การพัฒนาการจัดการความรู้ทางการตลาดเกษตรอินทรีย์ของกลุ่มเกษตรกร ในตำบลมะค่า อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม

Authors

  • วงศ์พัฒนา ศรีประเสริฐ วิทยาลัยกฎหมายและการปกครอง มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม

Keywords:

เกษตรอินทรีย์, กลยุทธ์ทางการตลาด, การจัดการความรู้, การตลาดเกษตรอินทรีย์, กลุ่มเกษตรกร, organic agriculture, marketing strategy, knowledge management, organic agriculture marketing, farmer group

Abstract

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาบริบทของตลาดเกษตรอินทรีย์เกี่ยวกับสภาพและปัญหาของกลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกผักปลอดสารพิษบ้านใคร่นุ่น 2) เพื่อวิเคราะห์กลยุทธ์ทางการตลาดเกษตรอินทรีย์ของกลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกผักปลอดสารพิษบ้านใคร่นุ่น 3) เพื่อศึกษาการจัดการความรู้ทางการตลาดเกษตรอินทรีย์ของกลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกผักปลอดสารพิษบ้านใคร่นุ่น และ 4) เพื่อพัฒนาการจัดการความรู้ทางการตลาดเกษตรอินทรีย์ของกลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกผักปลอดสารพิษบ้านใคร่นุ่น ตำบลมะค่า อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม ซึ่งผู้วิจัยได้ทาการศึกษาเก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์จากกลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 106 ราย โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมเพื่อประมวลผล/สังเคราะห์ผลการวิจัย

ผลการวิจัยพบว่า

สมาชิกกลุ่มฯ ต้องประสบกับสภาพและปัญหาทางการตลาดเกษตรอินทรีย์กันเป็นส่วนใหญ่ ด้วยเหตุผลที่ว่า ไม่สามารถที่จะกำหนดราคาขายได้เอง

สมาชิกกลุ่มเกษตรกรฯ ผลิตและจาหน่ายถั่วฝักยาว มะเขือ ข้าวโพด แตงกวาและพริก โดยจัดทาในรูปบรรจุภัณฑ์ภายใต้ตราสินค้ากลุ่มปลูกผักปลอดสารพิษบ้านใคร่นุ่น โดยฉลากระบุข้อความไว้ว่า “ไม่ใช้สารเคมี ไม่ใช้ยาฆ่าแมลง” ส่วนใหญ่แล้วเน้นการขายส่งให้แก่พ่อค้าคนกลางโดยมารับซื้อถึงหมู่บ้าน โดยจะถูกกดราคาพืชผลลงเกือบทุกชนิดประมาณกิโลกรัมละ 10-15 บาท

ส่วนใหญ่แล้วนิยมใช้ปุ๋ยหมักสดในการปลูก จนได้รับความนิยมจากกลุ่มผู้บริโภคในวงที่กว้างมากขึ้น ทำให้ทางกลุ่มมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นจนสามารถพึ่งพาตนเองได้ แต่บางคนยังใช้ปุ๋ยเคมีในการทาการเกษตรอยู่บ้างบางส่วน ซึ่งอาจกลายเป็นอุปสรรคของผลิตภัณฑ์ของบ้านใครนุ่นเองในระยะยาว ดังจะเห็นได้จากการขาดอำนาจในการต่อรองราคาจาหน่าย ทาให้ได้ผลตอบแทนต่ำไม่คุ้มกับต้นทุนเท่าที่ควร

ผลการพัฒนาการจัดการความรู้ทางการตลาดเกษตรอินทรีย์ของกลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกผักปลอดสารพิษบ้านใคร่นุ่น ก็คือ สมาชิกกลุ่มฯ ควรที่จะมีการเรียนรู้ในการที่จะอยู่ร่วมกันกับวิถีการผลิตพืชผลโดยปราศจากสารพิษ โดยเป็นผู้ปลูกที่มีจริยธรรมและความรับผิดชอบต่อผู้บริโภคและสังคม

 

Knowledge management development on organic agriculture marketing of farmer group, Makha sub-district, Kantharawichai district, Maha Sarakham province

This research aimed to 1) study current conditions and problems of agricultural organic marketing of farmer groups who grew organic vegetables in Khrainun village, Makha Sub-District, Kantara Wichai District, Mahasarakham Province, 2) analyze agricultural organic marketing strategies of the farmer groups in Khrainun village, Makha Sub-District, 3) investigate agricultural organic marketing knowledge management of the farmer groups in Khrainun village, and 4) develop knowledge management of organic agriculture marketing for the farmer groups. The data were collected by interviewing 106 participants from farmers and the government sectors. The participatory action research was employed for data collection and data analysis of agricultural organic marketing strategies, and knowledge management.

The qualitative research results were found as follows :

The group members have to mostly suffer with condition and problem of agricultural organic marketing; for that reason, inability to set prices themselves.

Regarding the analysis of agricultural organic marketing strategies, the study showed that the farmers planted cowpea, eggplant, corn, cucumber, and chili and packed the vegetables with an organic label. The findings showed that the farmers encountered the problems of quality and insufficiency of vegetables for consumption and sale. In case of the price of vegetables, the farmers could not control the price, and they directly sold the vegetables to the middlemen with the low prices: about 10-15 baht per kilogram of all vegetables.

Regarding marketing knowledge management, the research findings showed that most of the farmers used organic fertilizer to grow vegetables. As a result, the organic vegetables are very popular for consumers. Selling organic vegetables provides better life of the farmers. However, some farmers use chemical fertilizer in farming which will create a negative impact of the products in long-term. The study showed that the farmer learned and recognized that they produced high cost products, but they sold their products at a low price under circumstance of the serious marketing competition.

In conclusion, the study suggests that the farmers in Khrainun village should learn more regarding organic agriculture marketing and organic vegetables for the better life of both the farmers and consumers.

Downloads