ผลของความหนาแน่นต่อการเจริญเติบโตและผลตอบแทนการเลี้ยงปลาโมง ในกระชัง Effects of Different Stocking Density on Growth Performance and Economic Returns of Bocourti Catfish (Pangasius bocourti, Sauvage) Raised in Cage Culture

Main Article Content

สมศักดิ์ ระยัน
พัชรี มงคลวัย

Abstract

บทคัดย่อ


ผลของความหนาแน่นต่อการเจริญเติบโตและผลตอบแทนการเลี้ยงปลาโมงในกระชังในแม่นํ้าสงคราม บริเวณบ้านปากยาม ตำบลสามผง อำเภอศรีสงคราม จังหวัดนครพนม วางแผนการทดลองแบบสุ่มตลอด มี 3 ชุดการทดลองๆ ละ 3 ซํ้า อัตราความหนาแน่น 3 ระดับ คือ 125 150 และ 175 ตัว
ต่อลูกบาศก์เมตร โดยให้อาหารเม็ดลอยนํ้าที่มีองค์ประกอบโปรตีน 30 เปอร์เซ็นต์ ปล่อยปลาขนาด
ความยาวเฉลี่ย 16.13+-1.12 16.17+-1.03 และ 16.15+-1.06 เซนติเมตร และนํ้าหนักเฉลี่ย 50.07+-10.83 50.05+-10.45 และ 50.08+-10.14 กรัม เป็นระยะเวลา 36 สัปดาห์ เมื่อสิ้นสุดการทดลองพบว่าปลาโมงมีความยาวเฉลี่ย 36.00+-2.47 36.29+-2.36 และ 35.17+-1.98 เซนติเมตร ตามลำดับ ซึ่งมีความแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ (P>0.05) นํ้าหนักเฉลี่ย 649.03+-168.55 697.49+-149.36 และ 604.91+-133.55 กรัม ตามลำดับ ที่ระดับความหนาแน่น 150 ตัวต่อลูกบาศก์เมตร แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05) กับที่ระดับ 125 และ 175 ตัวต่อลูกบาศก์เมตร มีอัตราการรอดตายเฉลี่ยเท่ากับ 99.63+-0.06 99.11+-0.53 และ 99.12+-0.15 เปอร์เซ็นต์ มีความแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ (P>0.05) อัตราการเปลี่ยนอาหารเป็นเนื้อที่ระดับ 150 ตัวต่อลูกบาศก์เมตร มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.07+-0.07 มีค่าความแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ (P>0.05) กับที่ระดับความหนาแน่น 125 ตัวต่อลูกบาศก์เมตร แต่แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05) กับที่ระดับ 175 ตัวต่อลูกบาศก์เมตร มีค่าเฉลี่ย 2.23+-0.08 การเลี้ยงปลาโมงในกระชังมีต้นทุนเฉลี่ย 56.01 56.04 และ 60.12 บาทต่อกิโลกรัม ตามลำดับ และมีกำไรสุทธิเฉลี่ยเท่ากับ 15,514.04 19,873.25 และ 16,689.82 บาทต่อกระชัง ตามลำดับ เมื่อพิจารณาผลตอบแทนการลงทุนการเลี้ยงปลาโมงในกระชังมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 42.83 42.74 และ 33.07 เปอร์เซ็นต์ (ต่อกระชัง) จากการวิเคราะห์ต้นทุนการผลิตพบว่าอัตราความหนาแน่นที่เหมาะสมในการเลี้ยงปลาโมงในกระชังคือ 150 ตัวต่อลูกบาศก์เมตร เพราะมีกำไรสุทธิสูงสุด


Abstract


The effect of stocking density on growth performance and economic returns of bocourti catfish (Pangasius bocourti, Sauvage) cultured in experimental floating
cages was conducted using the Complete Randomized Design (CRD) with 3 replicates of 3 stocking density (SD) : 125 150 and 175 fish/m3. Fish of initial average size of 16.13+-1.12 16.17+-1.03 and 16.15+-1.06 cm in length and 50.07+-10.83 50.05+-10.45 and 50.08+-10.14 g in body weight. Fish were fed with pellet diet containing 30% protein twice a day for 36 weeks. The results showed that SD had no significant (P>0.05) influence on final lengths 36.00+-2.47 36.29+-2.36 and 35.17+-1.98 cm, respectively, and survival rate 99.63+-0.06 99.11+-0.53 and 99.12+-0.15%, respectively. There was significant difference (P<0.05) observed final weights and Feed Conversion
Ratio (FCR) whilst final weights of fish in 150 fish/m3 (697.49+-149.36 g) were
significant in comparison to the ratio of fish in the 125 and 175 fish/m3
(i.e. 649.03+-168.55 and 604.91+-133.55 g respectively). FCR of fish in both 125 and 150 fish/m3 (i.e. 2.03+-0.10 and 2.07+-0.07, respectively) were not significant different, these obviously were different in comparison to the ratio of fish in 175 fish/m3 (2.23+-0.08). Economic analysis showed that fish stocked at 125 150 and 175 fish/m3 had production unit cost 56.01 56.04 and 60.12 baht/kg respectively. Net profit were 15,514.04 19,873.25 and 16,689.82 baht respectively. Percentage of return profit were 42.83 42.74 and 33.07% respectively (per cage). Considering on net income and net profit, the optimum stocking density of bocourti catfish culture was 150 fish/m3.

Article Details

How to Cite
[1]
ระยัน ส. and มงคลวัย พ., “ผลของความหนาแน่นต่อการเจริญเติบโตและผลตอบแทนการเลี้ยงปลาโมง ในกระชัง Effects of Different Stocking Density on Growth Performance and Economic Returns of Bocourti Catfish (Pangasius bocourti, Sauvage) Raised in Cage Culture”, RMUTI Journal, vol. 8, no. 2, pp. 111–121, Sep. 2015.
Section
บทความวิจัย (Research article)
Author Biographies

สมศักดิ์ ระยัน

คณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสกลนคร

พัชรี มงคลวัย

คณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสกลนคร

References

Aiello R. and Rogerson G. D. (2003). Ultra-wideband wireless systems. IEEE Microwave
Magazine. Vol. 4. No. 2. pp. 36-47

Ahonnom, S and Akkaraekthalin, P. (2008). Wideband dual mode microstrip bandpass
filters using a new perturbation with notch rectangular slots. In Proceeding
of ECTI-CON 2008. pp. 269-272

G or r, A. (2002). A novel dual-mode bandpass filter with wide stopband using the
properties of microstrip open-loop resonator. IEEE Microwave and Wireless
Components Letters. Vol. 12. No. 10. pp. 386-388

Hsieh, L. H. and K. Chang. (2001). Compact, Low insertion loss, sharp rejection
wideband bandpass filters using dual-mode ring resonators with tuning stubs.
Electronics Letters. Vol. 37. No. 22. pp. 1345-1347

IE3D Users’ Manual, Release 8. (2001). Zeland Software. Inc., Fremont. CA.

Konpang, J. Namahoot, A. and Akkaraekthalin, P. (2004). A wideband bandpass filter
using properties of microstrip open loop resonators with outer tuning stubs.
In Proceeding of TENCON 2004. 2004 IEEE Region 10 Conference. Vol. 3.
pp. 624-627