การพัฒนาทักษะพื้นฐานการเต้นแอโรบิกสำหรับนักศึกษาวิชาเอกพลศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย

Authors

  • นพพร แก้วมาก สาขาวิชาพลศึกษา และสาขาวิชาวิทยาศาสตร์การกีฬา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย

Keywords:

ทักษะพื้นฐานการเต้นแอโรบิก, แบบประเมินค่าทักษะพื้นฐานการเต้นแอโรบิก, aerobics dance basic movement skills, rating scale of aerobics dance basic movement skills

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาทักษะพื้นฐานการเต้นแอโรบิกสำหรับนักศึกษาวิชาเอกพลศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย และสร้างแบบประเมินค่าทักษะพื้นฐานการเต้นแอโรบิกสำหรับนักศึกษาวิชาเอกพลศึกษา ผู้วิจัยหาค่าความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา(content validity) โดยการพิจารณาจากผู้เชี่ยวชาญจำนวน 5 ท่าน ด้วยวิธีของ Rovinelli และHambleton หาความเชื่อถือได้ (reliability) โดยวิธีทดสอบซ้ำ (test – retest method) หาค่าความเป็นปรนัย (objectivity) โดยผู้ประเมินค่าจำนวน 3 ท่าน และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน หาค่าความแตกต่างของคะแนนก่อนและหลังใช้แบบประเมิน โดยการทดสอบที (t-test)

ผลการวิจัยพบว่า แบบประเมินค่าทักษะพื้นฐานการเต้นแอโรบิกสำหรับนักศึกษาวิชาเอกพลศึกษา คณะ ครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย มีความเที่ยงตรงเชิงเนื้อระหว่าง .80 – 1.00 อยู่ในเกณฑ์ดีมาก ค่าความเชื่อถือได้ระหว่าง .72 – .92 อยู่ในเกณฑ์ดี ค่าความเป็นปรนัยระหว่าง .80 – .91 อยู่ในเกณฑ์ดี เช่นเดียวกัน และคะแนนหลังใช้แบบประเมินสูงกว่าก่อนใช้แบบประเมินอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

สรุปได้ว่าแบบประเมินค่าทักษะพื้นฐานการเต้นแอโรบิกสำหรับนักศึกษาวิชาเอกพลศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นมีความเหมาะสมได้มาตรฐาน สามารถนาไปใช้ประเมินและพัฒนาทักษะพื้นฐานการเต้นแอโรบิกได้

 

The development on aerobics dance basic movement skills for physical education students, Faculty of Education, Loei Rajabhat University

The purposes of this study were: to develop the aerobics dance basic skills for physical education students, Faculty of Education, Loei Rajabhat University, and to assess the aerobics dance basic skills for physical education students. The content validity of the test was evaluated by 5 experts and used the Rovinelli and Hambleton method. The test – retest method was used to determine the reliability. The objectivity was judged by 3 evaluators and the data was analyzed by Pearson correlation coefficients. And the t-test significance was used for pre score and post score.

The results indicated that the content validity was between .88 – 1.0 while the reliability was between .72 – .92 and the objectivity was between .80 – .91. It showed that the developed test quality was the satisfactory ones. And post score was statistically significant at .01 level.

It concluded that the construction rating scales of aerobic dance basic movement skills possessed satisfactory quality which can be applied to physical education students, Faculty of Education, Loei Rajabhat University, and can be used to evaluate as well as develop physical education students on aerobics dance basic movement skills.

Downloads