รูปแบบการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมและการพัฒนาคุณค่าความหลากหลายทางชีวภาพของเครือข่ายปราชญ์ชาวบ้านภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

Authors

  • ธวัชชัย เพ็งพินิจ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต
  • พรทวี พลเวียงพล เทศบาลเมืองหนองคาย อำเภอเมือง จังหวัดหนองคาย
  • พิมพ์ชนก วัดทอง 214 หมู่ที่ 14 ตำบลหนองกบ อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี

Keywords:

สิ่งแวดล้อม, ความหลากหลายทางชีวภาพ, ปราชญ์ชาวบ้าน, ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, environmental, biodiversity, local philosopher, northeast

Abstract

งานวิจัยนี้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสม เพื่อศึกษา ทดสอบ และประเมินผลรูปแบบการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมและการพัฒนาคุณค่าความหลากหลายทางชีวภาพของเครือข่ายปราชญ์ชาวบ้านภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 12 เครือข่าย กลุ่มเป้าหมายประกอบด้วย ปราชญ์ชาวบ้าน เกษตรกรต้นแบบ ผู้เชี่ยวชาญ และเกษตรกรจากศูนย์ประสานงานองค์การชุมชนจังหวัดหนองคาย ระยะเวลา 12 เดือน จากการวิจัย พบว่า รูปแบบการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมและการพัฒนาคุณค่าความหลากหลายทางชีวภาพ ประกอบด้วย ปรับเปลี่ยนแนวคิด เน้นเกษตรประณีต (ทาตามกาลังเริ่มจากเล็กไปหาใหญ่ ใช้พื้นที่ให้คุ้มค่าทั้งใต้ดิน-บนดิน-บนอากาศ ปลูกทุกอย่างที่กิน-กินทุกอย่างที่ปลูก-เหลือกินแจก-เหลือแจกขาย ลดรายจ่ายสร้างรายรับ สร้างปัจจัย 4 เมื่อสำเร็จพื้นที่หนึ่งจึงขยายสู่พื้นที่ใหม่) สร้างหลักสูตรเรียนรู้ สร้างประสบการณ์ตรง มุ่งสู่การพึ่งตนเองและพึ่งพากันเอง การทดสอบและประเมินผล พบว่า ผลสัมฤทธิ์มีค่าคะแนนเฉลี่ยหลังการทดสอบสูงกว่าก่อนการทดสอบ 4.03 คะแนน มีระดับความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก (\inline \bar{X} =4.16, S.D. = 0.77)

 

A model of the environmental management and development of the biodiversity of the local philosopher networks in the Northeast

This research employed mixed methodologies to investigate, test and evaluate the model of environmental management and biodiversity development of 12 local philosopher networks in northeastern Thailand. The target group comprises local philosophers, archetypal farmers, experts and farmers from Nong Khai Community Network Center. The research lasted 12 months. The results show that the model of environmental management and biodiversity development comprises changing concepts, emphasizing on delicate farming (including moderate work; from small to large; efficient land use for under, on and above the ground; growing all you eat and eating all you grow; giving what’s left from eating and selling what’s left from giving; less expenses-more income; acquiring four basic needs, expanding one after another area), making curricula, hands-on experiences, self-reliance and inter-dependence. The testing and evaluating of the model indicate that the average score after learning was 4.03 points higher than that before learning. The satisfaction was high (\inline \bar{X} =4.16, S.D.= 0.77).

Downloads