ผลกระทบของการลงทุนภาครัฐต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจและการกระจายรายได้จังหวัดเลย

Authors

  • นิกร น้อยพรม คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย

Keywords:

ผลกระทบ, การลงทุน, ภาครัฐ, เศรษฐกิจ, เศรษฐศาสตร์, impacts, investment, government, economic, economics

Abstract

          The objective of this research was to study the economic impacts of changes in government investment budget on income distribution, and employment in Loei province. Documentary Study approach was used in this research by utilizing secondary data from 1995 to 2016 from associated organizations. Econometrics technique was applied, which consisted of Cointegration, Error Correction Model, Granger Causality, Ordinary Least Square (OLS), and Input-Output Model.  

          The study found that the data used was stationary with the integration order of 2 or I(2) at the significance level of .01 for all three forms including None, Trend and Intercept. This means that all variables could be tested with cointegration to determine long-term relationship. Moreover, the results from the cointegration revealed that disbursement of Loei province’s investment budget had long-run relationship with construction contractors’ taxes in Loei province in the same direction with significance level of .01. For example, when the disbursement of Loei province’s investment budget changed by one unit, the construction contractors’ taxes would alter in the same direction by 0.4013 unit. Production branch had the most impact on Linkages and Loei province’s economy. That is, when the production increased by 1 million baht, the reverse multiplier values or Backward Linkages would cause Loei’s economic system to expand production by increasing factors of production to 1.8166 million baht. Similarly, the multiplier values or Forward Linkages also increased factors of production by 1.4735 million baht. Further, the investment budget disbursement of 4,260.3 million baht resulted in an increase of 4,231.0 million baht in Gross Provincial Product of Loei. When considering income distribution from GPP Per capita occurring from investment budget, it was found that the per-person-per-year income would raise to 7,489 baht. Furthermore, the Gini Index of Loei population was 0.2672. This reflected that this investment budget greatly impacted income distribution in each production branch. Moreover, it also brought about employment of 25,929 people. For instance, every 164,306 baht of investment budget disbursement would lead to an employment of one person. The total employment included 14,728 people in Agricultural sector, 10,759 people in service sector and 442 people in industrial sector.

 

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลกระทบทางเศรษฐกิจที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงงบประมาณรายจ่ายงบลงทุนของรัฐบาลต่อการกระจายรายได้และการจ้างงานในจังหวัดเลย ด้วยวิธีศึกษาจากเอกสาร (Documentary  study) โดยใช้ข้อมูลทุติยภูมิตั้งแต่ปี พ.ศ. 2538 – 2559 จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยประยุกต์ใช้เทคนิคทางเศรษฐมิติ ได้แก่ การประยุกต์ใช้เทคนิคโคอินทริเกรชัน (Cointegration) การทดสอบแบบจําลองเอเรอร์-คอร์เรคชัน (Error correction model) ทดสอบความเป็นเหตุเป็นผล (Granger causality) การวิเคราะห์ OLS (Ordinary Least Square) และแบบจำลองปัจจัยการผลิตและผลผลิต

          ผลการศึกษาพบว่า ข้อมูลที่ใช้ในการวิเคราะห์มีลักษณะนิ่ง (Stationary) ที่ระดับ Order of integration เท่ากับ 59 หรือ I(2) ที่ระดับนัยสำคัญ .01 ทั้ง 3 รูปแบบคือ None , Trend and Intercept และ Intercept นั้น คือสามารถนำตัวแปรทุกตัวไปทำการทดสอบโครอินทริเกรชัน เพื่อหาความสัมพันธ์ในระยะยาวได้  ซึ่งผลการทดสอบความสัมพันธ์เชิงดุลยภาพในระยะยาว  พบว่า  ผลการเบิกจ่ายงบประมาณงบลงทุนของจังหวัดเลย มีความสัมพันธ์ระยะยาวกับภาษีอากรของผู้ประกอบการรับเหมาก่อสร้างจังหวัดเลยในทิศทางเดียวกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยผลการเบิกจ่ายงบประมาณงบลงทุนของจังหวัดเลยเปลี่ยนแปลงไป 1 หน่วย จะทำให้ภาษีอากรของผู้ประกอบการรับเหมาก่อสร้างจังหวัดเลยเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางเดียวกัน 0.4013 หน่วย โดยสาขาที่มีผลการเชื่อมโยงหรือมีผลกระทบต่อเศรษฐกิจจังหวัดมากที่สุดคือ สาขาการผลิตนั้น คือเมื่อสาขาขยายการผลิตเพิ่มขึ้น 1 ล้านบาท ค่าตัวทวีคูณย้อนกลับหรือผลของการเชื่อมโยงไปด้านหลัง (Backward linkages) จะส่งผลให้ระบบเศรษฐกิจของจังหวัดเลยเกิดการขยายการผลิตจากการใช้ปัจจัยการผลิตเพิ่มขึ้น 1.8166 ล้านบาท และหากพิจารณาค่าตัวทวีคูณส่งต่อหรือผลการเชื่อมโยงไปด้านหน้า (Forward linkages)  พบว่า ทำให้ระบบเศรษฐกิจของจังหวัดเลยเกิดการขยายการผลิตจากการใช้ปัจจัยการผลิตเพิ่มขึ้นเป็นมูลค่ารวม 1.4735 ล้านบาท และจากการเบิกจ่ายงบประมาณรายจ่ายงบลงทุน 4,260.3 ล้านบาท สามารถทำให้ผลิตภัณฑ์มวลจังหวัดเลย เพิ่มขึ้น 4,231.0 ล้านบาท เมื่อพิจารณาถึงการกระจายรายได้ของจังหวัดจากผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัดต่อหัว (GPP Per capita) ที่เกิดจากการใช้จ่ายงบประมาณงบลงทุน จะพบว่า ประชากร 1 คน  จะมีรายได้ต่อหัวต่อคนต่อปีเพิ่มขึ้น เท่ากับ 7,489 บาท ค่าสัมประสิทธิ์จีนี่ของประชากรในจังหวัดเลยมีค่าเท่ากับ 0.2672  ซึ่งสะท้อนถึงการใช้จ่ายงบประมาณครั้งนี้ส่งผลให้มีการกระจายรายได้ในพื้นที่ของแต่ละสาขาการผลิตเป็นอย่างมาก นอกจากนั้นแล้วยังก่อให้เกิดการจ้างงาน รวมทั้งสิ้น 25,929 คน ซึ่งการเบิกจ่ายงบลงทุนในจังหวัดเลยทุกๆ 164,306 บาท จะก่อให้เกิดการจ้างงาน 1 คน  โดยเป็นการจ้างงานในภาคเกษตรกรรม จำนวน 14,728 คน  ภาคบริการ จำนวน 10,759 คน และภาคอุตสาหกรรม จำนวน 442 คน

 

Downloads

Published

2019-05-14

Issue

Section

Research article