การใช้หลักอิทธิบาท 4 ต่อการพัฒนาศักยภาพของผู้สูงอายุ อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม

Authors

  • รัชฎากร เอี่ยมอำไพ ภาควิชาสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฎราชวิทยาลัย วิทยาเขตสิรินธรราชวิทยา

Keywords:

การพัฒนาศักยภาพ, อิทธิบาท 4, ผู้สูงอายุ, potential development, Iddhipada 4 (path of accomplishment), elderly people

Abstract

         The objectives of this research were as follows: to study the Iddhipàda 4 (path of accomplishment) on the development potential of the elderly, to compare different factors to take the Iddhipàda 4 (path of accomplishment) on the development potential of the elderly and to propose how to take the Iddhipàda 4 (path of accomplishment) to develop the potential of the elderly. This research is a quantitative research. The study population included Elderly residents in Nakhon Chai Si district, Nakhon Pathom both male and female Aged 60 years and over with a total of 288 people. The instrument used for data collection are questionnaires, and check the quality of research by studying from textbooks, concepts, theories and research or survey research field related to the research sites. The data were analyzed and synthesized to create a query based on the concept of research. The statistics used in this research is descriptive statistics include percentage, mean, standard deviation is used to describe a single table data, and statistical inference and analysis t-test and F-test. The data were analyzed using t-test and F-test statistical significance level set by p = .05 to test hypotheses were defined. The results showed that the elderly Nakhon Chai Si district, Nakhon Pathom has a deep understanding about Iddhipàda 4 (path of accomplishment) overall minimum. The principles (Iddhipàda 4 : path of accomplishment) used to develop the potential of the elderly, Nakhon Chai Si district, Nakhon Pathom, overall in high level of which was based on the assumptions set out. Elderly had practice Iddhipàda 4 (path of accomplishment) on the development of potential in the Citta : thoughtfulness; active thought; dedication) at a high level. Elderly had practice Iddhipàda 4 (path of accomplishment) on the development of potential in the Vimamsà : investigation; examination; reasoning; testing) at a high level, and the hypothesis testing showed that personal factors were age and education level were different and the principles (Iddhipàda 4 : path of accomplishment) used to develop the potential of the elderly, Nakhon Chai Si district, Nakhon Pathom were not different, it was not consistent with the assumptions set. The remaining factors are sex and different professions and the principles (Iddhipàda 4 : path of accomplishment) used to develop the potential of the elderly, Nakhon Chai Si district, Nakhon Pathom with difference was statistically significant at the .05 level, which is consistent with the hypothesis set out.

 

บทคัดย่อ

         บทความวิจัยเรื่องนี้ มีวัตถุประสงค์คือเพื่อศึกษาการใช้หลักอิทธิบาท 4 ต่อการพัฒนาศักยภาพของผู้สูงอายุ เพื่อเปรียบเทียบปัจจัยที่แตกต่างการใช้หลักอิทธิบาท 4 ต่อการพัฒนาศักยภาพของผู้สูงอายุ และเพื่อเสนอแนวทางการใช้หลักอิทธิบาท 4 ต่อการพัฒนาศักยภาพผู้สูงอายุ วิธีดำเนินการวิจัยเลือกแบบเป็นระบบหลายขั้น ประชากรที่ศึกษาได้แก่  ผู้สูงอายุที่อาศัยอยู่ในอำเภอนครชัยศรี  จังหวัดนครปฐม ทั้งเพศชายและเพศหญิงที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป กลุ่มตัวอย่างจำนวน 288 คน ใช้วิธีการเลือกแบบเป็นระบบหลายขั้นเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถาม การสร้างและตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือวิจัยโดยการศึกษาจากตำราวิชาการ แนวคิดทฤษฎี และงานวิจัยเชิงสำรวจ หรืองานวิจัยภาคสนามที่เกี่ยวข้อง สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วย t-test และ F-test ผลการวิจัยพบว่าผู้สูงอายุ อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับอิทธิบาท 4 โดยรวมอยู่ในระดับน้อยที่สุด การใช้หลักอิทธิบาท 4 ต่อการพัฒนาศักยภาพของผู้สูงอายุ อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม โดยรวมอยู่ในระดับมากซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานที่กำหนด และผลการทดสอบสมมติฐานการวิจัย พบว่า ปัจจัยส่วนบุคคล คือ อายุและระดับการศึกษาที่แตกต่างกัน กับการใช้หลักอิทธิบาท 4 ต่อการพัฒนาศักยภาพของผู้สูงอายุ อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม ไม่แตกต่างกัน ซึ่งไม่สอดคล้องกับสมมติฐานที่กำหนดไว้ ส่วนปัจจัยที่เหลือ คือ เพศ และอาชีพที่แตกต่างกัน กับการใช้หลักอิทธิบาท 4 ต่อการพัฒนาศักยภาพ ของผู้สูงอายุ อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ซึ่งสอดคล้องกับสมมติฐานการวิจัยที่กำหนดไว้

 

Downloads

Published

2019-08-07

Issue

Section

Research article