ปัจจัยที่มีผลต่อการยอมรับนโยบายการถ่ายโอนสถานศึกษาขั้นพื้นฐานไปสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น : ศึกษาเฉพาะบุคลากรในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานสังกัดเขตพื้นที่การศึกษาจังหวัดเลย

Authors

  • ธนภัทร ใจเย็น อาจารย์ ประจำคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย

Keywords:

องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น, การถ่ายโอนสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน, local administrative organization, transferring government fundamental schools

Abstract

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์คือ 1) ศึกษาระดับการยอมรับนโยบายการถ่ายโอนสถานศึกษาขั้นพื้นฐานไปสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นของบุคลากรในเขตพื้นที่การศึกษาจังหวัดเลย 2) ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการยอมรับนโยบายดังกล่าว และ3) ศึกษาปัญหาอุปสรรคของการปฏิบัติตามนโยบาย การศึกษานี้เป็นการสำรวจวิจัย (Survey Research) โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายชั้น (Multi-stage sampling) จากบุคลากรในสถานศึกษาทุกเขตของจังหวัดเลย จำนวน 640 ราย และ 72 รายในสถานศึกษาที่ถ่ายโอน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลการศึกษาประกอบด้วย แบบสอบถาม การสัมภาษณ์เชิงลึก และการวิเคราะห์เอกสาร สำหรับการวิเคราะห์ข้อมูล และสถิติที่ใช้ทดสอบสมมติฐาน ใช้ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน (Pearson’ r product moment correlation coefficient) และการทดสอบไคสแคว์ (Chi-square) ณ ระดับนัยสำคัญทางสถิติเท่ากับ 0.05 ผลการวิจัย  พบว่า

1)  การยอมรับนโยบายการถ่ายโอนสถานศึกษาขั้นพื้นฐานไปสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นของบุคลากรในเขตพื้นที่การศึกษาจังหวัดเลยโดยทั่วไปอยู่ในระดับน้อย (= 1.95)   ทั้งนี้ผู้บริหารสถานศึกษา และบุคลากรในสถานศึกษาโดยทั่วไปไม่เห็นด้วยกับนโยบายการถ่ายโอนสถานศึกษาไปสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น  โดยแสดงความคิดเห็นสอดคล้องกันว่าองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นขาดความรู้ความเข้าใจด้านการศึกษา   ไม่มีผู้เชี่ยวชาญด้านการศึกษา  จัดการศึกษาไม่มีคุณภาพ  และมุ่งเน้นการเมืองมากกว่าการศึกษา   สำหรับบุคลากรในสถานศึกษาที่ถ่ายโอนยอมรับนโยบายในระดับปานกลาง (= 3.25)  โดยเหตุผลที่ถ่ายโอนเพราะเป็นโรงเรียนขนาดเล็กที่ขาดการพัฒนา  และผู้บริหารสถานศึกษาต้องการได้รับงบประมาณในการพัฒนาจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

2) ปัจจัยที่มีผลต่อการยอมรับนโยบายการถ่ายโอนสถานศึกษาขั้นพื้นฐานไปสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นของบุคลากร ได้แก่ ปัจจัยด้านทัศนคติของบุคลากรที่มีต่อองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (r = 0.744)  ปัจจัยด้านบทบาทการสนับสนุนของผู้บริหารสถานศึกษา (r = 0.546)  ปัจจัยด้านอำนาจบทบาทของนักการเมืองท้องถิ่น (r = 0.492) และปัจจัยด้านผลประโยชน์ตอบแทนจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

3) ปัญหาอุปสรรคในการดำเนินการตามนโยบายถ่ายโอนสถานศึกษาขั้นพื้นฐานไปสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นได้แก่ ความไม่ชัดเจนของนโยบาย การกำหนดเกณฑ์การประเมินความพร้อมในการจัดการศึกษาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นไม่เหมาะสม การถ่ายโอนบุคลากรล่าช้า  ขาดหน่วยงานที่รับผิดชอบชัดเจน และทัศนคติของบุคลากรที่มีต่อองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เป็นต้น

 

Abstract

The objectives of this research were firstly to study the level of acceptance on  the policy of transferring of government fundamental schools to Local Administrative Organization policy of Loei Province Education Zone’ s personnel, secondly to study the factors affecting to the acceptance of the policy and thirdly to study the problems occurred in the policy implementation. The research methodology techniques included a multi-stage survey sampling by 640 cases of Loei province education zone’ s personnel and 72 cases of the transferred schools’ personnel and qualitative research techniques, including  the in-depth interview and documentary research.  The research findings : 

1) The acceptance level on the policy of transferring  government fundamental schools to Local Administrative Organization of the general Loei province education zone’s personnel were at low level (= 1.95). The general school headmasters and teachers in Loei province education zones strongly disagreed on the policy because they thought the Local Administrative Organization were lack of knowledge and understanding on education, lack of specialized personnel, lack of education quality and more interested in politics than education.  But the acceptance level in the transferred school’s personnel were at middle level (=3.25). Reasons of the school transferring were the lacking of school development and the potentiality and readiness on budget of Local Administrative Organizations.

2) The factors affecting to the acceptance on the policy of transferring government fundamental schools to Local Administrative Organization policy were (1)  the attitude of personnel to the Local Administrative Organization, which were positively related to the policy acceptance at the middle level (r = 0.744)   (2)  the roles of school  headmaster, which were positively related to the policy acceptance at the middle level (r = 0.546)  and (3) the roles and power of the local politicians, which were positively related to the policy acceptance at the middle level (r = 0.492). (4) the interest and benefits from Local Administrative Organization.

3) The problems on the policy of transferring government fundamental school to Local Administrative Organization were included an obscured or unclear policy, inappropriate criterion of the education readiness assessment, delayed personnel transfer, lack of the responsible agencies and the personnel’s negative attitude to Local Administrative Organization.

Downloads