Login or Register to make a submission.

As part of the submission process, authors are required to check off their submission's compliance with all of the following items, and submissions may be returned to authors that do not adhere to these guidelines.

  • The submission has not been previously published, nor is it before another journal for consideration (or an explanation has been provided in Comments to the Editor).
  • The submission file is in OpenOffice, Microsoft Word, RTF, or WordPerfect document file format.
  • Where available, URLs for the references have been provided.
  • The text is single-spaced; uses a 12-point font; employs italics, rather than underlining (except with URL addresses); and all illustrations, figures, and tables are placed within the text at the appropriate points, rather than at the end.
  • The text adheres to the stylistic and bibliographic requirements outlined in the Author Guidelines, which is found in About the Journal.
  • If submitting to a peer-reviewed section of the journal, the instructions in Ensuring a Blind Review have been followed.

1. ผู้ที่รับผิดชอบส่งบทความ (Corresponding author) สมัครสมาชิกผ่านระบบ ThaiJo วารสารวิชาการ มทร.สุวรรณภูมิ (มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์)  https://so05.tci-thaijo.org/index.php/rmutsb-hs/
2. เรื่องที่ลงตีพิมพ์ ต้องเป็นบทความวิจัยหรือบทความวิชาการที่ไม่เคยตีพิมพ์ที่ใดมาก่อน หรืออยู่ในระหว่างการรอพิจารณาจากวารสารอื่น รับตีพิมพ์ผลงานทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
3. ต้นฉบับต้องมีเนื้อเรื่องที่สมบูรณ์จบในฉบับ พิมพ์หน้าเดียว (ไม่ต้องจัดสองคอลัมน์) ด้วยกระดาษสีขาวขนาด A4 (หรือ 8.5 นิ้ว × 11 นิ้ว) จัดพิมพ์ด้วยโปรแกรมพิมพ์เอกสารทั่วไป เช่น MS-Word ส่วนของเนื้อหาต้นฉบับภาษาไทยและต้นฉบับภาษาอังกฤษให้ใช้รูปแบบอักษร Cordia UPC ขนาด 14 pts. พิมพ์แบบเสมอหน้า-หลัง (justified)
4. ประเภทของผลงาน
4.1 บทความวิจัย (Research article) หมายถึง งานเขียนที่เป็นรายงานการวิจัยที่ดำเนินการเสร็จสิ้นแล้ว ความยาวไม่เกิน 15 หน้า มีหัวข้อตามลำดับ ดังนี้
ชื่อเรื่อง (Title): ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
ชื่อ (Author) และหน่วยงาน (Affiliation): ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
บทคัดย่อ (Abstract): ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ความยาวไม่เกิน 350 คำ
คำสำคัญ (Keywords): ไม่เกิน 7 คำ เรียงลำดับตามความสำคัญ โดยวางไว้ท้ายบทคัดย่อ และคำสำคัญภาษาอังกฤษต้องสอดคล้องกับภาษาไทย
บทนำ (Introduction): นำเสนอความสำคัญ ที่มาของปัญหาวิจัยและสาระสำคัญจากงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ซึ่งรวมการตรวจเอกสารบางส่วนไว้ด้วย วัตถุประสงค์ของการวิจัยให้นำเสนอไว้ตอนท้ายของบทนำ
วิธีการศึกษา (Methodology): ระบุวิธีการศึกษาและรายละเอียดให้กระชับ ชัดเจน โดยเลือกตามลักษณะใดลักษณะหนึ่ง ดังนี้
1) การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey research) ระบุ ประชากร กลุ่มตัวอย่าง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล ระยะเวลาที่เก็บข้อมูลสถิติเพื่อการวิเคราะห์ข้อมูล
2) การวิจัยเชิงทดลอง (Experimental research) ระบุรายละเอียดวิธีการศึกษาให้กระชับและเป็นขั้นตอน ประกอบด้วย รายละเอียดของหน่วยทดลอง การบันทึกข้อมูล แผนการทดลองที่ใช้อย่างชัดเจน การวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติที่เหมาะสม พร้อมระบุสถานที่และช่วงเวลาดำเนินการวิจัย
3) การวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative research) ระบุผู้ให้ข้อมูล คุณสมบัติผู้ให้ข้อมูลหรือแหล่งข้อมูล วิธีการเก็บข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล สถานที่ที่ทำการเก็บข้อมูลและช่วงเวลาของการเก็บข้อมูล
4) การวิจัยผสมผสาน (Mixed methods research) ระบุว่าเก็บข้อมูลประเภทใดก่อน ระหว่างข้อมูลเชิงปริมาณกับข้อมูล เชิงคุณภาพหรือว่าเก็บข้อมูลทั้งสองประเภทไปพร้อม ๆ กัน ระบุวิธีการเก็บข้อมูลแต่ละประเภท ระบุประชากร กลุ่มตัวอย่าง สำหรับการเก็บข้อมูลเชิงปริมาณ ผู้ให้ข้อมูล การเลือกผู้ให้ข้อมูล สำหรับการเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพ การวิเคราะห์ข้อมูลแต่ละประเภท สถานที่ที่ใช้ในการเก็บข้อมูลและระยะเวลาของการเก็บข้อมูล
ผลการศึกษา (Results): เสนอผลการวิจัยให้สอดคล้องครอบคลุมจุดมุ่งหมายของการวิจัย ให้สอดคล้องกับลักษณะการวิจัยที่ใช้ เช่น ผลการศึกษาเชิงปริมาณ ผลการศึกษาเชิงคุณภาพหรือผลการศึกษาในลักษณะผสมผสาน
อภิปรายผล (Discussion): บรรยายผลการวิจัยตามจุดมุ่งหมายของการวิจัย หรือคำถามการวิจัย หรือสมมุติฐานการวิจัย บรรยายว่าการที่ผลการวิจัยออกมาเช่นนั้นน่าจะเกิดจากอะไร อย่างไร พร้อมอ้างงานวิจัยหรือหลักการ ทฤษฎีมารองรับ
สรุป (Conclusion): เป็นการสรุปผลที่ได้จากการศึกษาวิจัย พร้อมทั้งเสนอแนวทางที่จะนำไปใช้ประโยชน์หรือประเด็นที่ควรทำวิจัยต่อไปในอนาคต
คำขอบคุณ (Acknowledgement) (ถ้ามี): เป็นการแสดงความขอบคุณสำหรับหน่วยงานที่ให้ทุนวิจัย และผู้ช่วยเหลืองานวิจัย (แต่มิได้เป็นผู้ร่วมงานวิจัย)
เอกสารอ้างอิง (References): ให้ยึดหลักเกณฑ์ตามข้อ 7
หมายเหตุ: ผลการศึกษาและอภิปรายผล (Results and discussion): อาจเขียนรวมหรือแยกกันก็ได้ตามความเหมาะสม
4.2 บทความวิชาการ (Academic article) หมายถึง งานเขียนที่เสนอประเด็นปัญหา ข้อวินิจฉัย ข้อสมมุติ หรือข้อสรุป ในเรื่องใดเรื่องหนึ่งที่มีหลักฐานอ้างอิง ไม่ใช่ความคิดเห็นของผู้เขียนอย่างเดียว รูปแบบการเขียนอนุโลมตามผู้เขียนโดยมีบทคัดย่อ (Abstract) ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ สรุป และเอกสารอ้างอิง
4.3 บทความปริทัศน์ (Review article) ความยาวไม่เกิน 10 หน้า การเรียบเรียงเนื้อหาทางวิชาการที่ได้จากการทบทวนวรรณกรรม (literature review) จากเอกสารงานวิจัยหลาย ๆ เรื่อง (ไม่ควรน้อยกว่า 15 เรื่อง) นำเสนอประเด็น/ ข้อเท็จจริง/ ข้อสรุป จำแนกเป็นหัวข้อให้เหมาะสม ควรสอดแทรกความคิดเห็นของผู้เขียนบนพื้นฐานของการอ้างอิงทางวิชาการรูปแบบการเขียนอนุโลมตามผู้เขียนโดยมี บทคัดย่อ (Abstract) ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ สรุป และเอกสารอ้างอิง และให้คงสาระสำคัญของบทนำ วิธีการศึกษา ผลการศึกษา และอภิปรายผล
4.4 บทความรับเชิญ (Invited article) ความยาวไม่เกิน 10 หน้า รูปแบบการเขียนอนุโลมตามผู้เขียนโดยมีบทคัดย่อ (Abstract) ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ สรุป และเอกสารอ้างอิง และให้คงสาระสำคัญของบทนำ วิธีการศึกษา ผลการศึกษา และอภิปรายผล
5. การอ้างอิงในเนือ8 เรื่อง ใช้ระบบ ชื่อ - ปี (author - date citation system) เช่น Vangpikul, & Wongsak (2016) รายงานว่า...หรือ...(Vangpikul, & Wongsak, 2016) Vangpikul, Wongsak, Boonnoon, Songthong, & Chaitharee (2016) รายงานว่า...หรือ (Vangpikul, Wongsak, Boonnoon, Songthong, & Chaitharee, 2016) กรณีที่ผู้เขียน 6 คนขึ้นไป ให้ใช้ Vangpikul et al. (1980) รายงานว่า…หรือ....(Vangpikul et al., 1980) กรณีที่มีหลายการอ้างอิงในเรื่องเดียวกัน ให้ใช้…(Gardner et al., 1981; Wongsak et al., 1983; Boonnoon, 1985; Johnson, & Anderson, 1999) โดยเรียงตามปีที่พิมพ์
6. ตารางและภาพประกอบ ชื่อ คำอธิบายในตารางและภาพประกอบให้ใช้ภาษาอังกฤษทั้งหมด การใส่หมายเหตุ (footnote) ของตารางให้ใช้ระบบตัวเลขแสดงคำอธิบาย เช่น 1/, 2/ เป็นต้น ชื่อตารางให้วางอยู่เหนือตาราง เช่น Table 1 Antioxidant activities of …. ส่วนชื่อภาพประกอบให้วางอยู่ใต้ภาพ เช่น Figure 1 Disease levels according to …. การแสดงนัยสำคัญให้ใช้สัญลักษณ์ " * " หรือ " ** " สำหรับ P<0.05 และ P<0.01 ตามลำดับ หน่วยในตาราง (รวมถึงในเนื้อเรื่อง) ให้ใช้ระบบเมตริกซ์และหน่วยวัดให้เขียนชื่อหน่วยเต็ม เช่น กิโลกรัม กิโลเมตร มิลลิกรัม มิลลิลิตร เป็นต้น ตารางไม่ควรมีเส้นแบ่งสดมภ์ (column) ยกเว้นกรณีจำเป็น
7. เอกสารอ้างอิง ที่ใช้อ้างอิงในเนื้อเรื่อง และบรรณานุกรม (Bibliography) ที่ใช้ประกอบและประมวลในการเขียนแต่ไม่ได้อ้างอิงในเนื้อเรื่อง ให้อ้างอิงตามรูปแบบ APA (American Psychological Association) โดยผู้เขียนบทความภาษาไทยที่มีรายการอ้างอิงเป็นภาษาไทย ต้องเปลี่ยนให้เป็นภาษาอังกฤษทุกรายการและยังคงรายการอ้างอิงภาษาไทยเดิมไว้ด้วย เพื่อให้กองบรรณาธิการตรวจสอบความถูกต้องในการแปล ตัวอย่างเช่น
มนตรี สังข์ทอง. (2556). การศึกษาประสิทธิภาพของวิธีการประมาณค่าพารามิเตอร์ในการวิเคราะห์พหุระดับ เมื่อกลุ่ม
          ตัวอย่างมีขนาดเล็ก. วารสารวิทยาศาสตร์บูรพา, 18(1), 116-124.
Sonktong, M. (2013). The study of efficiency of parameter estimation methods in multilevel
          analysis of small sample groups. Journal of Burapha University, 18(1), 116-124.
7.1 เรียงลำดับเอกสาร โดยเรียงลำดับตามตัวอักษรและสระ และตามจำนวนผู้เขียนกรณีผู้เขียนคนเดียวกันให้เรียงตามปี
7.2 การพิมพ์บรรทัดแรกของเอกสารอ้างอิงแต่ละเรื่อง อักษรตัวแรกห่างจากริมกระดาษด้านซ้ายหนึ่งนิ้วครึ่ง บรรทัดที่สองและบรรทัดต่อไปให้ย่อหน้าโดยเว้น 5 ตัวอักษร นับจากอักษรตัวแรกของชื่อผู้แต่ง (เริ่มพิมพ์ในระดับตัวอักษรที่ 6)
7.3 การอ้างอิงวารสาร (Journal)
ชื่อผู้เขียน. (ปี ที่พิมพ์). ชื่อเรื่อง. ชื่อวารสาร, ปีที่(ฉบับที่), เลขหน้าเริ่มต้น-หน้าสุดท้าย.
Azalea, A., Omar, F., & Mastor, K. A. (2009). The role of individual differences in job satisfaction
          among Indonesians and Malaysians. European Journal of Social Sciences, 10(4), 496-511.
7.4 การอ้างอิงตำรา (Text book) และหนังสือ
ชื่อผู้เขียน. (ปีที่พิมพ์). ชื่อหนังสือ. เมืองที่พิมพ์: สำนักพิมพ์,
Songthong, M. (2014). Principles of statistics. Bangkok: SE-EDUCATION Pub Co., Ltd.
Charmaz, K. (2006). Constructing grounded theory: A practical guide through qualitative analysis.
           London: Sage.
7.5 การอ้างอิงวิทยานิพนธ์ (Thesis)
ชื่อผู้เขียน. (ปีที่พิมพ์). ชื่อเรื่อง (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิตหรือปริญญาดุษฎีบัณฑิต). สถาบันการศึกษา,
          สถานที่พิมพ์.
Someran, L. (2011). Factors influencing the retention of academic staff at Rajamangala University of
         Technology Suvanabhumi
(Doctoral dissertation). Burapha University, Chonburi.
7.6 การอ้างอิงเรื่องย่อยในตำราหรือหนังสือที่มีผู้เขียนแยกเรื่องกันเขียน และมีบรรณาธิการ (Chapter in a book)
ชื่อผู้เขียน. (ปีที่พิมพ์). ชื่อเรื่องย่อย. ใน ชื่อบรรณาธิการ (บ.ก.), ชื่อหนังสือ (เลขหน้าเริ่มต้น-เลขหน้าที่สิ้นสุด).
          เมืองที่พิมพ์: สำนักพิมพ์.
Okumus, F. (2008). Strategic human resource management issues in hospitality and tourisim
          organisizations. In D. V. Tesone (Eds.), Handbook of hospitality human resource management
          (pp. 469-20). Orlando: Elsevier.
7.7 การอ้างอิงรายงานการวิจัย (Research report)
ชื่อผู้เขียน. (ปีที่พิมพ์). ชื่อเรื่อง (รายงานผลการวิจัย). เมืองที่พิมพ์: สถาบัน หน่วยงานหรือสำนักพิมพ์.
Theraumpon, N. (2003). Automatic classification of white blood cells in bone marrow images (research
          report). Chiangmai: Chiangmai University.
7.8 การอ้างอิงสื่อโสตทัศนวัสดุ สื่ออิเล็กทรอกนิกส์ (Audiovisual media)
ชื่อผู้จัดทำ. (ปีที่จัดทำ). ชื่อเรื่อง. [ประเภทของสื่อโสตทัศนวัสดุ]. เมืองที่พิมพ์: สถาบันหรือหน่วยงานที่จัดพิมพ์.
Jubin, H. (1998). Java beans by example. [CD ROM]. Upper Saddle River, New Jersey: Prentice Hall.
7.9 การอ้างอิงจากเอกสารประชุมวิชาการ (Proceedings)
ชื่อผู้เขียน. (ปีที่พิมพ์). ชื่อบทความ. ใน บรรณาธิการ (บ.ก.), ชื่อเรื่องการประชุม (เลขหน้าเริ่มต้น-เลขหน้าที่สิ้น สุด).
          เมือง สถานที่จัด: หน่วยงานที่จัดหรือสำนักพิมพ์.
Someran, L. (2014). Factors influencing retention of staff at Rajamangala University of Technology
          Suvarnabhumi. In A Proceedings of The 5th Rajamangala University of Technology International
          Conference
(pp. 308-316). Phranakhon Si Ayutthaya: Rajamangala University of Technology
          Suvarnabhumi.
7.10 การอ้างอิงจากสื่ออิเล็กทรอนิกส์
ชื่อผู้เขียน. (ปีที่พิมพ์). ชื่อเรื่อง. สืบค้น วันเดือนปี , จาก URL.
BLCI Group. (2005). Report of salary and the welfare in 2007. Retrieved 21 April 2005, from
          http://www.blcigroup.com/page_jamnean_grist_detail.php?W_ID=25
7.11 การอ้างอิงบุคลานุกรม (ในกรณีที่เนื้อหาส่วนสำคัญ) (Interview)
ชื่อผู้ให้สัมภาษณ์ (ปี, วัน เดือน ที่สัมภาษณ์) ตำแหน่ง สถานที่ทำงาน. (สัมภาษณ์)
Watjanatepin, N. (2018, May 12) Director of Institute of research and development, RUS.
          (Interview)
8. การส่งต้นฉบับ ส่งออนไลน์ที่ https://so05.tci-thaijo.org/index.php/rmutsb-hs/ และผู้เขียนสามารถตรวจสอบสถานะใน website ดังกล่าวได้
9. การตรวจแก้ไขและการยอมรับการตีพิมพ์
9.1 การติดต่อผู้เขียนเพื่อการตรวจแก้ไขหรือตอบรับ/ ปฏิเสธการตีพิมพ์ จะดำเนินการผ่านทางระบบ ThaiJo ผู้เขียน สามารถติดตามสถานภาพของต้นฉบับที่ส่งได้ที่ https://so05.tci-thaijo.org/index.php/rmutsb-hs/
9.2 เรื่องที่ผ่านการพิจารณาให้ตีพิมพ์จากผู้ตรวจประเมิน (ทัั้งภายในและภายนอก) อย่างน้อย 2 ท่าน จึงจะยอมรับให้ตีพิมพ์ในวารสาร
9.3 กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการตรวจแก้ไขเรื่องที่จะส่งไปลงพิมพ์ทุกเรื่องตามที่เห็นสมควร ในกรณีที่จำเป็นจะส่งต้นฉบับที่แก้ไขแล้วคืนผู้เขียนเพื่อความเห็นชอบอีกครั้งก่อนพิมพ์
10. ลิขสิทธิ์
ต้นฉบับที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นสิทธิของเจ้าของต้นฉบับและของวารสารวิชาการ มทร. สุวรรณภูมิ (มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์) เนื้อหาบทความในวารสารเป็นแนวคิดของผู้แต่ง มิใช่เป็นความคิดเห็นของคณะกรรมการจัดทำวารสาร และมิใช่ความรับผิดชอบของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ
11. ยินยอมการตีพิมพ์บทความลงในวารสารวิชาการ มทร. สุวรรณภูมิ (มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์)
ก่อนที่บทความของท่านจะได้รับการตีพิมพ์ลงในวารสารวิชาการ มทร. สุวรรณภูมิ (มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์)
ต้องได้รับคำยินยอมจากผู้เขียนที่เป็น corresponding author เสียก่อน
12. เกณฑ์การประเมินบทความ
กองบรรณาธิการจะพิจารณาบทความเบื้องต้นเกี่ยวกับความถูกต้องของรูปแบบทั่วไป ถ้าไม่ผ่านการพิจารณาจะส่งกลับเพื่อทำการแก้ไข ถ้าผ่านจะเข้าสู่กระบวนการพิจารณาของผู้ทรงคุณวุฒิภายนอก และเมื่อบทความได้รับการตีพิมพ์ ผู้เขียน/corresponding author จะได้รับหนังสือรับรองการตีพิมพ์บทความ