การพัฒนารูปแบบการดำรงอยู่ของชาติพันธุ์บรูดงหลวงแบบร่วมสมัย

Authors

  • ประภาศรี วงศ์แสงน้อย นักศึกษาหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขานวัตกรรมเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น มหาวิทยาลัยราชภัฎมหาสารคาม
  • ศักดิ์พงศ์ หอมหวล อาจารย์ประจำสาขานวัตกรรมเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม
  • ทัศนีย์ นาคุณทรง อาจารย์ประจำบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฎมหาสารคาม

Abstract

งานวิจัยเรื่องนี้เป็นนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นทางด้านสังคมมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อพัฒนารูปแบบการดำรงอยู่ของ ชาติพันธุ์บรูดงหลวงแบบร่วมสมัย มุ่งเน้นศึกษา 1) สถานการณ์และปัญหาการดำรงอยู่ของชาติพันธุ์ บรูดงหลวงจากอดีตถึงปัจจุบัน  2) พัฒนากิจกรรมเรียนรู้การดำรงอยู่แบบร่วมสมัย 3) ประเมินผลกิจกรรมการเรียนรู้และคุณลักษณะการดำรงอยู่แบบร่วมสมัย เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed method research) ดำเนินการวิจัย  3 ระยะ กลุ่มเป้าหมายผู้ให้ข้อมูลหลักคือประชาชนในพื้นที่ตำบลดงหลวง  จังหวัดมุกดาหาร จำนวน 100 คน และกลุ่มตัวอย่างที่สมัครใจเป็นต้นแบบการเรียนรู้จำนวน  25 คนเก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์การสังเกตการจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้การสนทนากลุ่ม

ผลการวิจัยพบว่า 1) สถานการณ์การดำรงอยู่ของชาติพันธุ์บรูดงหลวงมีปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้สถาบันทางสังคมอ่อนแอลง มีความเสื่อมถอยทางคุณธรรมจริยธรรม การดำรงอัตลักษณ์ของชาติพันธุ์ถดถอย วัฒนธรรมที่ดีงามอยู่ในภาวะเสี่ยงที่ใกล้จะสูญหาย  2) ชุดกิจกรรมการดำรงอยู่แบบร่วมสมัยของชาติพันธุ์บรูดงหลวง ประยุกต์จากหลักพุทธรรม สัปปายะ 7 มีดังนี้คือ กิจกรรมการพัฒนาทักษะความรู้เพื่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกิจกรรมการศึกษาแหล่งเรียนรู้ที่เป็นประโยชน์แก่ส่วนรวมและต่อตนเอง กิจกรรมการมีส่วนร่วมในกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อส่วนรวมกิจกรรมสร้างจิตสำนึกที่ดีและธำรงไว้ซึ่งวัฒนธรรมอันดีงามของชาติพันธุ์ 3) กลุ่มตัวอย่างมีพฤติกรรมตามคุณลักษณะที่กำหนดอยู่ในระดับดี มีความรู้ทักษะสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการดำเนินชีวิตในทางที่ดีขึ้น มีความพึงพอใจในรูปแบบกิจกรรมการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้นในระดับมาก สามารถนำไปใช้ปฏิบัติให้เกิดผลได้จริง

 

This research is an innovation for local social development. The main purpose was to development model of contemporary ethnic existence  BruDongLuang. The study focused on 1) Study the situation and the existence of ethnic BruDongLuang, from past to present, 2) Development activities to learn of the existence of contemporary, 3) Evaluation of learning activities and features contemporary existence. This  Mixed method research by conducted 3 phase. Target group of 100 were in the primary area of DongLuang sub-district , Mukdahan province. 25 volunteers as a model for learning were .Data collection was conducted by interview, observation, learning the exchanges, focus group.

The research found that.1) The existence of the ethnic BruDongLuang have risk factors that make social institutions weakened and the decline of morality. The existence of an ethnic identity crisis. Cultural pretty good at risk of imminent loss, 2) Activities of the existence of ethnic and contemporary BruDongLuang. The application Buddhist principles “Sappaya 7” with the following. Knowledge development activities for behavior modification, Educational activities resources that are useful to the public and to themselves, Participation in activities that benefit the community, Activities create good awareness and maintain a good culture of ethnicity, 3) The sample has a behavior-based feature set at a good level. With the knowledge, skills, behavior can change in lifestyle for the better. There is satisfaction in learning activities developed on a massive scale. Can be used to perform the actual work.

Downloads

Published

2018-05-31