การพัฒนาชุดการเรียนแบบสื่อประสม เรื่อง การใช้โปรแกรมสำเร็จรูปในการวิเคราะห์ข้อมูลสาหรับการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ ของนักศึกษาหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต : กรณีศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย

Authors

  • อนุภูมิ คำยัง สาขาวัดและประเมินผลการศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย

Keywords:

ชุดการเรียนแบบสื่อประสม, การใช้โปรแกรมสำเร็จรูปในการวิเคราะห์ข้อมูลสำหรับการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้, multi-media, using software in analyzing data for the research and development

Abstract

การวิจัยในครั้งนี้มีความมุ่งหมายสำคัญเพื่อหาประสิทธิภาพของชุดการเรียนแบบสื่อประสม เรื่อง การใช้โปรแกรมสำเร็จรูปในการวิเคราะห์ข้อมูลสำหรับการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ และเพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระหว่างก่อนและหลังการเรียนรู้ในแต่ละหน่วยการเรียนรู้ และในภาพรวม โดยใช้ชุดการเรียนแบบสื่อประสม กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ คือ นักศึกษาระดับปริญญาตรี ชั้นปีที่ 3 หลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2553 จำนวน 1 ห้องเรียน โดยได้มาจากการเลือกตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive sampling) โดยอาศัยกลยุทธ์สำหรับการได้มาซึ่งกลุ่มเป้าหมายจากการเลือกกรณีเป็นไปตามสภาพปกติ (Typical – case sampling) เป็นกลุ่มทดลองที่เรียนโดยใช้ชุดการเรียนแบบสื่อประสม จำนวน 15 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือชุดการเรียนแบบสื่อประสม แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุดการเรียนแบบสื่อประสมแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่อง การใช้โปรแกรมสำเร็จรูปในการวิเคราะห์ข้อมูลสำหรับการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ ก่อนและหลังเรียนในแต่ละหน่วยการเรียน ซึ่งมีพิสัยความยากอยู่ระหว่าง 0.37-0.80 พิสัยของค่าอำนาจจาแนกอยู่ระหว่าง 0.20 – 0.87 ในหน่วยการเรียนรู้ที่ 1 – 5 มีค่าความเชื่อมั่นของแบบทดสอบทั้งฉบับเท่ากับ 0.73, 0.74, 0.76, 0.73 และ 0.77 ตามลำดับ และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติทดสอบวิลคอกซันจับคู่เครื่องหมายตำแหน่ง (The Wilcoxon Matched Pairs Signed – Ranks Test)

ผลการวิจัยพบว่า

การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในเนื้อหาเรื่อง การใช้โปรแกรมสำเร็จรูปในการวิเคราะห์ข้อมูลสำหรับการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ ระหว่างก่อนและหลังเรียนโดยใช้ชุดการเรียนแบบสื่อประสม ในแต่ละหน่วยการเรียนรู้ทั้ง 5 หน่วยการเรียนรู้ พบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาหลังการเรียนด้วยชุดการเรียนแบบสื่อประสมสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 และในภาพรวมพบว่าผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาหลังการเรียนด้วยชุดการเรียนแบบสื่อประสม เรื่อง การใช้โปรแกรมสำเร็จรูปในการวิเคราะห์ข้อมูลสำหรับการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ สูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 นั่นคือ การเรียนรู้ด้วยชุดการเรียนแบบสื่อประสม เรื่อง การใช้โปรแกรมสำเร็จรูปในการวิเคราะห์ข้อมูลสำหรับการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ ทาให้นักศึกษามีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น

 

The instructional package development under the issue of using software in analyzing data for the research and development in student’s learning under the bachelor of education curriculum : a case study of faculty of education, Loei Rajabhat university

This study was mainly aimed to evaluate the efficiency of multi-media under the issue of using software in analyzing data for the research and development in student’s learning and to compare pre-learning and post-learning achievement of students in each and overall learning units using multi-media. The population (target group) used in this study included one class of the third-year students under the Bachelor of Education Curriculum, Faculty of Education, Loei Rajabhat University, during the academic year 2010, semester 1, by means of purposive sampling. Typical-case sampling was used as the strategy to obtain 15 students as the target group for the experiment to evaluate the learning achievement of students. The instruments used for evaluating the learning achievement of students were multi-media, learning management using multi-media, pre-tests and post-tests to assess the learning achievement under the issue of using software in analyzing data for the research and development in student’s pre- and post-learning in each learning unit with the difficult ranges of 0.37-0.80, discrimination ranges of 0.20-0.87 in the learning units 1-5. The reliability was 0.73, 0.74, 0.76, 0.73 and 0.77, respectively Data analysis was performed using The Wilcoxon Matched Pairs Signed – Ranks Test.

The findings showed that:

The comparison of learning achievement under the issue of using software in analyzing data for the research and development in student’s learning between pre- and post-learning using multi-media in each learning unit (5 learning units included) exhibited a significant increase (p=0.001) in the post-learning achievement of students after using multi-media. Collectively, there was a significant increase (p=0.001) in the post-learning achievement of students after using multi-media under the issue of using software in analyzing data for the research and development, suggesting that learning with multi-media under the issue of using software in analyzing data for the research and development gave rise to the learning achievement of students.

Downloads