การพัฒนาชุดการเรียนด้วยตนเอง เรื่อง อันตรายจากสภาพแวดล้อมในการทำงาน และการป้องกัน ของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 สาขาสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย

Authors

  • ณัจฉรียา คำยัง สาขาสาธารณสุขศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฎเลย

Keywords:

ชุดการเรียนด้วยตนเอง, อันตรายจากสภาพแวดล้อมในการทำงานและการป้องกัน, self-learning package, workplace hazard and prevention

Abstract

การวิจัยในครั้งนี้มีความมุ่งหมายสำคัญเพื่อหาประสิทธิภาพของชุดการเรียนด้วยตนเอง วิชาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย เรื่องอันตรายจากสภาพแวดล้อมในการทำงานและการป้องกันเมื่อเทียบกับเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 และเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระหว่างก่อนและหลังการเรียนรู้โดยใช้ชุดการเรียนด้วยตนเอง โดยมีกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ คือ นักศึกษาระดับปริญญาตรี ชั้นปีที่ 1 สาขาสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2553 โดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster random sampling) โดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยในการสุ่มด้วยวิธีจับฉลากเลือก 1 ห้องเรียนเป็นกลุ่มทดลองที่เรียนโดยใช้ชุดการเรียนด้วยตนเอง จำนวน 44 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือ ชุดการเรียนด้วยตนเอง และแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง อันตรายจากสภาพแวดล้อมในการทำงานและการป้องกัน โดยหน่วยการเรียนรู้ที่ 1 – 4 มีพิสัยความยากอยู่ระหว่าง 0.45 -0.79, 0.32 – 0.76, 0.39 – 0.66, และ 0.45 – 0.79 ตามลำดับ พิสัยของค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.32 – 0.53, 0.26 – 0.68, 0.32 – 0.58, และ 0.21 – 0.84 ตามลำดับ มีค่าความเชื่อมั่นของแบบทดสอบทั้งฉบับในแต่ละหน่วยการเรียนรู้ เท่ากับ 0.76, 0.72, 0.74 และ 0.74 ตามลำดับ และวิเคราะห์ข้อมูลจากการทดสอบประสิทธิภาพชุดการเรียนด้วยตนเองตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 โดยการวิเคราะห์ค่าสถิติ t (t – test for One – Sample) และเปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยจากแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังการเรียนในแต่ละหน่วยการเรียนรู้ เพื่อทดสอบสมมติฐาน โดยการวิเคราะห์ค่าสถิติ t (t-test for Dependent Samples) ผลการวิจัยพบว่า

1. การทดสอบประสิทธิภาพชุดการเรียนด้วยตนเองตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 จำแนกตามหน่วยการเรียนรู้ และในภาพรวม พบว่า ชุดการเรียนด้วยตนเอง วิชา อาชีวอนามัยและความปลอดภัย เรื่อง อันตรายจากสภาพแวดล้อมในการทำงานและการป้องกัน ในแต่ละหน่วยการเรียนรู้และภาพรวมมีคะแนนร้อยละจากแบบฝึกหัดระหว่างการทดลองสอน (E1) และจากแบบทดสอบหลังการทดลองสอน (E2) สูงกว่าเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 นั่นคือ ชุดการเรียนด้วยตนเองมีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80

2. การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ในเนื้อหาเรื่อง อันตรายจากสภาพแวดล้อมในการทำงานและการป้องกัน ระหว่างก่อนและหลังเรียนโดยใช้ชุดการเรียนด้วยตนเอง ในแต่ละหน่วยการเรียนรู้ทั้ง 4 หน่วยการเรียนรู้ พบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาหลังการเรียนด้วยชุดการเรียนด้วยตนเองสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และในภาพรวมพบว่าผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาหลังการเรียนโดยใช้ชุดการเรียนด้วยตนเองสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 นั่นคือ การเรียนรู้โดยใช้ชุดการเรียนด้วยตนเอง เรื่อง อันตรายจากสภาพแวดล้อมในการทำงานและการป้องกัน ทาให้นักศึกษามีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น

 

The development of self-learning package in workplace hazard and prevention among first year bachelor of public health students, Loei Rajabhat University

This study aimed to evaluate the effectiveness of the self-learning package for the subject of Occupational Health and Safety under the issue of workplace hazards and prevention, compared to the 80/80 criteria; and to compare the learning achievement between pre- and post-learning by using self-leaning package. The population (target group) used in this study included the first-year bachelor of Public Health students, Loei Rajabhat University, during the academic year 2010, semester 1, were selected by means of Cluster Random Sampling, and were selected by means of drawing lots to randomly select one classroom as an experimental group to use self-learning package, 44 students were included. The tools used in the study included self-learning package and the test to determine learning achievement under the issue workplace hazards and prevention. The leaning units 1-4 had the ranges of difficulty indexes (P) of 0.45-0.79, 0.32-0.76, 0.39-0.66 and 0.45-0.79, respectively; and possessed those of discriminations of 0.32-0.53, 0.26-0.68, 0.32-0.58 and 0.21-0.84, consecutively. They also had the reliabilities of 0.76, 0.72, 0.74 and 0.74, respectively, for the whole test in each learning unit. Data obtained from the learning achievement test were statistically analyzed based on the 80/80 criteria by means of t-test for One-Sample, together with comparing the average scores from the pre- and post-learning achievement tests obtained from each learning unit in order to test hypothesis by means of t-test for Dependent Samples. The findings showed that:

1. Evaluation of the effectiveness of self-learning package based upon the 80/80 criteria, categorized in learning units and overall image, showed that the self-learning package for the subject Occupational Health and Safety under the issue of workplace hazards and prevention, both in each unit and in overall image, had percentages from the practices during probation period (E1) and from post-test after probation period (E2) is significantly higher than the 80/80 criteria at p < 0.05, suggesting that self-learning package is effective based on the 80/80 criteria.

2. The comparison of learning achievement under the issue of workplace hazards and prevention between pre- and post-learning by using self-learning package in each of 4 learning units exhibited a significant increase (p < 0.05) in the post-learning achievement using self-learning package. Collectively, there was a significant increase (p < 0.05) in the post-learning achievement of students after using self-learning package under the issue of workplace hazards and prevention, suggesting that learning with self-learning package under the issue of workplace hazards and prevention resulted in higher learning achievement of students.

Downloads