แนวการการพัฒนาจิตสาธารณะของนักศึกษาผู้กู้ยืมเงินจากกองทุนเงินให้กู้ยืม เพื่อการศึกษา (กยศ.) มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย

Authors

  • เพ็ญศรี บรรเทา นักแนะแนวการศึกษาและอาชีพ กองพัฒนานักศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย
  • เสาวภา สุขประเสริฐ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย
  • ชมภูนาฏ ชมภูพันธ์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย

Keywords:

จิตสาธารณะ, กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา, public minds, students loans

Abstract

          The objectives of the study were to: 1) study the conditions and problems of the public minds of the students who got the students loans of Loei Rajabhat University and 2) investigate the guidelines for improving  the public minds of the students who got the student loans of Loei Rajabhat University. The samples were 360 students who got the students loans in the 1st  semester of academic year 2016. The tool is a questionnaire to collect data of 360 people and 3 groups of discussion issues. Data analysis is quantitative data, analyzed by means of mean and standard deviation. And content analysis For qualitative data, check the triangular data. Analyze data, summarize as important issues, compare and link Conclusions as follows: The results were as follows:

          1. The conditions of the public minds of the students who got the student loans on responsibility aspect, the overall and each aspect was at much level (gif.latex?\overline{X}= 4.06, S.D.= 0.33). They were on the responsibility of learning aspect (gif.latex?\overline{X}= 4.33, S.D.= 0.41), and on the responsibility of public benefits aspect (gif.latex?\overline{X}= 4.24, S.D.= 0.45). The lowest mean was on the responsibility of loan expenditure aspect (gif.latex?\overline{X}= 3.65, S.D.= 0.36).

          2. The guidelines for improving the of the public minds of the students who got the student loans were found as follows: 1) clear regulations, rules and practice of participation in activities, 2) clear mechanism and monitor of  participation in activities,3) the development of activity cards and full cycled information technology system, 4) the activity promotion and support of public mind, 5) the moral promotion and support of giving, 6) the promotion and support of monitoring activity provision, 7)the survey of opinions of activity planning and participation, 8) the promotion of activities by students, themselves, 9) the promotion of free public mind activities, and 10) the promotion of the overall public mind activities according to the attributes of undergraduate students.

 

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพและปัญหาการมีจิตสาธารณะของนักศึกษา ผู้กู้ยืมเงินจากกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา และ 2) ค้นหาแนวทางการพัฒนา จิตสาธารณะของนักศึกษาผู้กู้ยืมเงินจากกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา  กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ คือนักศึกษาผู้กู้ยืมเงินจากกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา ประจำภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2559 จำนวน 360 คน เครื่องมือ  คือ แบบสอบถามเก็บข้อมูลจำนวน 360 คน และประเด็นสนทนากลุ่ม จำนวน 3 ครั้ง การวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ข้อมูลเชิงปริมาณวิเคราะห์ด้วยการหาค่าเฉลี่ยและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ส่วนข้อมูลเชิงคุณภาพทำการตรวจสอบข้อมูลแบบสามเส้า วิเคราะห์ข้อมูลทำการสรุปเป็นประเด็นสำคัญนำมาเปรียบเทียบแล้วเชื่อมโยง สรุปผลการวิจัย ดังนี้

          1. สภาพการมีจิตสาธารณะของนักศึกษาผู้กู้ยืมเงินจากกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา ด้านความรับผิดชอบต่อตนเอง พบว่า โดยภาพรวม และรายด้านอยู่ในระดับมากทุกด้าน  (gif.latex?\overline{X}= 4.06, S.D.= 0.33)  นักศึกษามีความรับผิดชอบต่อตัวเองด้านการเรียน (gif.latex?\overline{X}= 4.33, S.D.= 0.41)  มีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมาได้แก่นักศึกษามีการรับผิดชอบต่อตัวเองด้านทำคุณประโยชน์ต่อตนเองและสังคม (gif.latex?\overline{X}= 4.24, S.D.= 0.45) ส่วนข้อที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุดคือ นักศึกษามีการรับผิดชอบต่อตัวเองด้านการใช้จ่ายเงินกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) (gif.latex?\overline{X}= 3.65, S.D.= 0.36)       

          2. แนวทางการพัฒนาจิตสาธารณะของนักศึกษาผู้กู้ยืมเงินจากกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา 1) ควรกำหนดให้มีระเบียบ ข้อบังคับแนวปฏิบัติในการเข้าร่วมกิจกรรมอย่างชัดเจน  2) ควรมีระบบกลไกลการตรวจสอบการเข้าร่วมกิจกรรมอย่างชัดเจน  3) ควรมีการพัฒนาบัตรกิจกรรม เป็นบัตรอิเล็กทรอนิกส์ โดยมีโปรแกรมกิจกรรมรองรับ และพัฒนาระบบสารสนเทศแบบ ครบวงจร  4) ควรมีกิจกรรมส่งเสริม การสร้างแรงจูงใจ สนับสนุนการทำดีมีจิตสาธารณะ  5) ควรมีทางการส่งเสริมและพัฒนาที่มีคุณค่าทางจิตใจ ตระหนักรู้จักการให้  6) ควรส่งเสริมให้นักศึกษาได้รับการสนับสนุนให้คำปรึกษา คำแนะนำในการดำเนินการจัดกิจกรรมทุกๆ ด้าน  7) ควรมีการสำรวจความคิดเห็นในเรื่องการจัดกิจกรรมการวางแผนการทำกิจกรรมหรือการเข้าร่วมกิจกรรม  8) ควรส่งเสริมให้นักศึกษาได้ดำเนินการจัดกิจกรรมด้วยตนเอง  9) ควรมีกิจกรรมส่งเสริมจิตสาธารณะด้วยความอิสระ ลงมือปฏิบัติทำกันเอง  และ 10) ควรมีกิจกรรมส่งเสริมกิจกรรมจิตสาธารณะให้ครอบคลุมครบในทุกๆ ด้านตามคุณสมบัติบัณฑิตที่พึงประสงค์

Downloads

Published

2019-05-14