ความคาดหวังของผู้ประกอบการธุรกิจโรงแรมในเขตอำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น ต่อศักยภาพด้านภาษาของนักบัญชี

Authors

  • ฐณดม ราศรีรัตนะ อาจารย์ประจำสาขาวิชาการบัญชี คณะบริหารธุรกิจและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตขอนแก่น
  • เข็มพร สุ่มมาตย์ อาจารย์ประจำสาขาวิชาการบัญชี คณะบริหารธุรกิจและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตขอนแก่น
  • ธนัย ศรีอิสาณ อาจารย์ประจำสาขาวิชาการบัญชี คณะบริหารธุรกิจและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตขอนแก่น
  • จุฑารัตน์ คุณทุม อาจารย์ประจำสาขาวิชาการบัญชี คณะบริหารธุรกิจและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตขอนแก่น

Keywords:

ความคาดหวัง, ศักยภาพด้านภาษา, นักบัญชี, expectation, the ability of language, accountants

Abstract

บทคัดย่อ

                 งานวิจัยชิ้นนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความคาดหวังของผู้ประกอบการธุรกิจโรงแรม ในเขตอำเภอเมือง  จังหวัดขอนแก่น  ต่อศักยภาพด้านภาษาของนักบัญชี โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือ ในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้ประกอบการธุรกิจโรงแรม ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น จำนวน 68 กิจการ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือการวิเคราะห์ความถดถอย เชิงพหุคูณ (Multiple regression analysis)

                 จากการวิจัย พบว่า 1) ความคาดหวังของผู้ประกอบการธุรกิจโรงแรม  ด้านภาษาอังกฤษ มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับศักยภาพด้านภาษาของนักบัญชีโดยรวม  2) ความคาดหวังของผู้ประกอบการธุรกิจโรงแรม ด้านความสามารถในการแก้ไขปัญหาได้เป็นอย่างระบบ  มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับศักยภาพด้านภาษาของนักบัญชี ด้านความสัมพันธ์และการสื่อสาร  3) ความคาดหวังของผู้ประกอบการธุรกิจโรงแรม ด้านภาษาอังกฤษ มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับศักยภาพด้านภาษาของนักบัญชี  ด้านการทำงานร่วมกับผู้อื่น  4) ความคาดหวังของผู้ประกอบการธุรกิจโรงแรม ด้านความซื่อสัตย์และความรับผิดชอบต่องาน และด้านภาษาอังกฤษ  มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับศักยภาพด้านภาษาของนักบัญชี ด้านการรับและถ่ายทอดสารสนเทศ  5) ความคาดหวังของผู้ประกอบการธุรกิจโรงแรม ด้านภาษาอังกฤษ มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับศักยภาพด้านภาษาของนักบัญชี ด้านการตัดสินใจอย่างมีประสิทธิผล

                โดยสรุป ความคาดหวังของผู้ประกอบการธุรกิจโรงแรมในเขตอำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น  มีความสัมพันธ์ในเชิงบวก ต่อศักยภาพด้านภาษาของนักบัญชี ดังนั้น ผู้ประกอบการธุรกิจโรงแรม จึงควรส่งเสริมนักบัญชี ให้มีโอกาสในการเข้าอบรม เพื่อพัฒนาศักยภาพด้านภาษาของตนเอง ซึ่งจะเป็นประโยชน์ทั้งต่อองค์กรและตนเองต่อไปในอนาคต

 

Abstract

                 Researchers are interested to studying the expectation of hotel entrepreneurs in Muang district, Khonkaen province on the language proficiency of accountants. In this research, questionnaires were used to collect data from 68 hotel entrepreneurs. The Multiple Regression Analysis was used for statistical analysis.

                 The research found that 1) the expectation of hotel entrepreneurs on English was positively correlated with overall the language proficiency of accountants, 2) the expectation of hotel entrepreneurs on the ability to systematically solve problems was positively correlated with the language proficiency of accountants in terms of relationship and communication  3) the expectation of hotel entrepreneurs on English was positively correlated with the language proficiency of accountants in terms of team work  4) the expectation of hotel entrepreneurs on honestly and task responsibility was positively correlated with the language proficiency of accountants in terms of information transferring  5) the expectation of hotel entrepreneurs on English was positively correlated with the language proficiency of accountants in terms of effective decision making.

                 In summary, the expectation of hotel entrepreneurs in Muang district, Khonkaen province has positively correlated with the language proficiency of accountants. Therefore, the hotel entrepreneurs ought to provide more opportunities for accountants to attend language training and programs which in turns will benefit organizations and accountants in the future.

References

กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2558). ยุทธศาสตร์ การท่องเที่ยวไทย พ.ศ. 2558 – 2560. สืบค้น 14 มกราคม 2559, จาก https://www.mots.go. th/ewt_dl_link.php?nid=7114
กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2558). ทิศทางการขับเคลื่อนการท่องเที่ยวไทย. สืบค้น 14 มกราคม 2559, จาก https://www.mots.go.th/ewt_dl_ link.php?nid=7114
กมลรัตน์ เทอร์เนอร์. (2555). ผลการจัดการเรียนการสอนวิชาภาษาอังกฤษสำหรับนักศึกษาพยาบาล โดยบูรณาการกับโครงการบริการวิชาการ (รายงานผลการวิจัย). นนทบุรี: วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี.
กุสุมา คำพิทักษ์. (2556). นักบัญชีที่องค์กรธุรกิจต้องการ “เก่ง+ดี”. พิมพ์ครั้งที่ 1. ปทุมธานี: สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
จรัสโฉม ศิริรัตน์. (2558). ปัญหาการติดต่อสื่อสารของบุคลากรในองค์กร: กรณีศึกษา สำนักหอสมุด กลาง มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (รายงานผลการวิจัย). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
จิรา ฟัน โอเย่น. (2556). การพัฒนาความสามารถด้านการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจความเข้าใจคำศัพท์และทักษะการคิดของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้วิธีสอนอ่านแบบบูรณาการของแมอร์ด็อค (MIA) และแผนความคิด (วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). ขอนแก่น: คลังข้อมูลสถาบัน มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
จุฑามน สิทธิผลวนิชกุล. (2557). การพัฒนาศักยภาพวิชาชีพบัญชีไทยเมื่อเปิดเสรีทางเศรษฐกิจ (รายงานผลการวิจัย). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์.
เฉลิมชัย โสสุทธิ์. (2554). การพัฒนากิจกรรมการเรียนภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนฮั้วเคี้ยววิทยาลัยขอนแก่น โดยใช้วิธีแบบทางตรง (วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). ขอนแก่น: คลังข้อมูลสถาบัน .
ชยฉัตร แสงคุณที. (2555). ความคิดเห็นของนักท่องเที่ยวชาวไทยที่มีต่อการเลือก โรงแรมที่มีการรักษาสิ่งแวดล้อมใน จังหวัดขอนแก่น (การศึกษาค้นคว้าอิสระปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต ). ขอนแก่น: คลังข้อมูลสถาบัน มหาวิทยาลัย ขอนแก่น.
ชุติมา กองถัน. (2556). การพัฒนาทักษะการพูดภาษาอังกฤษเพื่อการท่องเที่ยวโดยใช้ภาพชุดประกอบการบรรยายแนะนำแหล่งท่องเที่ยวและสถานการณ์จำลองในจังหวัดเพชรบูรณ์สำหลับนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์ (รายงานผลการวิจัย). เพชรบูรณ์: มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์.
ฐมณฑ์ปวีร์ เพชรรัตน์. (2555). การสำรวจความต้องการในการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อประเมินตำราเรียนในการฝึกอบรมภาษาอังกฤษของพนักงาน สายงานปิโตรเลียมนอกชายฝั่ง (วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชา การสอนภาษาอังกฤษเป็นภาษานานาชาติ). สงขลา: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
เดอะ ไพรส์ไลน์ กุ๊ป. (2558). รายชื่อโรงแรมในอำเภอเมืองในจังหวัดขอนแก่น. สืบค้น 4 มกราคม 2558, จาก https://www.booking.com/city/th/khon-kaen.th.html.
พรเพ็ญ ไตรพงษ์, สภาภรณ์ เกลี้ยงทอง และสรศักดิ์ มั่นศิลป์. (2556). ความคาดหวังของนักศึกษานิติศาสตร์ต่อการเรียนการสอนภาษาอังกฤษสำหรับนักกฎหมาย (รายงานผลการวิจัย). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต.
พรสวรรค์ สิหนาทกถากุล. (2555). คุณลักษณะของบุคลากรที่ดีในธุรกิจค้าปลีกร้านขายสินค้า ราคาถูกในเขตกรุงเทพมหานคร (วิทยานิพนธ์ปริญญาเศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต วิชาเอกเศรษฐศาสตร์การศึกษา). ฐานข้อมูลงานวิจัย TDC.
เพชรรัตน์ วิริยะสืบพงศ์ และคณะ. (2555). การวิจัยและพัฒนาการขยายโอกาสอุตสาหกรรมโรงแรมไทย (รายงานผลการวิจัย). ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.
แมนพาวเวอร์ (ไทยแลนด์). (2555). เทคนิคการแก้ไขปัญหาในการทำงาน. สืบค้น 3 พฤษภาคม 2559, จาก https://www.manpowerthailand. com/know_detail.php?id=167.
วรพจน์ แสนประเสริฐ. (2557). ท่องเที่ยว–โรงแรมก้าวหน้าสุดในระบบทวิภาคี สอศ. จับมือภาคเอกชนปรับหลักสูตรพัฒนาคน. สืบค้น 14 มกราคม 2559, จาก https://www.naewna.com/ local/89959.
วารุณี อัศวโภคิน. (2554). การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารของบุคลากรสายสนับสนุนวิชาการ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษาดุษฏีบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาผู้ใหญ่). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
สุวิมล สุวรรณี. (2556). ผลกระทบของการประชาสัมพันธ์การตลาดเชิงกลยุทธ์ที่มีต่อศักยภาพลักษณ์องค์กรของธุรกิจโรงแรมในภาคตะวันออกเฉลียงเหนือ (วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการการตลาด). มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
สุทธญาณ์ โอบอ้อม. (2557). การพัฒนาศักยภาพบุคลากรขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตามแนวพระพุทธศาสนา (วิทยานิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตรดุษฏีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
สุทธิชัย ปัญญโรจน์. (2554). การแก้ไขปัญหาอย่างเป็นระบบ. สืบค้น 3 พฤษภาคม 2559, จาก https:// www.drsuthichai.com
ศูนย์ขุมทองเพื่อการลงทุน. (2555). ข้อมูลพื้นฐานทางเศรษฐกิจจังหวัดขอนแก่น. สืบค้น 19 เมษายน 2559, จาก https://www.kkmuni.go.th/center /images/data/Investment-data/kumtorng/ kumtorng003.pdf
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย. (2558). ธุรกิจโรงแรมปีแพะเงินสะพัด 5.27 แสนล้าน. สืบค้น 18 มกราคม 2559, จาก https://www.banmuang.co.th/news/economy/7248
ศรีสุนันท์ อนุจรพันธุ์. (2555). พฤติกรรมด้านการสื่อสารภายในองค์กรที่มีผลต่อความพึงพอใจของพนักงานซึ่งส่งผลต่อการพัฒนาองค์กร กรณีศึกษา “บริษัท บิซิเนส ออนไลน์ จำกัด (มหาชน)” (รายงานผลการวิจัย). สงขลา: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
อนุรักษ์ ทองสุโขวงศ์ และพรสวรรค์ ทองสุโขวงศ์. (2554). คุณสมบัติ ความรู้ และความชำนาญของผู้ทำบัญชีที่ธุรกิจในเขตจังหวัดขอนแก่นพึงประสงค์ (รายงานผลการวิจัย). ขอนแก่น: คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

Downloads

Published

2019-02-14