การสร้างแบบวัดความสามารถในการคิดวิเคราะห์สำหรับนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 A Construction of the Analytical Thinking Ability Test for Grade 6th Students.

Main Article Content

อัษฎาพร สายเชื้อ

บทคัดย่อ

งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ประการแรก เพื่อสร้างและหาคุณภาพของแบบวัดความสามารถในการคิดวิเคราะห์สำหรับนักเรียน
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 และประการที่สอง เพื่อสร้างเกณฑ์ปกติสำหรับแปลความหมายคะแนนความสามารถในการคิดวิเคราะห์ สำหรับ
นักเรียนชั้นประถมศึกษาปที ี่ 6 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษารอ้ ยเอ็ด เขต 2 กลมุ่ ตัวอยา่ งที่ใชใ้ นการวิจัยเปน็ นักเรียนระดับ
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2555 โรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 2
จำนวน 375 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน (Muti - stage radom sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบวัดความ
สามารถในการคิดวิเคราะห์ มีลักษณะเป็นแบบทดสอบ ชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 40 ข้อ หาคุณภาพของแบบวัดในด้านความ
เที่ยงตรงเชิงเนื้อหาค่าความยาก ค่าอำนาจจำแนก ความเที่ยงตรงเชิงโครงสร้าง และค่าความเชื่อมั่นของแบบวัดผลการวิจัยพบว่า
1. แบบวัดความสามารถในการคิดวิเคราะห์สำหรับนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 40 ข้อ มีลักษณะเป็นแบบ
ทดสอบ ชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก ประกอบด้วย ความสามารถด้านการวิเคราะห์ จำนวน 15 ข้อ ความสามารถด้านความคิดสร้างสรรค์
จำนวน 13 ข้อ และความสามารถด้านแนวปฏิบัติ จำนวน 12 ข้อ มีค่าความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหาตั้งแต่ 0.60 ถึง 1.00 ค่าความยากตั้งแต่
0.22 ถึง 0.62 ค่าอำนาจจำแนกรายข้อตั้งแต่ 0.26 ถึง 0.87 ความเที่ยงตรงเชิงโครงสร้าง โดยพิจารณาจาก ค่าไค-สแควร์สัมพัทธ์
เท่ากับ 0.99 ค่าดัชนีวัดระดับความสอดคล้อง (GFI) เท่ากับ 0.92 ค่าดัชนีวัดระดับความสอดคล้องที่ปรับค่าแล้ว (AGFI) เท่ากับ 0.90
และค่ารากกำลังสองเฉลี่ยของค่าความแตกต่างโดยประมาณ (RMSEA) เท่ากับ 0.03 แสดงว่าโมเดลมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิง
ประจักษ์ และความเชื่อมั่นของแบบวัดความสามารถในการคิดวิเคราะห์ ทั้งฉบับเท่ากับ 0.93
2. เกณฑ์ปกติของแบบวัดมีค่าอยู่ในช่วง T31 ถึง T70 แสดงว่านักเรียนมีความสามารถในการคิดวิเคราะห์อยู่ในระดับตํ่าถึง
ระดับสูง โดยความสามารถในการคิดวิเคราะห์ระดับสูงร้อยละ 9.06 ระดับค่อนข้างสูงร้อยละ 24.27 ระดับปานกลางร้อยละ 34.93 ระดับ
ค่อนข้างตํ่าร้อยละ 25.87 และ ระดับตํ่าร้อยละ 5.87 โดยส่วนใหญ่นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
ประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 2 มีความสามารถในการคิดวิเคราะห์อยู่ในระดับปานกลาง

The purposes of this research were 1) to construct and find qualities of analytical thinking ability test
for grade 6th students, and 2) to construct local norm for interpretation of analytical thinking score. 375
samples were selected by multi - stage random sampling from grade 6 students in the 1st semester of 2012
at the schools under the Office of Roi-Et Primary Educational Service Area 2. The research instrument was
analytical thinking ability test consisting of 40 items with 4 choices. The qualities of the test were Item - Objective
Congruence (IOC), item difficulty, discrimination indices, construct validity, and reliability.
The research findings were as follow:
1. The analytical thinking ability test consisted of 40 items that were divided into three parts; analytical
ability skill - 15 items, creativity ability skill - 13 items, and practical ability skill - 12 items. The content validity
of the test (IOC) was in the range of 0.60 -1.00, the item difficulty was in the range of 0.22 - 0.62, and the
discrimination indices was in the range of 0.26 - 0.87. The construct validity examined by relative chi-square
was 0.99( 2/ df = 0.99).The goodness of fit index (GFI) was 0.92, the adjusted goodness of fit index (AGFI)
was 0.90, and the root mean square error of approximation (RMSEA) was 0.03. The test reliability was 0.93.
2. The Normalized t-score was divided into five levels and the distribution of the score was ranged from
T31 to T70. Approximately, 9.06% had the high level, 24.27% had t- score at the fairy high level, 34.93 % had
the t-score at the medium level, 25.87% had T-score at the fairly low level, and 5.87% had the low level. The
result of this study indicated that most of grade 6 students at the schools under the Office of Roi-Et Primary
Educational Service Area 2 had analytical thinking ability skill in moderate level.

Article Details

บท
บทความวิจัย