ความร่วมมือของภาครัฐและภาคเอกชนในการฟื้นฟูผลกระทบ จากมหาอุทกภัยในเขตนิคมอุตสาหกรรมภาคกลาง

Authors

  • เฉลิมพร สีโสภา คณะรัฐประศาสนศาตร์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
  • ไพโรจน์ ภัทรนรากุล คณะรัฐประศาสนศาตร์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

Keywords:

ความร่วมมือ, การฟื้นฟูผลกระทบ, เขตนิคมอุตสาหกรรมภาคกลาง, cooperation, recovering disaster, central industrial estate area

Abstract

การศึกษาวิจัยมีวัตถุประสงค์ดังต่อไปนี้ (1) ศึกษาผลกระทบจากมหาอุทกภัยต่อนิคมอุตสาหกรรม (2) ศึกษานโยบายและมาตรการของรัฐบาลในการฟื้นฟูผลกระทบจากมหาอุทกภัย (3) สำรวจความคิดเห็นของ ผู้บริหาร/ ตัวแทน นิคมอุตสาหกรรม ต่อการฟื้นฟูผลกระทบจากภาครัฐ และ (4) เสนอแนะแนวทางการส่งเสริม ความร่วมมือ ของภาครัฐและภาคเอกชนในการฟื้นฟูผลกระทบจากมหาอุทกภัย วิธีการศึกษาใช้แนวทางการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยทำการศึกษา จากการค้นคว้าผ่านเอกสาร และการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก (in-depth interview) ผู้บริหาร/ ตัวแทน จากบริษัทผู้พัฒนานิคมอุตสาหกรรม ผลการศึกษาพบว่า จากสถานการณ์ภัยพิบัติรุนแรงของประเทศไทยในปี 2554 ก่อให้เกิดความเสียหายแก่ประเทศไทยเป็นอย่างมาก ประชาชนได้รับความเดือดร้อน ภาคอุตสาหกรรมได้รับความเสียหายกระทบต่อเศรษฐกิจ หากย้อนกลับไปประชาชนชาวไทยต้องสูญเสียชีวิตเพราะเหตุการณ์ภัยพิบัติมากแล้วหลายครั้ง หากพิจารณาจากศักยภาพของหน่วยงานความรู้ของนักวิชาการ และความสามารถของทุกภาคส่วน ของประเทศไทยแล้วนั้นมีความพร้อมที่จะรับมือกับภัยพิบัติครั้งนี้ได้ แต่ทาไมถึงเกิดเหตุการณ์แบบนี้ขึ้น ดังนั้นรัฐบาลในฐานะที่เป็นตัวกลางในการบริหารประเทศนี้ ต้องประสานความร่วมมือกับภาคประชาสังคม อาสาสมัคร และสื่อมวลชน ให้เข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการ ให้ความช่วยเหลือทุกอย่างที่พอจะทาได้เพื่อให้ภัยพิบัตินั้นๆ ผ่านไปโดยให้เกิดความเสียหายน้อยที่สุด เช่น ให้ภาคประชาสังคม อาสาสมัคร และสื่อมวลชน ลงพื้นที่เพื่อหาทางออกและทาข้อเสนอถึงภาครัฐ การตรวจสอบด้านเทคนิควิเคราะห์ข้อมูลให้แก่สื่อมวลชน หรือการให้คำปรึกษาแก่คนในชุมชน

 

The cooperation between public and private sector for recovering flood disaster effect in central industrial estate area.

The purposes of this study were to; (1) examine the influence of an enormous flood disaster on central industrial estate area, (2) study the government policy for recovering the effect of this disaster, (3) investigate the industrial executives’ and administrators’ attitude towards the recovering after the flood disaster of public sector, and (4) enhance more cooperative between public and private sectors. Qualitative research was applied in this study by using documentary study and in-depth interview the executives and administrator of the industrial estate which were effected by flood disaster. The results indicated that the flood disaster in 2011 caused tremendous damage in Thailand. People suffered from the disaster and the private sectors were effected by economic damage. In the past, some of Thai citizens passed away from the disaster many times when it happened. However, considering the capability of the public sectors and the knowledge of scholars in Thailand, they had the readiness to cope with this disaster but why they were not able to handle it. Thus, on behalf of intermediary, Thai government should cooperate among civil societies, private sectors, volunteers, and public media sectors to help manage and prevent the least of flood diaster effect. For example, civil societies, volunteers and public media should survey the crisis areas and propose the government of monitoring technical analysis and the whole process of management for public media sectors or local community counseling.

Downloads