การพัฒนาองค์ประกอบและตัวชี้วัดการจัดการสุขภาวะของผู้สูงอายุ ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

Authors

  • ภัทราพร เกษสังข์ อาจารย์ประจำสาขาวิชาการวิจัยและประเมินผลการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย
  • พระครู ปริยัติ คุณรังสี อาจารย์ประจำสาขาวิชาภาษาไทย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • ส่งสุข ภาแก้ว อาจารย์ประจำสาขาวิชาภาษาไทย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

Keywords:

ตัวชี้วัด, สุขภาวะ, ผู้สูงอายุ, indicators, happy condition, the elderly

Abstract

บทคัดย่อ

               การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาตัวชี้วัดการจัดการสุขภาวะของผู้สูงอายุในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ  2) ตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลตัวชี้วัดการจัดการสุขภาวะของผู้สูงอายุกับข้อมูลเชิงประจักษ์ และ 3) สร้างคู่มือการจัดการเสริมสร้างสุขภาวะของผู้สูงอายุ:  กรณีศึกษาโรงเรียนผู้สูงอายุในจังหวัดเลย กลุ่มเป้าหมายในการศึกษาการพัฒนาตัวชี้วัดการเสริมสร้างสุขภาวะของผู้สูงอายุ ประกอบด้วย 3 กลุ่ม คือ  (1) ตัวแทนเจ้าหน้าที่ของรัฐ จำนวน 6 คน  (2) พระวิทยากรอบรมเรื่องจิตของโรงเรียนผู้สูงอายุ จำนวน 3 รูป  (3) ตัวแทนผู้สูงอายุ จำนวน 13 คน เครื่องมือ คือ แบบสัมภาษณ์เชิงลึก การวิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา กลุ่มตัวอย่างในการตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลตัวชี้วัด ได้แก่ ผู้สูงอายุที่ศึกษาในโรงเรียนผู้สูงอายุประจำจังหวัด ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้แก่ จังหวัดเลย จังหวัดหนองบัวลำภู จังหวัดอุดรธานี จำนวน 500 คน เครื่องมือ คือ แบบสอบถาม การวิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันสองอับดับ และกลุ่มเป้าหมายในการสร้างคู่มือการเสริมสร้างสุขภาวะของผู้สูงอายุ ประกอบด้วย 3 กลุ่ม คือ (1) ตัวแทนเจ้าหน้าที่ของรัฐ จำนวน 6 คน (2) พระสงฆ์ จำนวน 3 รูป (3) ตัวแทนผู้สูงอายุ จำนวน 11 คน เครื่องมือ คือ การสัมภาษณ์เชิงลึก การวิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า

                1. ผลการพัฒนาองค์ประกอบและตัวชี้วัด พบว่า การจัดการสุขภาวะของผู้สูงอายุในภาคตะวันออกเฉียงเหนือแบ่งออกเป็นองค์ประกอบ 4 องค์ประกอบ คือ ภาวะที่เป็นสุขทางกาย ภาวะที่เป็นสุขทางจิตใจ ภาวะที่เป็นสุขทางสังคม และภาวะที่เป็นสุขทางจิตวิญญาณ และมีตัวชี้วัด 30 ตัว

                2. ผลการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันอันดับที่สอง พบว่า ค่าน้ำหนักองค์ประกอบทั้ง 4 องค์ประกอบมีค่าเป็นบวก คือ มีค่าตั้งแต่ 0.31 – 0.82 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ทุกค่า องค์ประกอบที่มีค่าน้ำหนักองค์ประกอบมากที่สุด คือ องค์ประกอบด้านภาวะที่เป็นสุขทางจิตใจ มี 9 ตัวชี้วัด รองลงมา องค์ประกอบด้านภาวะที่เป็นสุขทางสังคม มี 7 ตัวชี้วัด และองค์ประกอบด้านจิตวิญญาณ มี 8 ตัวชี้วัด และองค์ประกอบด้านภาวะที่เป็นสุขทางกาย มี 6 ตัวชี้วัด และโมเดลมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ (Chi-Square = 386.68, df = 350, p-Value = .09, GFI = 0.94, AGFI = 0.92, CN =426.90, RMSEA = 0.02, CN = 426.90)

 

Abstract

                This research aims to 1) Development Indicators management of Elder Health, Well-Being in the Northeast.  2) Check the consistency of the indicators model management of Elder Health, Well-Being in the Northeast with empirical data and  3) create a guide to managing the Elder Health, Well-Being:  A case study of elderly in the elderly school in Loei province.  Data collection with the 3 target groups for this study.  The Development of indicator for the Management of Elder Health, Well-Being were (1) Representatives of 6 government officials (2) 3 monk lecturers, mental matter training, in Schools of the Elderly (3) 13 elderly participants.  Samples were used to check the consistency of the indicators model management of Elder Health, Well-Being namely 500 elders are studying in the elderly schools in the 3 province in the Northeast BE 2560, include Loei, Nongbualumphu and Udonthani. And 3 target audiences was used to create a guide to managing the Elder Health, Well-Being were (1) representatives of 6 government officials (2) 3 monks (3) seniors attended by 11 elderly people.  Data collect by used in-depth interview, the respondents and data analysis. Qualitative data analyses by documentary analysis and analyzing the content, while analysis of quantitative data by analyzing two affirmative components. The analysis was as follows.

                 1. The results of the development of indicator for the management of elder health, well-being in the Northeast found that the indicator for the management of elder health, well-being in the Northeast divided into four components were happy physical, happy mentally, blessed social and Spiritual joy, and there are 30

                2. Results of confirmatory factor analysis rank second founded that the weight of the four configurations was positive. There is a value from 0.31 to 0.82. There was statistically significant at the .01 level, all values. The configuration with the most weight value is configuration of mental well-being, contains 9 indicators. The second is a configuration of happy social, contains 7 indicators, configuration of spirituality, contains 8 indicators and configuration of happiness physical, and contains 6 indicators.  The model is consistent with empirical data (Chi-Square = 386.68, df = 350, p-Value = .09, GFI = 0.94, AGFI = 0.92, CN = 426.90, RMSEA = 0.02, CN = 426.90)

References

กระทรวงสาธารณสุข. (2553). รักเข้าใจ“ผู้สูงอายุ” ช่วยส่งเสริมคุณภาพชีวิต. ค้นเมื่อ 5 มกราคม 2560, จาก https://www.dmh.go.th/strylibnews /view.asp?id=13165
กิจปพน ศรีธานี, และลำปาง แม่นมาตย์. (2557). กระบวนการจัดการความรู้ด้านสุขภาพชุมชน. วารสารวิชาการสาธารณสุข. 23(5), 774-787.
คณะกรรมการอำนวยการจัดทำแผนพัฒนาสุขภาพแห่งชาติ. (2544). แผนพัฒนาสุขภาพแห่งชาติ ฉบับที่ 9 (พ.ศ. 2545-2549). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์.
พรทิพย์ สุขอดิศัย, จันทร์ชลี มาพุทธ, และรุ่งฟ้า กิติญาณุสันต์. (2557). วิถีชีวิตและแนวทางการมีสุขภาวะของผู้สูงอายุในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วารสารการศึกษาและพัฒนาสังคม. 10(1), 90-102.
โอเคเนชั่น. (2553). รู้เรื่องสุขภาวะทางจิตวิญญาณ. ค้นเมื่อ 15 มกราคม 2560, จาก https://oknation.nationtv/blog/pongtheps/2010/01/31/entry-1
วัชพลประสิทธิ์ ก้อนแก้ว. (2557). พฤติกรรมสุขภาพ ของผู้สูงอายุที่อาศัยในเขตเทศบาลตำบล คลองตำหรุ อำเภอเมืองชลบุรี (วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐประศาสนศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารทั่วไป). ชลบุรี: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยบูรพา.
วรรณวิมล เมฆวิมล. (2554). ภาวะสุขภาพและพฤติกรรมการสร้างเสริมสุขภาพของบุคลากรในมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.
วิลาวัลย์ มาคุ้ม. (2549). การพัฒนาตัวบ่งชี้การจัดการความรู้ของครูในสถาบันศึกษาขั้นพื้นฐานสังกัด กระทรวงศึกษาธิการ (วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา). กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
สถาบันวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพชุมชน. (2558). สู่ชุมชนสุขภาพดี” คู่มือการพัฒนาระบบสุขภาพชุมชนด้วยกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่. กรุงเทพฯ: สหมิตรพริ้นติ้งแอนด์พับลิสซิ่ง.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2553). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11 (พ.ศ. 2555-2559). กรุงเทพฯ: สำนักนายกรัฐมนตรี.
สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ. (2552). พระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2550. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ.
Hair, J.F., et. Al. (2006). Multivariate data analysis. 6th ed. New Jersey: Pearson Prentice-Hall.
Joreskog, K. G., & Sorbom, (1993). LISRE 8 Structural Equation Modeling with the SIMPLIS Command Language. Chicago : Scientific D. Software International.

Downloads

Published

2019-02-14