การจัดการโลจิสติกส์การท่องเที่ยวเชิงนิเวศในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษตาก

Authors

  • พัชรมณฑ์ อ่อนเชด โปรแกรมวิชาเทคโนโลยีการจัดการโลจิสติกส์ คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร

Keywords:

โลจิสติกส์การท่องเที่ยว, เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษตาก, การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ, tourism logistics, Tak special economic development zone, ecotourism

Abstract

งานวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงการให้บริการและการจัดการโลจิสติกส์ด้านการท่องเที่ยวเชิงนิเวศและศึกษาแนวทางการพัฒนาการจัดการโลจิสติกส์ด้านการท่องเที่ยวเชิงนิเวศของเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษตาก เครื่องมือในการทาวิจัยคือแบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ กลุ่มตัวอย่าง คือ นักท่องเที่ยวที่มาใช้บริการในพื้นที่เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษตาก จานวน 384 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการศึกษา พบว่า นักท่องเที่ยวที่เข้ามาท่องเที่ยวมีอายุระหว่าง 20 - 35 ปี มีระดับการศึกษาระดับปริญญาตรี อาชีพ นักเรียน/นักศึกษา และยานพาหนะที่ใช้ในการเดินทางท่องเที่ยว คือ รถส่วนตัว การบริการด้านโลจิสติกส์สาหรับการท่องเที่ยว เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า การบริการด้านโลจิสติกส์สาหรับการท่องเที่ยวมีระดับความพึงพอใจโดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อมีระดับความพึงพอใจน้อยสุด ในเรื่องเส้นทางการเดินทาง ความพร้อมของการบริการอาหารและเครื่อง การบริการสารสนเทศเช่นหมายเลขโทรศัพท์เจ้าหน้าที่ภายในสถานที่ท่องเที่ยว การจัดการโลจิสติกส์ท่องเที่ยวมีระดับความพึงพอใจโดยความอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อมีระดับความพึงพอใจน้อยสุด ในเรื่องของความสะดวกในการใช้บัตรเครดิต การบริการเสริมเช่น การบริการคนชรา เครื่องมือในกรณีฉุกเฉิน ป้ายบอกสถานที่และข้อมูลการท่องเที่ยว การให้คำแนะนา ความรวดเร็วในการเดินทาง ห้องพักของนักท่องเที่ยว ความปลอดภัยในการเดินทาง การมีสินค้าภูมิปัญญาท้องถิ่นที่บริการนักท่องเที่ยว ความคิดเห็นและแนวทางการพัฒนาการจัดการโลจิสติกส์ด้านการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ คือ ทางการพัฒนาด้านปัจจัยส่งเสริมให้บริการท่องเที่ยว เพื่อเพิ่มความสะดวกในการใช้บริการของนักท่องเที่ยว ซึ่งจะส่งผลให้เกิดการไหลเวียนของเม็ดเงินและเพิ่มรายได้ การพัฒนาโดยการจัดจุดศูนย์รวมรถโดยสารประจาทางเพื่อให้บริการแก่นักท่องเที่ยว และการพัฒนาด้านข้อมูลข่าวสารเพิ่ม

 

Ecotourism logistics management in Tak special economic development zone

The purpose of this research are to study the services and management of ecotourism logistics and to find how to improve ecotourism logistics management in Tak Special Economic Development Zone. The research tools are questionnaires and interviews. The samples are 384 tourists in the zone. The data were analyzed by finding frequencies, percentages, averages, and standard deviations.

The study finds that the tourists’ ages range from 20-35 year. They are undergraduate students. Private cars are used for traveling. The overall tourists satisfaction toward the services is high. The leasts satisfied services include travel routes, available foods and beverages, information services such as phone numbers of the staff at the tourist attractions. The overall satisfaction toward the management of ecotourism logistics is high. The least satisfied items include the convenience of using credit card, supplementary services such as facilities for senior citizens, emergency tools, signs and tourist information, tourist suggestions, travel time, accommodations, travel safty, local products availability.

The tourist opinions and suggestions to improve the ecotourism logistics management include providing more facilities to make the tourists more convienient and increase tourism revenues; more bus stations for the tourists; and more tourist information centers.

Downloads