มโนทัศน์หลักสูตรและแบบเรียนภาษาไทยระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานของเด็กข้ามชาติไทใหญ่ในจังหวัดเชียงใหม่

Main Article Content

สิระ สมนาม
จินตนา สุจจานันท์

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการรับรู้คุณค่าของหลักสูตรและมวลประสบการณ์ผ่านแบบเรียนวิชาภาษาไทยระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานของนักเรียนข้ามชาติไทใหญ่ 2) วิเคราะห์เชื่อมโยงความรู้ในแบบเรียนวิชาภาษาไทยกับประสบการณ์ในวิถีชีวิตประจำวันของนักเรียนข้ามชาติไทใหญ่ กลุ่มเป้าหมายการวิจัยคือผู้เรียนข้ามชาติไทใหญ่ ในอำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 15 คน ใช้กระบวนการวิจัย คือ การวิเคราะห์เนื้อหา และการสนทนากลุ่ม เครื่องมือการวิจัยประกอบด้วยประเด็นสนทนากลุ่มย่อย และแบบวิเคราะห์เนื้อหา วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าความถี่ ร้อยละและวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า

1. การรับรู้คุณค่าของหลักสูตรและมวลประสบการณ์ผ่านแบบเรียนวิชาภาษาไทยระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานของนักเรียนข้ามชาติไทใหญ่นั้นยังมีจำกัด

2. การเชื่อมโยงความรู้ในแบบเรียนวิชาภาษาไทยกับประสบการณ์ในวิถีชีวิตประจำวันของนักเรียนข้ามชาติไทใหญ่ยังมีน้อย

3. ผู้สอนควรปรับเนื้อหาแบบเรียนให้เหมาะสมกับศักยภาพและบริบทการเรียนรู้ของผู้เรียนไทใหญ่ เพื่อช่วยให้สามารถเรียนรู้เนื้อหาการเรียนโดยใช้ภาษาไทยเป็นเครื่องมือการสื่อสารได้อย่างเต็มศักยภาพ


Curriculum and Thai language textbooks concepts on basic education of Shan migrant children in Chiang Mai Province

The objectives of this study were to 1) study the perception of value of the curriculum and the learning experience via basic level Thai Language textbooks of Shan students; and 2) analyze the connection of the knowledge in the textbooks and the learning experience of the students in their daily life. The samples were 15 Shan students in Doisaket District, Chiang Mai, Thailand. The research methodology was mixed method; content analysis and focused on the group. The research instruments were focus group topic and content analysis form. The data was analyzed by frequency, percentage and content analysis. The results were as follows;

1. The perception of curriculum and experience via basic level Thai Language textbooks of students Shan is limited.

2. The connection of the knowledge in the textbooks and their real life experience are also less.

3. Teachers should adapt the contents to help the Shan learners for learning Thai language as a communication tool to its fullest potential.

Article Details

How to Cite
สมนาม ส., & สุจจานันท์ จ. (2017). มโนทัศน์หลักสูตรและแบบเรียนภาษาไทยระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานของเด็กข้ามชาติไทใหญ่ในจังหวัดเชียงใหม่. RMUTSB ACADEMIC JOURNAL (HUMANITIES AND SOCIAL SCIENCES), 2(1), 44–56. Retrieved from https://so05.tci-thaijo.org/index.php/rmutsb-hs/article/view/97870
Section
บทความวิจัย (Research article)