การสร้างศิลปะแบบสื่อบูรณาการบนหลักการของ Algorithmic Composition

Authors

  • ประดิษฐ์ แสงไกร Conservatory of Music, Rangsit University

Keywords:

Algorithmic, Algorithmic Composition, สื่อบูรณาการ

Abstract

ในปัจจุบันสื่อทางด้านศิลปะได้ขยายรูปแบบไปในหลายทิศทาง ซึ่งก่อให้เกิดเทคนิคต่างๆ ที่ศิลปินนำมาประยุกต์ใช้ ไม่ว่าจะเป็นทางด้านจิตรกรรม, สถาปัตยกรรม, นาฏศิลป์ และดนตรี ซึ่งเกิดการขยายรูปแบบดังกล่าว ส่งผลให้เกิดการทับซ้อนทางด้านมิติของผลงาน และเป็นผลให้เกิดศิลปะในรูปแบบสื่อผสมระหว่างศิลปะสาขาต่างๆ ยกตัวอย่างเช่น งานโสตศิลป์ที่จำเป็นต้องอาศัยการรับรูทางตาผนวกกับการที่ต้องอาศัยอยู่บนพื้นที่ใดพท้นที่หนึ่ง หรือที่เราเรียกงานประเภทนี้ว่า การติดตั้งเสียง (Sound Installation) หรือว่าจะเป็นนาฏศิลป์ที่มีการนำเอาดนตรีเข้าไปมีส่วนประกอบสำคัญ เป็นต้น เราสามารถวิเคราะห์และจัดหมวดหมู่งานศิลปะแบบสื่อบูรณาการได้เป็นทั้งหมด 3 ประเภท คือ 1) มัลติมีเดีย (Multimedia) 2) สื่อผสม (Mix Media) 3) อินเตอร์มีเดีย (Intermedia)

References

1. Cope, D. (2000).Techniques of the Contemporary Composer. Schimer Books: 192-205, 206-14.
2. Moore, R. (1990). Elements in Computer Music. Prentice Hall: 397-410, 408-18.
3. อรพิณ ประวัติบริสุทธิ์. (2537). คู่มือเขียนโปรแกรมด้วยภาษวาจา. สำนักพิมพ์บริษัทโปรวิชั่น จำกัด: 131-140.

Downloads

Published

07.08.2018

How to Cite

แสงไกร ประดิษฐ์. 2018. “การสร้างศิลปะแบบสื่อบูรณาการบนหลักการของ Algorithmic Composition”. Rangsit Music Journal 5 (1):12-20. https://so06.tci-thaijo.org/index.php/rmj/article/view/138879.

Issue

Section

บทความวิชาการ | Academic Article