สารานุกรมกรุงธนบุรีฉบับหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ สำหรับเยาวชน

Authors

  • ทองเจือ เขียดทอง คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา
  • ฉลอง สุนทรนนท์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา
  • องอาจ มากสิน คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
  • แสนชัย ลิขิตธีรวุฒิ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
  • ชาคริต เกตุเรืองโรจน์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
  • สมัชชา อภิสิทธิ์สุขสันติ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี

Keywords:

กรุงธนบุรี, ประวัติศาสตร์, ศิลปกรรม, สารานุกรม, หนังสืออิเล็กทรอนิกส์, Dhonburi, history, arts, encyclopedia, e-books

Abstract

การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อพัฒนาองค์ความรู้กรุงธนบุรีไปเป็นสารานุกรมศิลปกรรมฉบับหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ สำหรับเยาวชน 2) เพื่อนาองค์ความรู้กรุงธนบุรีไปพัฒนาเป็นสารานุกรมประวัติศาสตร์ฉบับหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ สำหรับเยาวชน 3) เพื่อเผยแพร่องค์ความรู้ประวัติศาสตร์สมัยกรุงธนบุรีและศิลปกรรมสมัยกรุงธนบุรี และศึกษาความคิดเห็นของเยาวชนในโรงเรียนระดับมัธยมศึกษา ในเขตพื้นที่ธนบุรี ในด้านเนื้อหาและรูปแบบของสารานุกรม ใช้วิธีวิจัยแบบผสมผสาน ทั้งเชิงคุณภาพและปริมาณ โดยการศึกษาจากเอกสาร ภาคสนาม การสนทนากลุ่ม การประชุมเชิงปฏิบัติการ และการศึกษาความพึงพอใจ

ผลการวิจัยพบว่า 1) กรุงธนบุรีเป็นราชธานีอยู่เพียงระยะเวลา 15 ปี ในช่วงนั้นอยู่ระหว่างการสร้างบ้าน แปงเมือง ศิลปกรรมกรุงธนบุรีนั้นถือเป็น “ศิลปกรรมเพื่อชีวิตและบ้านเมือง” ที่ยังคงขนบทำเนียมความเป็นไทย พัฒนาต่อยอดให้แตกต่าง ด้วยข้อจำกัดของเหตุการณ์บ้านเมือง มีความเรียบง่ายตรงไปตรงมา การจัดทำสารานุกรมมีการจัดเรียงคำตามตัวอักษร ที่เกี่ยวกับงานศิลปกรรมสมัยกรุงธนบุรี โดยมี เนื้อหาที่เข้าใจง่ายไม่ซับซ้อน เหมาะสำหรับเยาวชน การออกแบบหนังสือสารานุกรม มีรูปแบบการใช้งานที่ไม่ซับซ้อน อ่านง่าย มีภาพประกอบเป็นภาพนิ่ง และภาพเคลื่อนไหว คำสำคัญยังสามารถเชื่อมโยง ไปยังเนื้อหาที่เกี่ยวข้อง สามารถเผยแพร่ได้ในรูปแบบของแผ่น CD, USB drive หรือดาวน์โหลดผ่านทางเว็บไซต์ 2) การศึกษาองค์ความรู้ประวัติศาสตร์กรุงธนบุรี พบว่า มีเอกสารที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ เอกสารชั้นต้น เอกสารงานวิชาการ และเอกสารเรื่องเล่ากรุงธนบุรี การศึกษาประวัติศาสตร์บุคคล แบ่งเป็น บุคคลก่อนสถาปนากรุงธนบุรี พระราชวงศ์กรุงธนบุรี บุคคลในเหตุการณ์สำคัญกรุงธนบุรี และบุคคลที่เกี่ยวข้องกับประวัติศาสตร์กรุงธนบุรี โดยภาพรวมของบุคคลสมัยนั้น มีความหลากหลายทางชาติพันธุ์ ศาสนา และมุมมอง การออกแบบหนังสือสารานุกรม ดำเนินการจัดทำได้ผลเช่นเดียวกับสารานุกรมศิลปกรรมกรุงธนบุรี 3) การเผยแพร่องค์ความรู้ประวัติศาสตร์และศิลปกรรมสมัยกรุงธนบุรี โดยการจัดประชุมเชิงปฏิบัติการผู้ร่วมสัมมนาเห็นว่าเป็นงานที่มีคุณภาพและมีคุณค่า และศึกษาความคิดเห็นของเยาวชนต่อโครงการสารานุกรมด้านรูปแบบและเนื้อหาพบว่า ในภาพรวมอยู่ในระดับ พึงพอใจมาก

 

E-book Encyclopedia in Dhonburi for youth

The purposes of the study were 1) to create an e-book art encyclopedia for youth 2) to develop an e-book encyclopedia on the history of Dhonburi for youth 3) to publicize Dhonburi history and art including surveying satisfaction of the youth in Dhonburi area towards content and encyclopedia format. This research was a mixed method research employing both qualitative and quantitative methods. The data were collected from documents, field trip, focus group, workshop and satisfaction.

The results revealed that 1) Dhonburi was the capital city of Thailand for 15 years and the city’s infrastructure was built in that time. Dhonburi art, therefore, was “Art for life and country” and conserved in accordance with Thai traditions. However, some were a bit different according to the situations in the country. The art in this period was plain and straightforward. Dhonburi art included painting, sculpture, architecture, fine and applied arts, music, dance and performing arts, encyclopedia, etc. Words relating to Dhonburi art were listed alphabetically. The content of the encyclopedia was easy, uncomplicated and suitable for youth. The format was easy to use, and readable. The illustrations were both slides and video. Keywords were linked to the related content and could be downloaded to a CD, USB drive or through websites. 2) Documentary evidences were primary sources, republished primary sources, academic documents by academic persons and writers and the storytelling based on Dhonburi history. Persons’ history was divided into 4 categories; persons before Dhonburi period, Dhonburi royal family, persons in major events in Dhonburi and persons involved with Dhonburi history. Overall persons at that time were those who sacrificed themselves and were from different ethnic groups, religions and viewpoints. The format designs of Dhonburi history and Dhonburi arts encyclopedias were the same. 3) Dhonburi history and art were publicized through workshop. The participants at the workshop agreed that this research was full of quality and value. The youth’s satisfaction towards the encyclopedia in terms of content and format was at a high level.

Downloads