การวางแผนการตลาด เพื่อธุรกิจแก่นตะวันของไร่พนิดา อำเภอชุมแพ จังหวัดขอนแก่น

Authors

  • พนิดา ปานเพชร วิทยาลัยบัณฑิตศึกษาการจัดการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • ธีระ ฤทธิรอด คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

Keywords:

วางแผนการตลาด, แก่นตะวัน, ขอนแก่น, marketing planning, jerusalem artichoke, Khon Kaen

Abstract

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาพฤติกรรมผู้บริโภคและปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเลือกซื้อผลิตภัณฑ์แก่นตะวัน 2) วางแผนการตลาด เพื่อธุรกิจแก่นตะวันของไร่พนิดา อำเภอชุมแพ จังหวัดขอนแก่น โดยใช้แบบสอบถาม 400 ชุด ผลการศึกษา พบว่า ผู้บริโภคส่วนมากไม่รู้จักแก่นตะวัน และไม่เคยทานแก่นตะวัน เมื่อวิเคราะห์สถานการณ์ พบว่า จุดแข็ง คือ สรรพคุณของแก่นตะวันมีมากมาย จุดอ่อน คือ ยังไม่เป็นที่รู้จัก โอกาส คือ ปัจจุบันผู้คนหันมาดูแลและใส่ใจอาหารรักษาสุขภาพกันมากขึ้น อุปสรรคหรือภัยคุกคาม คือ อนาคตอาจมีคู่แข่งเพิ่มขึ้นมาก และสภาวะทางเศรษฐกิจ ผู้ศึกษาได้กำหนดวิสัยทัศน์ พันธกิจ กำหนดวัตถุประสงค์ทางการตลาด เป้าหมายธุรกิจ เป้าหมายระยะสั้นภายใน 1 ปี เป้าหมายระยะกลางภายใน 3-5 ปี เป้าหมายระยะยาวภายใน 5 ปีขึ้นไป กลุ่มลูกค้าเป้าหมาย คือ กลุ่มลูกค้าทั่วไป และกลุ่มนิติบุคคล ปัจจัยที่ทำให้เกิดการซื้อสิ่งที่ลูกค้าต้องการ ประโยชน์ ที่ลูกค้าได้รับ การกาหนดแนวทางการตลาด มีดังนี้ ด้านผลิตภัณฑ์ คือ ผลิตภัณฑ์ที่ขายจะเป็นแก่นตะวันหัวสด ด้านราคา ด้านการจัดจาหน่าย ด้านการส่งเสริมการตลาด ด้านการขายโดยใช้พนักงานขาย ด้านกระบวนการให้บริการ มีการจัดทำแผนการดาเนินงานในด้านต่างๆ คือ ด้านผลิตภัณฑ์ ด้านราคา ด้านช่องทางการจัดจาหน่าย ด้านการส่งเสริมการตลาด ด้านบุคคลหรือพนักงาน ด้านกระบวนการให้บริการ ด้านลักษณะทางกายภาพ ใช้เงินลงทุนเริ่มต้น 200,000 บาท จากการปลูก 2 ไร่ ซึ่งได้ผลผลิต ไร่ละประมาณ 2,800-3,200 กิโลกรัมต่อ 1 รอบการเก็บเกี่ยว โดยเก็บผลผลิตทุกๆ 4 เดือน และใน 1 ปี จะเก็บผลผลิตได้ 3 ครั้ง ราคาขายเฉลี่ยที่ 150-200 บาทต่อกิโลกรัม ซึ่งมีความเชื่อมั่นว่า หากทาโครงการดังกล่าว โดยคาดว่าจะสามารถทายอดขายได้ 600,000 บาทในปีแรก

 

Marketing planning of jerusalem artichoke product for Panida farm in Chumhpae district, Khon Kaen province

This study aimed to 1) study consumer behaviors and marketing factors that influence the decision to purchase the Jerusalem Artichoke products; 2) make marketing plan for the Jerusalem Artichoke products of Panida Jerusalem Artichoke farm, Chumpae district, Khon Kaen Province. The data were collected from 400 samples using a questionnaire. It was found that most consumers did not know and had never eaten Jerusalem Artichoke products. According to the situational analysis, it was found that Jerusalem Artichoke products had a number of high qualities; however, the weakness was the unfamiliarity of Jerusalem Artichoke products to the consumers. The increase of the number of consumers who concerned about their health was the opportunity of the Jerusalem Artichoke products, while the increased number of the market competitors and the economic situation were the threats. The researcher set a schedule of vision, mission, marketing objectives, and the business goal as follows: one year as a short - term goal, three to five years as an intermediate range goal, up to five years as a long term goal. The target customers were individual customers and corporations. The factors that contributed to the purchase were the benefits that the customers received. The marketing strategy involved products, fresh Jerusalem Artichoke, prices, distribution, marketing promotion, sales by representatives. For the service, the operational plans covered products, prices, distribution channels, marketing promotion, personnel, service process, and physical appearance. The budget of initial investment for about 488 square meters of Jerusalem Artichoke plantation was 200,000 baht, and the investment resulted in about 2,800 - 3,200 kilograms for a harvest. A harvest was done once in every 4 months; therefore, the Jerusalem Artichoke plant was harvested 3 times a year. The average price was 150-200 baht a kilogram. It was believed that the project was expected to reveal 600,000 baht in the first year of plantation.

Downloads