จริยธรรมในการตีพิม์ผลงานวิจัยในวารสารวิชาการ (Publication Ethics)

     วารสารวิชาการ มทร. สุวรรณภูมิ มีความมุ่งมั่นในการดำเนินการเพื่อให้การตีพิมพ์เผยแพร่บทความทางวิชาการเป็นไป
อย่างถูกต้องและมีคุณภาพ อีกทั้งยังให้ความสำคัญกับการปฏิบัติงานอย่างโปร่งใสภายใต้หลักธรรมาภิบาลด้านจริยธรรม
อย่างเคร่งครัด โดยได้กำหนดบทบาทหน้าที่และหลักการปฏิบัติตนที่ดีด้านจริยธรรมของการตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานของ
วารสารไว้ให้กับบรรณาธิการ (Editor) ผู้นิพนธ์ (Author) และผู้ประเมินบทความ (Reviewer) ไว้ดังต่อไปนี้

บทบาทและหน้าที่ของบรรณาธิการ (Duties of Editors)

     1. บรรณาธิการต้องตรวจสอบบทความเบื้องต้นให้สอดคล้องกับนโยบาย วัตถุประสงค์ และขอบเขตของวารสาร
รวมทั้งตรวจสอบการคัดลอกผลงานทางวิชาการของผู้อื่น (Plagiarism) และพิจารณาคุณภาพโดยรวมของบทความก่อน
หากพบว่ามีเนื้อหาซ้ำซ้อนหรือมีการคัดลอกอย่างมีนัยสำคัญจะต้องแจ้งปฏิเสธรับเข้าสู่ระบบการประเมินบทความ

     2. บรรณาธิการพิจารณาเลือกผู้ทรงคุณวุฒิโดยพิจารณาจากความชำนาญในสาขาที่สอดคล้องกับบทความ

     3. บรรณาธิการต้องมีความเป็นกลางในการคัดเลือกบทความเพื่อเข้าสู่กระบวนการประเมิน ไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อน
และจะต้องใช้หลักทางวิชาการประเมินคุณภาพบทความอย่างเสมอภาค

     4. บรรณาธิการต้องเก็บรักษาข้อมูลของผู้เขียนและข้อมูลของผู้ทรงคุณวุฒิไว้เป็นความลับ เพื่อให้กระบวนการ
ดำเนินการอยู่ในหลักจริยธรรมและนโยบายของวารสาร

     5. บรรณาธิการต้องปฏิเสธการรับบทความที่อยู่ระหว่างการพิจารณาจากแหล่งเผยแพร่อื่น หรือบทความที่เคย
ผ่านการตีพิมพ์มาก่อน

     6. บรรณาธิการต้องตรวจสอบการใช้ภาษาต่างประเทศให้ถูกต้องตามหลักไวยกรณ์อย่างเคร่งครัด

บทบาทและหน้าที่ของผู้นิพนธ์ (Duties of Authors)

     1. ผู้นิพนธ์ต้องศึกษาการใช้งานของระบบวารสาร (ThaiJo) ศึกษาคำแนะนำในการส่งต้นฉบับให้เข้าใจอย่างถ่องแท้
และยอมรับที่จะปฏิบัติตามคำแนะนำที่วารสารกำหนดทุกประการ

     2. ผู้นิพนธ์ต้องไม่ส่งบทความที่เคยผ่านการตีพิมพ์หรืออยู่ระหว่างการพิจารณาจากแหล่งเผยแพร่อื่น

     3. ผู้นิพนธ์ต้องไม่คัดลอกผลงานทางวิชาการ (Plagiarism) ของผู้อื่นและของตนเอง (Self-Plagiarism)

     4. ผู้นิพนธ์ร่วมในบทความต้องเป็นผู้ที่มีส่วนร่วมในการรับผิดชอบในการดำเนินการวิจัยนั้นจริง

     5. ผู้นิพนธ์ต้องนำเสนอเนื้อหาที่สำคัญตามที่วารสารกำหนด เช่น วิธีการศึกษา ผลการศึกษาและการอภิปรายผล
ให้อยู่บนพื้นฐานความถูกต้อง โดยจะไม่บิดเบือนผลการศึกษา

     6. ผู้นิพนธ์ต้องอ้างอิง (Citation) แหล่งที่มาในเนื้อหา และ เอกสารอ้างอิง (Reference) ในส่วนท้ายของบทความ
ให้ถูกต้องครบถ้วนตามรูปแบบที่วารสารกำหนด

     7. ผู้นิพนธ์ต้องยอมรับการตัดสินใจจากบรรณาธิการวารสาร

บทบาทและหน้าที่ของผู้ทรงคุณวุฒิประเมินบทความ (Duties of Reviewers)

     1. ผู้ทรงคุณวุฒิต้องศึกษาคำแนะนำในการส่งต้นฉบับ เพื่อให้การประเมินเป็นไปตามหลักการที่วารสารกำหนดไว้

     2. ผู้ทรงคุณวุฒิต้องเป็นผู้มีความรู้ ความสามารถ ความเชี่ยวชาญในสาขาบทความที่ประเมิน และประเมินบทความ
โดยให้ข้อเสนอแนะที่มีเหตุผลทางวิชาการอย่างเข้มข้น เพื่อให้บทความมีคุณภาพสูงสุด

     3. ผู้ทรงคุณวุฒิต้องตรวจสอบว่าบทความที่รับประเมินนั้น มีความซ้ำซ้อนหรือมีการคัดลอกบทความอื่นหรือไม่
หากพบว่ามีเนื้อหาซ้ำซ้อนหรือมีการคัดลอกอย่างมีนัยสำคัญจะต้องแจ้งปฏิเสธรับประเมินบทความให้วารสารรับทราบ

     4. ผู้ทรงคุณวุฒิต้องใช้หลักจริยธรรม ความยุติธรรม มีความเป็นกลาง ปราศจากอคติในการพิจารณาบทความ

     5. ผู้ทรงคุณวุฒิต้องรับผิดชอบต่อบทความที่รับพิจารณาประเมิน และส่งผลประเมินตามระยะเวลาโดยเคร่งครัด

     6. ผู้ทรงคุณวุฒิต้องรับผิดชอบข้อมูลของบทความที่รับพิจารณาประเมินไว้เป็นความลับระหว่างและหลังการประเมิน