การปรับปรุงอุณหภูมิภายในห้องอัดอากาศเพื่อลดการใช้พลังงานของระบบอัดอากาศ

Main Article Content

ธีรนนท์ นามวงษา
ณัฐดนย์ พรรณุเจริญวงษ์
ฉัตรชัย เบญจปิยะพร
ผดุงศักดิ์ รัตนเดโช

บทคัดย่อ

       งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของอุณหภูมิภายในห้องอัดอากาศต่อการใช้พลังงานของระบบอัดอากาศ ซึ่งได้ทำการศึกษาโดยใช้ระบบอัดอากาศของบริษัท พานาโซนิค แมนูแฟคเจอริ่ง (ประเทศไทย) จํากัด สาขาขอนแก่น การเก็บข้อมูลจะแบ่งออกเป็น 3 ช่วง โดยช่วงที่หนึ่งเป็นการเก็บข้อมูลก่อนและหลังปรับปรุงเพื่อลดอุณหภูมิ ในการปรับปรุงนั้นได้ทำการเปลี่ยนพัดลมระบายอากาศจากขนาด 1,060 m3/min เป็นขนาด 1,700 m3/min และขนาดท่อสุญญากาศดูดความร้อนให้มีขนาดใหญ่ขึ้น จากนั้นทำการเก็บข้อมูลที่ได้โดยทำการวัดค่าอุณหภูมิรอบ ๆ เครื่องและภายในห้อง ค่าการใช้พลังงานไฟฟ้า และปริมาณการผลิตอากาศอัดโดยใช้เทอร์โมมิเตอร์ อีซีโอ พาเวอร์มิเตอร์ และ โฟลมิเตอร์ ตามลำดับ จากการเก็บข้อมูลอุณหภูมิเฉลี่ยภายนอกห้องอยู่ที่ 28°C และอุณหภูมิเฉลี่ยภายในห้องลดลงจาก 38°C เป็น 33°C ค่าพลังงานไฟฟ้าจำเพาะในช่วงโหลดลดลงจาก 6.63 kW/m3/min เป็น 6.4 kW/m3/min ปริมาณการใช้พลังงานลดลงจาก 5,846 kWh/day เป็น 5,704 kWh/day และผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมการเกิด CO2 สามารถลดไปได้ 27 ตัน CO2 ต่อปี ในช่วงที่ 2 และ 3 เป็นการติดตามผลเมื่ออุณหภูมิภายนอกมีการเปลี่ยนแปลง โดยช่วงที่ 2 อุณหภูมิเฉลี่ยภายนอกอยู่ที่ 31°C มีการใช้พลังงาน 5,688 kWh/day และช่วงที่ 3 อุณหภูมิเฉลี่ยภายนอกอยู่ที่ 36°C มีการใช้พลังงาน 5,737 kWh/day จากการศึกษาพบว่าอุณหภูมิภายนอกไม่ได้เป็นผลกระทบโดยตรงที่ทำให้อุณหภูมิภายในห้องอัดอากาศสูงขึ้น แต่มาจากความร้อนที่ถูกปล่อยจากตัวเครื่อง ดังนั้นการลดลงของอุณหภูมิภายในห้องอัดอากาศสามารถลดปริมาณการใช้พลังงานไฟฟ้าที่เป็นต้นทุนในการผลิตลงได้

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

[1] Mousavi S, Kara S, Kornfeld B. Energy efficiency of compressed air systems. Procedia CIRP. 2014;15:313–8.

[2] Saidur R, Rahim NA, Hasanuzzaman M. A review on compressed-air energy use and energy savings. Renew Sustain Energ Rev. 2010; 14(4):1135–53.

[3] Zahlan J, Asfour S. A multi-objective approach for determining optimal air compressor location in a manufacturing facility. J Manuf Syst. 2015; 35:176–90.

[4] Yang M. Air compressor efficiency in a Vietnamese enterprise. Energy Policy. 2009; 37(6):2327–37.

[5] Faxsaeng A, Yongchareon W. Energy Management of the compressed air system in glass industry. J South Tech. 2015; 6(1):1-8.

[6] Benedetti M, Bertini I, Bonfa F, et al. Assessing and improving compressed air systems’ energy efficiency in production and use: Findings from an explorative study in large and energy-intensive Industrial firms. Energ procedia. 2017;105:3112–7.

[7] Pannucharoenwong N. Comparison of biomethane gas wobbe index in different animal manure substrate. Energ procedia. 2017; 138:273–77.

[8] Chaichan W, Tongnork S, Ornying P, et al. Study and design vertical axis wind turbine for low wind speed area. UTK Res J. 2017;11(2):17–25.

[9] Samakkurn V, Latae A, Burandej W. Improve air compressors used in automation to reduce in the system. Chonburi. Burapha University. 2011.