การเปิดเสรีอาเซียน 2558 ในมิติของการพัฒนาสังคม และความมั่นคงของมนุษย์

Main Article Content

กิติพัฒน์ นนทปัทมะดุลย์

Abstract

การเปิดเสรีอาเซียน 2558 ในมิติของการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ประชาคมสังคมวัฒนธรรมอาเซียน หรือ ASCC จะให้ความสำคัญกับการยก ระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนในภูมิภาคนี้ โดยการดำเนินกิจกรรมร่วมกันกิจกรรมที่เน้นประชาชนเป็นพื้นฐาน และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ทั้งนี้ ประชาคม สังคมวัฒนธรรมอาเซียนมีสาระสำคัญ ที่มุ่งให้บรรลุผลสำเร็จหกประการ คือ (ก)การพัฒนามนุษย์ (ข) การคุ้มครองทางสังคมและสวัสดิการสังคม (ค) ความยุติธรรมทางสังคมและการเคารพสิทธิ (ง) การดูแลสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน (จ) การสร้างอัตลักษณ์อาเซียน และ (ฉ) การลดช่องว่างของการพัฒนา แผนปฏิบัติการของ ASCC ให้ความสำคัญกับการพัฒนามนุษย์และการขจัดความยากจน กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ควรริเริ่มให้มีการจัดตั้งกลไก หรือแผนงานการทำงานด้านการพัฒนามนุษย์เพื่อขจัดความยากจนกับสมาชิกอาเซียน โดยเฉพาะประเทศเพื่อนบ้านที่มีปัญหาสังคมร่วมกัน ทั้งนี้ ปัญหาสังคมหลายประการมีจุดกำเนิด มีเส้นทางผ่านและมีปลายทาง วนเวียนอยู่ในกลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียน อาทิ ปัญหาการค้ามนุษย์ ปัญหาแรงงานข้ามชาติ และปัญหายาเสพติด ปัญหาเหล่านี้ล้วนมีต้นตอมาจากความยากจน และความเปราะบางของมนุษย์ กระบวนการดำเนินงานด้านป้องกันและแก้ไขปัญหาเหล่านี้ ตลอดจนการพัฒนาเด็ก การพัฒนาสตรี เป็นสิ่งที่สมาชิกอาเซียนได้ร่วมดำเนินการอยู่บ้างแล้ว ประเทศไทย น่าจะเป็นเจ้าภาพ ในการเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับระบบและกระบวนการที่ดำเนินงานอยู่แล้ว ทั้งในประเทศไทยและในกลุ่มเครือข่ายสมาชิกอาเซียน โดยพิจารณาฐานแนวคิด สามประการ ได้แก่ (ก) ประสิทธิภาพและการระดมทรัพยากร (ข) ผลกระทบและความสำเร็จและ (ค) ความเป็นธรรม

ในระดับของการบริหารจัดการเชิงกลยุทธ์ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์พึงจัดการเพิ่มพูนสมรรถนะ ให้กับบุคลากร โดยพื้นฐานการทำงานที่สอดคล้องกับโอกาสของประชาคมอาเซียน พ.ศ. 2558 ได้แก่ การผลิต/พัฒนาบุคลากรให้มีวัฒนธรรมการทำงานที่เคารพสิทธิของประชาชนทุกชาติทุกภาษา(ประชาชนเป็นศูนย์กลาง) ต้องมีการปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์อย่างขนานใหญ่ บุคลากรต้องเข้าถึงวัฒนธรรมที่ให้เกียรติทุกๆ ชาติพันธุ์ ทุกๆ ชาติภาษา เข้าใจในคุณค่าของความหลากหลายทางวัฒนธรรม ฯลฯ พื้นฐานตรงนี้เป็นส่วนสำคัญอย่างยิ่ง

 

2012 ASEAN Free Trade Area in the dimension of the Social Development and Human Security

The 2012 ASEAN Free Trade Area in the dimension of social development and human security, ASEAN Socio-Cultural Community (ASCC) will give importance to lift the quality of life of people in the region. This can be achieved by cooperative activities that emphasized on people-centered and environmentally friendly. The ASCC envisages the success of the following six characteristic : 1) human development, 2) social welfare and protection, 3) social justice and rights, 4) ensuring environmental sustainability, 5) building ASEAN identity, and 6) narrowing the development gap. As the ASCC action plans emphasize on human development and poverty eradication, Thailand’s Ministry of Social Development and Human Security should initiate in setting mechanism or action plans with other ASEAN members about human development in order to eliminate poverty, especially Thailand’s neighboring countries that share various social problems. These countries are as the origins, the routes, and the destinations of the problems, such as human trafficking; alien workers, and illegal drug trafficking. These problems originate from poverty and human fragility. The implementation processes for preventing and problem-solving of these mutual problems, including children and women development which have been conducted by the member countries. Thailand should be the host in building and strengthening the existing system and processes conducted in Thailand and other networking groups in ASEAN by considering the following three concepts: 1) capacity building in human resources; 2) effect and success ; 3) fairness.

At the level of strategic administration, Ministry of Social Development and Human Security should consider to increase the personnel capability to be able to work in harmony with 2012 ASEAN Community, for example, to develop the personnel to have the working culture in respecting rights of people of different nations and languages (people-centered). Besides, there must be a massive paradigm shift. In addition, the personnel must have access to honor people from various ethnic groups, or languages, they should understand the value of cultural diversity, etc., which is considered the most important.

Article Details

Section
Article