Laotian Aliens Labour Movement in Loei Province Area

Authors

  • นิกร น้อยพรม Faculty of Management science, Loei Ratchaphat University

Keywords:

Laotian aliens, labour movement, economic, economics, การเคลื่อนย้าย, แรงงานต่างด้าว, เศรษฐกิจ, เศรษฐศาสตร์

Abstract

                 The objectives of this research were to study general information about Laotian aliens labour movement in Loei province area, problems pertaining to social dimension and human rights, and to understand the effects of the changing in numbers of Laotian alien labour on the economic growth, which would help develop policies or measures to effectively manage issues about labour. The research methods consisted of Survey Research, In-dept Interview, and Documentary Study. The annual time series secondary data from 1995-2016 was used for Documentary Study. The data was provided by the Office of the National Economic and Social Development Board, Department of Employment. Moreover, econometrics including Unit Root Test, and Ordinary Least Square Method: OLS were applied to determine relationship and factors that affect the changing in number of Laotian aliens labours and Gross Product of Loei Province.

                 The study found that for general conditions of the Laotian aliens labour movement, majority of the workers were single and aged between 21-40 years old with middle school education level. Additionally, the province that they primarily lived in was Xayabuli. The labour workers would travel to Loei by crossing one permanent border and local borders. The duration that they stayed in Loei province was between 6-10 years. The most common job was working in personal households for about 9-10 hours per day. For this job, the wages ranged from 5001-10,000 baht. The employers, normally aged from 51-60 years old with education level ranged from high school to bachelor’s degree, pay the average wages more than 20,000 per month.

                 For problems related to Laotian aliens labours, it was found that the wages were not reasonable, and they did not receive the rights to health care that they should get or determined by the government. The results from studying the impacts of changing in numbers of Laotian aliens labours towards Loei’s economic growth showed that if the alien worker numbers changed by 1 percent, the Gross Product of Loei province would alter in the same direction by 0.0779 percent. In the similar fashion, when the expenses of the Laotian workers changed by 1 percent, the Loei province’s Gross Product would shift in the same direction by 0.3602 percent.. In terms of policies or measures for solving labour problems, laws need to be strictly enforced by provincial level to deal with employers who exploited the alien workers in every dimension. Moreover, it need to examined or raised policy that bring into social security system or compensation fund for sickness from working.

 

                 การศึกษาเรื่องการเคลื่อนย้ายแรงงานต่างด้าวสัญชาติลาวในเขตพื้นที่จังหวัดเลย ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาข้อมูลสภาพทั่วไปของการเคลื่อนย้ายแรงงานต่างด้าวสัญชาติลาวในพื้นที่จังหวัดเลย และสภาพปัญหาในมิติด้านสังคม มิติของการได้รับสิทธิมนุษยชน  รวมถึงศึกษาผลจากการเปลี่ยนแปลงจำนวนแรงงานต่างด้าวสัญชาติลาวต่อการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจเพื่อหาแนวทางการสร้างนโยบาย หรือมาตรการในการแก้ไขปัญหาของแรงงานต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ  โดยการวิจัยเชิงสำรวจ (Survey research)  และการสัมภาษณ์เจาะลึก  รวมศึกษาจากเอกสาร (Documentary  study) โดยเก็บข้อมูลทุติยภูมิอนุกรมเวลาแบบรายปี ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2538 – 2559 จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยประยุกต์ใช้เทคนิคทางเศรษฐมิติ ได้แก่ การทดสอบความนิ่งของข้อมูล (Unit root test) และวิธีการกำลังสองน้อยที่สุด (Ordinary Least Square Method: OLS) เพื่อหาความสัมพันธ์และปัจจัยที่มีผลกระทบระหว่างการเปลี่ยนแปลงจำนวนแรงงานต่างด้าวชาวลาวและผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัดเลย

                 ผลการศึกษาพบว่า สภาพทั่วไปของการเคลื่อนย้ายแรงงานต่างด้าวสัญชาติลาวในพื้นที่จังหวัดเลยแรงงานส่วนใหญ่อายุอยู่ระหว่าง 21-40 ปี การศึกษามัธยมศึกษาตอนต้น สถานภาพโสด มาจากแขวงไซยะบูลีเป็นส่วนใหญ่ เดินทางจุดผ่านแดนถาวรและด่านท้องถิ่น อาศัยอยู่ในจังหวัดเลยระหว่าง 6-10 ปี โดยทำงานเป็นลูกจ้างในครัวเรือนส่วนบุคคล 9-10 ชั่วโมงต่อวัน รายได้ต่อเดือน 5,001-10,000 บาท ในขณะที่นายจ้างส่วนใหญ่อายุระหว่าง 51-60 ปี การศึกษามีตั้งแต่ระดับมัธยมศึกษาตอนปลายจนถึงปริญญาตรี จ่ายค่าจ้างเฉลี่ยมากกว่า 20,000 บาทต่อเดือน สำหรับสภาพปัญหาของแรงงานต่างด้าวสัญชาติลาวที่ส่วนใหญ่ คือ ค่าตอบแทนไม่เหมาะสม และการไม่ได้รับสิทธิในการรักษาพยาบาลอย่างที่ควรจะเป็นหรือตามที่รัฐมีประกาศกำหนด  การศึกษาผลจากการเปลี่ยนแปลงจำนวนแรงงานต่างด้าวสัญชาติลาวต่อการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของจังหวัดเลย  พบว่า  เมื่อจำนวนแรงงานเปลี่ยนแปลงไปร้อยละ 1 จะส่งผลให้ผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัดเลยเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางเดียวกันร้อยละ 0.0779 และการใช้จ่ายของแรงงานต่างด้าวสัญชาติลาวเปลี่ยนแปลงไปร้อยละ 1 จะทำให้ผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัดเลยเปลี่ยนแปลงไปร้อยละ 0.3602 สำหรับนโยบายหรือมาตรการในการแก้ไขปัญหาของแรงงานต่างด้าวโดยระดับจังหวัดจะต้องมีการบังคับใช้กฎหมายอย่างเข้มงวดมากขึ้นโดยเฉพาะต่อตัวนายจ้างที่เอาเปรียบต่อลูกจ้างในทุกมิติ พร้อมกับทบทวนหรือเพิ่มเติมนโยบายนำแรงงานต่างด้าวเข้าสู่ระบบการประกันสังคมหรือกองทุนเงินทดแทนความเจ็บป่วยอันเนื่องมาจากการทำงาน

Downloads

Published

2020-01-08

Issue

Section

Research article