แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรสายสนับสนุนมหาวิทยาลัยราชภัฏเลย

Authors

  • พลอยภัสสรณ์ สุจันทร์ศรี คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย
  • พรสวรรค์ ศิริกัญจนาภรณ์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย

Keywords:

แรงจูงใจในการปฏิบัติงาน, job motivation

Abstract

บทคัดย่อ

                การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรสายสนับสนุน มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาได้แก่ บุคลากรสายสนับสนุนของมหาวิทยาลัยราชภัฏเลย จำนวน 181 คน เครื่องมือวิจัย คือ แบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบสมมติฐาน การทดสอบที และการทดสอบเอฟ

                ผลการวิจัยพบว่า

                1. แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรสายสนับสนุนมหาวิทยาลัยราชภัฏเลย โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากสูงไปต่ำ คือ ด้านความสัมพันธ์กับผู้บังคับบัญชา ด้านสภาพแวดล้อม ในการทำงาน ด้านความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงาน ด้านความก้าวหน้าในตำแหน่งงาน ด้านรายได้และสวัสดิการที่ได้รับ ตามลำดับ

                 2. ผลการเปรียบเทียบแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรสายสนับสนุนมหาวิทยาลัยราชภัฏเลย โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล พบว่า บุคลากรสายสนับสนุนมหาวิทยาลัยราชภัฏเลย สถานภาพ ระดับการศึกษา และรายได้ต่อเดือน ต่างกัน มีแรงจูงใจในการปฏิบัติงานไม่แตกต่างกัน

                3. แนวทางส่งเสริมการปฏิบัติงานของบุคลากรสายสนับสนุนมหาวิทยาลัยราชภัฏเลย คือ ควรมีการพิจารณาการเลื่อนขั้นหรือตำแหน่งในระดับที่สูงขึ้น ผู้บังคับบัญชาควรรับฟังความคิดเห็นของบุคลากรสายสนับสนุน จัดหาสวัสดิการช่วยเหลือค่าเล่าเรียนบุตรของบุคลากรสายสนับสนุนควรมีการจัดการศึกษาดูงานของบุคลากรสายสนับสนุนทั้งในและต่างประเทศ บุคลากรสายสนับสนุนสามารถลาศึกษาต่อได้ และควรเพิ่มเงินเดือนให้ตามวุฒิการศึกษา

 

Abstract

                 The purposes of research were to study and compare job motivation of Loei Rajabhat University supporting staff classified by personal factors. The samples were 181 supporting staff at Loei Rajabhat University. The research instrument was a set of questionnaires. Collected data were analyzed by percentages, mean scores and standard deviations and hypothesis was tested by independent sample t-test and One-Way ANOVA.    

The findings were as follows:

                1. As a whole, job motivation of Loei Rajabhat University supporting staff was at a moderate level. When individually considered, the aspect of board relationship was at the highest level. This was followed by job environment, colleague relationship, job progress, and income and welfare respectively.

                 2. Comparison of job motivation of Loei Rajabhat University supporting staff classified by personal factor demonstrated that there were no job motivation differences of the staff with different status, educational level and monthly income.

                 3. As the guideline to promote job performance of Loei Rajabhat University supporting staff, the following aspects should be taken into consideration: job promotion, supporting staff’s opinions, provision of tuition assistance of supporting staff’s children, both domestic and international field trip support, study leave, and salary increases regarding educational degree.

References

กัลยา ยศคำลือ. (2553). รายงานวิจัย เรื่อง แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของพนักงานมหาวิทยาลัย ราชภัฏเลย (รายงานวิจัย). เลย: มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย.
ทศพร สอนบุตร. (2558). แรงจูงใจในการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ตำรวจสายงานจราจร สังกัดตำรวจภูธรจังหวัดสระแก้ว (วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). ชลบุรี: วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา.
บุญชม ศรีสะอาด. (2553). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: สํานักพิมพ์สุวีริยาสาส์น
ภูวนาถ เครือตาแก้ว. (2559). แรงจูงใจในการปฏิบัติงาน ของข้าราชการตำรวจสถานีภูธรเมืองสกลนคร (วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). สกลนคร: มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย. (2560). จำนวนบุคลากรสายสนับสนุนมหาวิทยาลัยราชภัฏเลย. เลย: ฝ่ายบริหารงานบุคคล มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย
สิริพร อําไพศรี. (2547). ปัจจัยที่มีผลต่อแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของพนักงานฝ่าย จัดเก็บค่าผ่านทางการทางพิเศษแห่งประเทศไทย. (วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ คณะรัฐประศาสนศาสตร์). กรุงเทพฯ: สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
สุจิตรา บณยรัตพันธุ์. (2546). ระเบียบวิธีวิจัยทางรัฐประศาสนศาสตร์. กรุงเทพฯ: สถาบันบัณฑิต พัฒนบริหารศาสตร์.
อรพินทร์ ชูชม. (2555). แรงจูงใจในการทำงาน: ทฤษฎีและการประยุกต์. วารสารจิตวิทยา. 2(2), 52 – 61.
Herzberg, F., Mausner, B., & Synderman, B. (1959). The motivation to work (2nded.). New York: John Wiley and Sons.

Downloads

Published

2019-02-14