ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา กับพฤติกรรมการสอนที่มีประสิทธิผลของครูในสถานศึกษาระดับมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา จังหวัดเลย

Authors

  • ละอองดาว ปะโพธิง นักศึกษา หลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

Keywords:

ภาวะผู้นำทางวิชาการ, พฤติกรรมการสอนที่มีประสิทธิผล, สถานศึกษาระดับมัธยมศึกษา, instructional leadership, effective teaching behavior, secondary school

Abstract

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาระดับมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา จังหวัดเลย 2) ศึกษาพฤติกรรมการสอนที่มีประสิทธิผลของครูในสถานศึกษาระดับมัธยมศึกษา และ 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษากับพฤติกรรมการสอนที่มีประสิทธิผลของครู

กลุ่มตัวอย่าง คือ สถานศึกษาระดับมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา จังหวัดเลย ปีการศึกษา 2553 จำนวน 31 แห่ง ผู้ให้ข้อมูลคือ ครูผู้สอนจำนวนทั้งสิ้น 485 คน จากสถานศึกษาแห่งละ 16 คน โดยเป็นครูหัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ จำนวน 8 คน ซึ่งได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง และผู้แทนครูในแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้ จำนวน 8 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มอย่างง่าย  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามชนิดมาตรประมาณค่าที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น แบบสอบถามฉบับนี้ประกอบด้วยข้อมูลภาวะผู้นำทางวิชาการและข้อมูลพฤติกรรมการสอนที่มีประสิทธิผลซึ่งมีค่าความเที่ยงเท่ากับ .90 และ .96 ตามลำดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิสหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน การทดสอบสมมติฐานใช้ระดับความมีนัยสำคัญ .01

ผลการวิจัยพบว่า 1) ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา จังหวัดเลย โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยด้านที่มีระดับการปฏิบัติมากไปหาน้อย ได้แก่  การเสริมสร้างขวัญและกำลังใจ การบริหารจัดการหลักสูตรสถานศึกษา การสนับสนุนทรัพยากรการสอน และการนิเทศการสอน 2) พฤติกรรมการสอนที่มีประสิทธิผลของครู โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยด้านที่มีระดับการปฏิบัติมากไปหาน้อย ได้แก่ การบริหารจัดการชั้นเรียน การใช้สื่อและเทคโนโลยี การวัดผลประเมินผลตามสภาพจริงและการนำผลการประเมินไปใช้ การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ และการวิจัยในชั้นเรียน และ 3) ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษากับพฤติกรรมการสอนที่มีประสิทธิผลของครูมีความสัมพันธ์เชิงบวกอยู่ในระดับค่อนข้างสูง

 

Abstract

The purposes of this research were 1) to study the instructional leadership of school administrators in secondary schools under the Office of Secondary Education Service Area in Loei Province; 2) to study the effective teaching behaviors of teachers in the secondary schools; and 3) to study the relationship between instructional leadership of school administrators and effective teaching behaviors of teachers.

The sample consisted of 31 secondary schools under the Office of Secondary Education Service Area in Loei Province in the academic year 2010.  The research informants were 485 teachers from 31 secondary schools, from each of which 16 teachers were selected consisting of eight purposively selected learning area heads by puposine selection and eight randomly selected learning area representatives by simple random sampling.  The employed research instrument was a rating scale questionnaire developed by the researcher, dealing with data on instructional leadership and effective teaching behaviors, with reliability coefficients of .90 and .96, respectively.  Statistics employed for data analysis were the frequency, percentage, mean, standard deviation, and Pearson’s product-moment correlation.  The .01 level of significance was predetermined for hypothesis testing.

The research findings were as follows: (1) the overall instructional leadership of school administrators in secondary schools under the Office of Secondary Education Service Area in Loei Province, as perceived by teachers, was at the high level, with aspect rating means being ranked from high to low based on the practice for each of the following aspects: morale enhancement, school-based curriculum management, provision of supports for instructional resources, and instructional supervision, respectively; (2) the overall effective teaching behavior of teachers was also at the high level, with aspect rating means being ranked from high to low based on the practice for each of the following aspects: classroom management, the use of media and technology, authentic assessment and utilization of evaluation results, organizing of learner-centered learning activities, and classroom research, respectively; and (3) the relationship between instructional leadership of school administrators and effective teaching behaviors of teachers was positive, significant, and at the rather high level. 

Downloads