pre and post development by participatory action research process. The target samples were 30 of Prathomsuksa 6 students of Bankoknalao school, under the office of Nhongbualumphu primary Educational service area2 in1/2012 academic year.  The research tools were learning plans 15 sets, multiple choice tests type 4 choice 30 items, circle posttest 2 sets each test 20 item, from exercise a title fraction 15 sets, song of fraction.  The statistics used for data analysis were percentage, mean standard deviation, One sample t - test and Dependent sample t – test.  The findings were shown as bellows:

1. The problem of achievement of mathematic title a fraction found that : students don’t learned follow their friend, understand compute, memorized multiplication, confident, think about yourself as abnormal, complex content, and far form life.

2. The expectation of development on mathematic title a fraction were stakeholder and target’s expectation of achievement should reach the Educational Service Area’s criteria, which was 60 percent, useable bring knowledge for life and computable foundation.

The guideline of development from were stakeholder and target found teachers and parent cooperatives solving, media for structure as game, exercise and teach prepare.

3.  The result development as : after development students have achievement of mathematic title a fraction higher than 60 percent stakeholders’ criteria with the statistical significance at .01 level, and after development students have achievement of mathematic title a fraction higher than before development with the statistical significance at .01 level.

Downloads