รูปแบบการนำหลักโยนิโสมนสิการไปใช้ในการท่องโลกอินเทอร์เน็ตเพื่อลดปัญหาภัยจากอินเทอร์เน็ตสำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายในเขตกรุงเทพมหานคร

Authors

  • ฉัชศุภางค์ สารมาศ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย
  • สุทน ทองเล็ก คณะและปรัชญา มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย
  • พระปลัดสุรศักดิ์ ปุณฺณวุฑฺโฒ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง

Keywords:

ปัญหาภัยจากอินเทอร์เน็ต, การนำหลักโยนิโสมนสิการไปใช้, นักเรียนระดับมัธยมศีกษาตอนปลาย, internet problems, application of Yoniso Manasikara, secondary high schools students

Abstract

         The objectives of this research were as follows: to create and develop a Model Application of Yoniso Manasikāra to Use in the Internet to Minimize the Threat of the Internet for Students in Upper Secondary Schools in Bangkok Metropolis This research was mixed research, samples were 350 secondary high school students and had in-depth interview 5 persons, The instruments used were questionnaires and interview, which were reviewed by a panel of experts, sending the questionnaires to the respondents by postal. The statistics used were frequency, percentage, mean and standard deviation. Statistical inference or references, including  t-test and One-Way ANOVA if the difference was statistically significant at the .05 level. To test the difference of the average income is coupled by means of Scheffé.

         The research found that: WRS Model: W = Wholesome Action, R = Right Understanding, S = Safety

 

บทคัดย่อ

         บทความวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างและพัฒนารูปแบบการนำหลักโยนิโสมนสิการไปใช้ในการท่องโลกอินเทอร์เน็ตเพื่อลดปัญหาภัยจากอินเทอร์เน็ตสำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายในเขตกรุงเทพมหานคร การวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน กลุ่มตัวอย่าง คือนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย จำนวน 350 คน พร้อมทั้งได้สัมภาษณ์เชิงลึก จำนวน 5 คน เครื่องมือที่ใช้คือแบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ ซึ่งได้ผ่านการตรวจสอบจากผู้ทรงคุณวุฒิ ส่งแบบสอบถามให้กลุ่มตัวอย่างตอบทางไปรษณีย์ ใช้สถิติบรรยาย ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติอนุมานหรืออ้างอิง ได้แก่ t – test และ One-Way ANOVA ถ้าพบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 จะทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยเป็นรายคู่ด้วยวิธีการของเชฟเฟ่

         ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบ WRS Model ได้แก่ W = Wholesome Action กุศลกรรม R = Right Understanding สัมมาทิฏฐิ S = Safety ความปลอดภัย

 

Downloads

Published

2019-08-06

Issue

Section

Research article