การเมืองภาคประชาชน: กรณีศึกษาการเคลื่อนไหวต่อต้านเหมืองแร่ทองคำของชาวบ้าน “กลุ่มรักษ์บ้านเกิด” ตำบลเขาหลวง อำเภอวังสะพุง จังหวัดเลย

Authors

  • นพพล แก่งจำปา อาจารย์ ประจำภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
  • ธิิติญา เหล่าอัน อาจารย์ ประจำสาขาวิชาสังคมศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย

Abstract

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสาเหตุการเคลื่อนไหวต่อต้านเหมืองแร่ทองคำของชาวบ้าน  “กลุ่มรักษ์บ้านเกิด” ตำบลเขาหลวง อำเภอวังสะพุง จังหวัดเลย  2) ศึกษารูปแบบการเคลื่อนไหว และการเชื่อมโยงกับองค์กรเครือข่ายภายนอก ของชาวบ้าน “กลุ่มรักษ์บ้านเกิด” ตำบลเขาหลวง อำเภอวังสะพุง จังหวัดเลย โดยวิธีการศึกษาใช้ระเบียบวิจัยเชิงคุณภาพ การดำเนินงานเก็บข้อมูลในพื้นที่ใช้การสัมภาษณ์ กลุ่มแกนนำ กลุ่มผู้นำชุมชน  กลุ่มชาวบ้านที่ร่วมเคลื่อนไหว และกลุ่มผู้เฒ่าผู้แก่ซึ่งเป็นผู้รู้ในชุมชน ประกอบกับเข้าร่วมสังเกตการณ์กิจกรรมการเคลื่อนไหวของชาวบ้านและนำเสนอผลการศึกษาในรูปแบบพรรณนาวิเคราะห์ ผลการศึกษาพบว่า การรวมตัวกันขึ้นของชาวบ้านเพื่อเคลื่อนไหวต่อต้านการทำอุตสาหกรรมเหมืองแร่ทองคำในเขตพื้นที่ตำบลเขาหลวง อำเภอวังสะพุง จังหวัดเลย สาเหตุสำคัญมาจากการประกอบกิจการเหมืองแร่ได้ส่งผลกะทบต่อชาวบ้านหมู่บ้านรอบๆ เหมือง รวมทั้งการเผชิญกับอำนาจรัฐและทุนที่มีกลไกในการเข้าถึงทรัพยากรที่มากกว่า ส่งผลให้ชาวบ้านรวมตัวกันภายใต้ “กลุ่มรักษ์บ้านเกิด” เพื่อเคลื่อนไหวต่อต้านการประกอบกิจการอุตสาหกรรมเหมืองแร่ทองคำ และพยายามจัดการทรัพยากรในท้องถิ่นตามแนวทางของตน ด้วยความที่ชาวบ้านเชื่อมโยงกับสังคมภายนอกอย่างกว้างขวาง รวมทั้งการสัมผัสกับเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่เข้ามาพร้อมกับความเปลี่ยนแปลงของสังคมชนบท ส่งผลให้โลกทัศน์และวิธีคิดในการเคลื่อนไหวต่อต้านเหมืองแร่ทองคำนั้นมีรูปแบบการเคลื่อนไหวที่หลากหลาย

The purposes of this article were: 1) to study the causes of the movement that resisted Gold Mine of villagers of “Rukbangerd group”, Khaoluang sub-district, Wangsapung district, Loei Province, and 2) to investigate the movement model and the linkage with the external networking organizational agency of “Rukbangerd group”. The qualitative approach was applied. Data was collected by means of interviews of the activist, leaders and villagers groups who involved with the movement and the old people who were the key informants. Data was analyzed by content analysis and presented by descriptive analysis. The results of the study signified the gathering villagers for resistance movement against Gold Mine industry in Khaoluang sub-district, Wangsapung district, Loei province. The significant causes were the missions of the gold mine that affected the villagers in the surrounding villagers. The villagers faced the government power and the capitals that could more access the resources. This caused the villagers to gather as “Rukbangerd group” for resistant movement against the gold mine industry. They also tried to manage their own resources according to their own ways with the internal society extensively. Moreover, the villagers gained new technologies with the changes of rural society. This affected the concept and paradigm the diverse resistant movement ways against the gold mine.

Downloads

Published

2018-05-31