การวิจัยและพัฒนาศิลปะการแสดงท้องถิ่นของจังหวัดเลย โดยกระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม

Authors

  • ชมภูนาฏ ชมภูพันธ์ สาขาวิชาศิลปศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย
  • สรินทร คุ้มเขต สาขาวิชาศิลปศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย
  • จุฑาภรณ์ จันทบาล สาขาวิชาศิลปศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย

Keywords:

ศิลปะการแสดง, การแสดงท้องถิ่น, จังหวัดเลย, Performing arts, traditional performances, Loei province

Abstract

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาองค์ความรู้ และภูมิปัญญาด้านศิลปะการแสดงท้องถิ่นในจังหวัดเลย 2) พัฒนารูปแบบศิลปะการแสดงท้องถิ่นของจังหวัดเลย และ 3) ถ่ายทอดศิลปะการแสดงท้องถิ่นของจังหวัดเลย กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ปราชญ์ท้องถิ่น และครูผู้สอนนาฏศิลป์ในเขตจังหวัดเลย พื้นที่ในการวิจัย ได้แก่ อำเภอเอราวัณ อำเภอปากชม อำเภอนาแห้ว และอำเภอเชียงคาน ผลการวิจัยมีดังนี้

1) ศิลปะการแสดงท้องถิ่นของจังหวัดเลย มีทั้งแบบดั้งเดิม และมีผู้ประดิษฐ์ สร้างสรรค์ขึ้นใหม่ ทั้งการแสดงเป็นเรื่องราว และการฟ้อนราในงานบุญประเพณี พิธีกรรม และใช้แสดงในโอกาสต่างๆ

2) การพัฒนารูปแบบศิลปะการแสดงท้องถิ่นของจังหวัดเลย มีขั้นตอนการดำเนินงาน ดังนี้ (1) กาหนดขอบเขตด้านพื้นที่ (2) กาหนดแนวคิดของชุดการแสดง (3) กาหนดองค์ประกอบของการแสดง (4) การออกแบบท่ารำและการแปรแถว และ (5) ทดลองปฏิบัติการแสดง ได้ชุดการแสดง 4 ชุด ได้แก่ ฟ้อนแอ่วถ้า ฟ้อนบูชาพระธาตุดินแทน ฟ้อนผาสาดศรีเชียงคาน และเซิ้งแก่งลาโขง

3) การถ่ายทอดศิลปะการแสดงท้องถิ่นของจังหวัดเลย พบว่า (1) แนวคิดของการแสดงเป็นเอกลักษณ์ของท้องถิ่นที่สัมพันธ์กับการท่องเที่ยว (2) ด้านรูปแบบการแสดง ดนตรีและเพลงร้องเข้ากับแนวคิดของชุดการแสดง เนื้อร้องสื่อความหมายชัดเจน ลีลาของเพลงเหมาะสมกับท่ารำ การแต่งกายออกแบบได้เหมาะสม การออกแบบท่ารำสื่อความหมายได้ดี มีการเชื่อมท่ารำได้กลมกลืนกันตลอดการแสดง และการแปรแถวของแต่ละชุดการแสดงทาให้เกิดความน่าสนใจ

 

Research and Development of Loei Traditional Performing Arts through Participatory Action Research

This research purposes were 1) to study knowledge and wisdom of traditional performing arts in Loei Province, 2) to develop forms of traditional performing arts of Loei province, and 3) to pass on traditional performing arts of Loei province. The participants of this study were the local scholars and the performing arts teachers in Erawan, Parkchom, Na-heo, and Chaingkhan districts. The findings were as follows:

1) The traditional performing arts of Loei province were in both original and creatively invented forms. They included serial story performances, dancing in religious, festival, and ritual events and they were also displayed on various auspicious occasions.

2) The development of the forms of traditional performing arts of Loei province was organized into 5 stages including (1) specification of the studying area (2) concept specification of performing set (3) specification of performing composition (4) creation of dancing postures and variation of dancing rows, and (5) trial of the performance which was resulted in 4 dancing sets, namely Foneawchomthum, Fonbuchupratarddintan, Seangloyphasard, and Saengkanglamkhong.

3) Concerning the passing of Loei traditional performing arts, it was found that (1) concept specification of performances harmonious with the local tourism was the local identity and (2) for performing patterns, music and songs were set accordingly with performing concept; the lyrics were clearly meaningful; the melody of the songs suited the dancing patterns; the costumes were appropriately designed; the dancing patterns were meaningful and smoothly arranged though out the performance; and the variation of dancing rows of each set of performance aroused audience’s interests.

Downloads