Food Consumption Behavior and Factors Affecting Nutritional Status of Elderly in Muang District, Loei Province

Authors

  • วันเพ็ญ นาโสก Nutrition for Health Program, Khon Kaen University
  • ณิตชาธร ภาโนมัย Faculty of Public Health, Khon Kaen University

Keywords:

food consumption behavior, nutritional status, elderly, พฤติกรรมการบริโภคอาหาร, ภาวะโภชนาการ, ผู้สูงอายุ

Abstract

                  This cross-sectional descriptive study is to describe food consumption behavior, and determine the factors affecting the nutritional status of the elderly in Muang District, Loei Province. Ninety-six elderly were quantitative data were collected by means of interviews. Data were analyzed using descriptive statistics. Association was determined using Chi-square test or Fisher's exact test.

                The results of the study indicated that the percentages of the elderly people consumed daily fish sauce, salt, sticky rice, pickled fish, seasoning powder, monosodium glutamate and seasoning sauce were 100.00, 95.80, 93.60, 90.60, 88.50, and 62.50 respectively. Their food consumption behavior was classified as moderate level about 84.40%. Elderly males received their energy distribution from main nutrients, carbohydrates, proteins, and fat were 72.70%, 13.90% and 13.40% respectively. Elderly females received their energy from about mentioned main nutrients was 75.00, 14.40 and 10.60 respectively. Insufficient amount of calcium was found whereas sufficient amounts of vitamin B1, protein, energy, iron, vitamin A and vitamin C were received. From the body mass index (BMI), they were classified into normal nutritional status (39.6%) followed by overweight (25%), and the 1st degree of obesity (25%), respectively. Most of them had also normal waist circumference and obesity were 54.20% and 45.80%.

                 Factors related to the nutritional status of the elderly were gender, age, adequacy of income and expenses, smoking and adequate iron intake (p-valued of .014, .005, .035, <.001 and .002 respectively).

 

                 การวิจัยนี้เป็นการศึกษาเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวาง เพื่อศึกษาพฤติกรรมการบริโภคอาหาร และวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อภาวะโภชนาการของผู้สูงอายุในอำเภอเมือง จังหวัดเลย จำนวน 96 คน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และหาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยที่ส่งผลต่อภาวะโภชนาการ โดยใช้สถิติไคสแควร์ หรือ Fisher's exact test

                 ผลการศึกษา พบว่าผู้สูงอายุส่วนใหญ่บริโภคน้ำปลา เกลือ ข้าวเหนียว ปลาร้า ผงปรุงรส ผงชูรส และซอสปรุงรสทุกวัน ร้อยละ 100.00, 95.80, 93.60, 90.60, 88.50, และ 62.50 ตามลำดับ มีพฤติกรรมการบริโภคอาหารโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 84.40 อัตราส่วนการกระจายพลังงานจากสารอาหารหลักที่เพศชายได้รับจากสารอาหารคาร์โบไฮเดรต, โปรตีน, ไขมัน คิดเป็นร้อยละ 72.70, 13.90 และ 13.40 ตามลำดับ เพศหญิงได้รับพลังงานจากสารอาหารดังกล่าว ร้อยละ 75.00, 14.40, 10.60 ตามลำดับ ได้รับปริมาณแคลเซียม ไม่เพียงพอทั้งเพศหญิงและเพศชาย ได้รับวิตามินบีหนึ่ง เพียงพอ ได้รับพลังงาน โปรตีน เหล็ก วิตามินเอ วิตามินซี เกินพอ จากการประเมินค่าดัชนีมวลกาย (BMI) ทั้งเพศหญิงและเพศชาย พบว่าปกติ ร้อยละ 39.60 รองลงมามีภาวะโภชนาการท้วม และอ้วนระดับ 1 เท่ากัน ร้อยละ 25.00 ตามลำดับ เส้นรอบเอวปกติ ร้อยละ 54.20 รองลงมามีภาวะอ้วนลงพุง ร้อยละ 45.80

                 ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะโภชนาการของผู้สูงอายุอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติคือ เพศ อายุ ความเพียงพอของรายได้กับค่าใช้จ่าย การสูบบุหรี่ และการได้รับปริมาณเหล็ก (p-values .014, .005, .035, <.001, .002 ตามลำดับ)

 

Downloads

Published

2020-01-08