การประเมินหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสาธารณสุขชุมชนมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม

Main Article Content

กนกพร ทองสอดแสง1
อรนุช วงศ์วัฒนาเสถียร2
มณฑิรา จันทวารีย์3

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาวะการทำงานของบัณฑิต 2) ศึกษาการใช้หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาสาธารณสุข
ชุมชน ตามความคิดเห็นของบัณฑิตและอาจารย์และ3) ศึกษาคุณภาพของบัณฑิต ตามความคิดเห็นของอาจารย์ ผู้บังคับบัญชาและ
ผู้ร่วมงานของบัณฑิต กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นบัณฑิตที่จบการศึกษาหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาสาธารณสุขชุมชน
ปีการศึกษา 2556 และปีการศึกษา 2557 จำนวน 162 คน อาจารย์ผู้สอน จำนวน 8 คน และผู้บังคับบัญชาหรือผู้ร่วมงานของบัณฑิต
รวม 162 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม มี 3 ชุด แบบสอบถามบัณฑิตเพื่อประเมินหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขา
วิชาสาธารณสุขชุมชน แบบสอบถามสำหรับผู้บังคับบัญชาหรือผู้ร่วมงานของบัณฑิต และแบบสอบถามสำหรับอาจารย์ การหาคุณภาพ
ของเครื่องมือด้วยการตรวจพิจารณาความตรงตามเนื้อหารายข้อ (Item content validity index, I-CVI) ได้ค่าทุกข้อเท่ากับ 1.00 และ
ความตรงตามเนื้อหาทั้งฉบับ (Content validity for scale, S-CVI) เท่ากับ 1.00 ทั้ง 3 ชุด ผลการวิจัย พบว่า
1. สภาวะการทำงานของบัณฑิต บัณฑิตส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทั้งหมด หน่วยงานที่สังกัด ส่วนใหญ่เป็นโรงพยาบาลเอกชน
2. ศึกษาการใช้หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาสาธารณสุขชุมชน ระดับความคิดเห็นของบัณฑิตในภาพรวมอยู่ในระดับมาก
ยกเว้นความรู้ที่เคยเรียนมาในกลุ่มวิชาเลือกเสรี ไปใช้ในการปฏิบัติงานอยู่ในระดับปานกลาง ส่วนอาจารย์ผู้สอนมีความเห็นว่า ด้าน
โครงสร้างของหลักสูตรมีความเหมาะสมมาก
3. คุณภาพของบัณฑิต ตามความคิดเห็นของอาจารย์ ผู้บังคับบัญชาและผู้ร่วมงานของบัณฑิต พบว่า คุณภาพของบัณฑิตมีความ
เหมาะสมอยู่ในระดับมาก ด้านคุณธรรมและจริยธรรมของบัณฑิตมีมากที่สุด ด้านมนุษยสัมพันธ์รองลงมา ส่วนด้านความรู้ความสามารถ
พิเศษน้อยที่สุด
4. ความคิดเห็นของบัณฑิตเกี่ยวกับการสอนของอาจารย์ในสาขาวิชาสาธารณสุขชุมชน พบว่าในภาพรวมอยู่ในระดับมาก อาจารย์
มีความรู้ความสามารถเกี่ยวกับเนื้อหาวิชามากที่สุด รองลงมาคือบุคลิกลักษณะเหมาะสมกับอาชีพครูอยู่ในระดับมาก และการใช้เสียง
หรือท่วงที วาจา การตอบข้อซักถามอยู่ในระดับท้ายสุด


 

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

[1] BanpotSuwanprasert. (2001). Curriculum
Development by child center. Chiangmai : The
Knowledge Center.
[2] PinyoSathorn. (1999). “Curriculum Evaluation
for Education Development,” Journal of
Curriculum Development. (12)7 : 3.
[3] Office of the Higher Education Commission. (2008).
Handbook of Quality Assurance Education
within Higher Education Revised Edition.
Nonthaburi : Parbpim.
[4] ChomphanKunjara Na Ayudhaya. (1997). Curriculum
Development. Bangkok : RongphimKhao
ThahanAkat.
[5] Robert,V. Krejcie and Earyle,W. Morgan, (1970).
Determinining Sample Size for Research
Activities. Educational and Psychological
Measurement. 30 : 608-609.
[6] Faculty of Science and Technology, Rajabhat
Maha Sara Kham University. Bachalor of Science
Program in Community Public Health (New
Curriculum 2009).(2009). Maha Sara Kham :
RajabhatMaha Sara Kham University.
[7] Nuchanat Bannathon and Thikumporn khawkhong.
The research of the curriculum evaluation on
Master degree of nursing program, Thammasat
University. (2007) Prathumthani : Thammasat
University.