การบริหารจัดการแรงงานของธุรกิจไทย ภายหลังพม่าปฏิรูปประเทศ และ AEC มาถึง

Main Article Content

มารศรี เจษฎาปฏิพัทธ์

Abstract

ภายใต้กรอบประชามคมเศรษฐกิจอาเซียนหรือ AEC ที่ประเทศสมาชิกต้องร่วมมือ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายภายในปี 2558 มีผลส่งเสริมให้เศรษฐกิจในภูมิภาค นี้มีการขยายตัวมากขึ้น โดยเฉพาะประเทศพม่าที่ล่าสุดได้มีการปฏิรูปการปกครองเป็นแบบประชาธิปไตย ทำให้การหลั่งไหลของการลงทุนเข้าไปในพม่ามีแนวโน้มสูงขึ้น ประเทศไทยซึ่งมีความสัมพันธ์กับพม่ามาช้านาน และทำการค้า การลงทุนกับพม่ามากที่สุดเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศสมาชิกอาเซียนด้วยกัน จึงอาจได้รับผลประโยชน์จากการเติบโตทางเศรษฐกิจนี้ด้วยเช่นกัน ในบทความนี้ได้ชี้ประเด็นสำคัญเกี่ยวกับการจัดการแรงงานที่ธุรกิจไทยต้องเตรียมพร้อม เพราะมีความเป็นไปได้ว่าแรงงานพม่าที่เป็นแรงงานต่างด้าวที่ธุรกิจไทยพึ่งพามากที่สุดอาจเกิดการเคลื่อนย้ายกลับประเทศ ทำให้แรงงานระดับล่างขาดแคลน ขณะเดียวกันก็อาจมีแรงงานเคลื่อนย้ายสัญชาติอื่น เช่น ลาว และ กัมพูชา ที่อพยพเข้าเมืองโดยผิดกฎหมายสู่ประเทศไทยมากขึ้น ก่อให้เกิดการแย่งงานแรงงานไทย ปัญหาสังคม ปัญหาความมั่นคงของประเทศ และ ปัญหาอื่น ๆ อีกมากมาย ดังนั้น การแก้ปัญหาในระยะยาว ธุรกิจไทยต้องพัฒนาผลิตภาพของแรงงานไทย ยกระดับแรงงานระดับล่างให้เป็นแรงงานระดับกลาง นำเทคโนโลยีการผลิตที่ทันสมัยมาทดแทนกำลังแรงงาน และ ภาครัฐต้องสร้างกลไกการเคลื่อนย้ายแรงงานส่วนเกิน โดยเฉพาะแรงงานนอกระบบที่เป็นแรงงานส่วนใหญ่ของประเทศให้สามารถตอบสนองความต้องการแรงงานของธุรกิจไทยได้อย่างเหมาะสม ขณะเดียวกันต้องจำกัดปริมาณแรงงานต่างด้าวที่เข้าเมืองอย่างถูกกฎหมายเพื่อลดการพึ่งพาแรงงานต่างด้าวลง โดยแนะนำให้ธุรกิจไทยที่ยังคงต้องการใช้แรงงานระดับล่างเพื่อลดต้นทุน พิจารณาเรื่องการย้ายฐานการผลิตไปยังประเทศเพื่อนบ้านที่มีค่าจ้างแรงงานตํ่ากว่าเป็นอีกทางเลือกหนึ่ง

 

Labor Management of Thai Business after Myanmar Policy Reform and Towards AEC

Under ASEAN Economic Community (AEC) framework that required the co-operation of ASEAN members to achieve the end goal by 2015, this will increase the economic growth in this region. Especially, Myanmar which has recently reformed and democratized her state policy. This should contribute to the flow of foreign investment into Myanmar. Thailand also can engage with this advantage since Thailand has had long relationship with Myanmar in terms of trades and the value of Thai investment in Myanmar is the highest among ASEAN members. This article aimed to point out the importance of labor management and how Thai Business sector could overcome the obstacles of labor management, since it was possible that the Burmese, which most Thai business sector had relied on, would move back to their own country. This would cause the shortage of unskilled labor in Thailand. At the same time, there might be the increase of other foreign laborers from Laos and Cambodia migrate to Thailand illegally. As a result, it would cause job-fightings, social and national security problems, etc. Thus, for the long range solution, Thai business sector needed to develop the productivity of Thai labor; raise the capability of the Thai unskilled labor to the semi-skilled labor ; use modern technology in production to substitute the manpower. Moreover, the public sector had to establish mechanism to transfer the excessive labor force, especially the informal employment which was the country majority labor force to be able to meet the needs of Thai business sector. At the same time, it was necessary to limit the number of foreign laborers who immigrate lawfully to Thailand. This was done in order to decrease the number of foreign Labor. In addition, Thai business sector which still needed to use unskilled labor to lower the capital was encouraged to transfer its production bases to other neighboring countries as alternative solution.

Article Details

Section
Article