ประเทศไทยกับการเป็นประชาคมอาเซียน : โอกาส และความเสี่ยง

Main Article Content

มธุภาณี ไทยภักดี

Abstract

ในช่วงเวลา 45 ปีที่ผ่านมา อาเซียนหรือสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออก เฉียงใต้ประสบความสำเร็จเป็นที่ยอมรับในหลายด้าน ไม่ว่าจะเป็นบทบาทการสร้าง บรรยากาศของสันติภาพและการอยู่รวมกันอย่างสันติของประเทศในภูมิภาค การช่วยแก้ไขความขัดแย้งในกัมพูชา การจัดตั้งเขตการค้าเสรีอาเซียน เป็นต้น อย่างไร ก็ตามยังมีความตึงเครียดที่เกิดจากความแตกต่างกันระหว่างประเทศอาเซียนด้วย กันไม่ว่าจะเป็นการกระทบกระทั่งระหว่างไทย- กัมพูชา ต่อกรณีกรรมสิทธิ์เหนือดิน แดนเขาพระวิหาร และข้อพิพาทเขตแดนระหว่าง มาเลเซีย – ฟิลิปปินส์ – อินโดนีเซีย รวมทั้งความแตกต่างด้านสังคมและวัฒนธรรม เพราะประชากรในภูมิภาคเอเชีย ตะวันออกเฉียงใต้ มีความหลากหลายทางเชื้อชาติศาสนา นอกจากความตึงเครียด ที่เกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศทางด้านการเมืองการทหารและความมั่นคง ดังกล่าวแล้วความไม่เท่าเทียมกันทางด้านการพัฒนาระหว่างประเทศที่เป็นสมาชิก อาเซียนดั้งเดิมกับประเทศที่เข้าร่วมอาเซียนภายหลัง จึงมีความจำเป็นต้องสร้างเสริม อาเซียนให้เข้มแข็งกว่าเดิมโดยการจัดตั้งสมาคมประชาชาติอาเซียนให้เป็นประชาคม อาเซียน โดยมีสามเสาหลักช่วยคํ้าจุนและสร้างความแข็งแกร่งทางด้านเศรษฐกิจ การเมือง ตลอดจนทางด้านสังคมและวัฒนธรรม หรือมีชื่อเรียกกันตามลำดับว่า 1) ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน 2) ประชาคมเศรษฐกิจ 3) ประชาคม สังคมและวัฒนธรรม เมื่อมีการจัดตั้งประชาคมอาเซียน ใน พ.ศ. 2558 (ค.ศ.2015) และหลังจากนั้นตลอดไป ประชาคมอาเซียน (AC) จะสร้างความแข็งแกร่ง ความมั่นคง ความรุ่งเรืองและความมีชีวิตที่ดีแก่พลเมืองแต่ละประเทศในภูมิภาคแห่งนี้

 

Thailand and ASEAN Community : Opportunity and Risk

Over the part forty-five years, ASEAN or Association of Southeast Asian Nations has been accepted in many areas, for example : to promote regional peace and stability of the member countries ; to provide assistances in mediating in the disputes in Cambodia ; to establish ASEAN Free Tread Area, etc. However, there are still some tensions occurring out of the differences within member countries, such as the dispute between Thailand and Cambodia about the proprietary rights of the surrounding areas of Preah Vihear Temple ; the border conflicts of Malaysia the Philippines Indonesia ; the differences in social and cultural practices since the ASEAN people have racial and religious diversity. In addition, it was obvious that there were some disparities among member countries in terms of the level of development. It was necessary, therefore, to explore new avenues for closer cooperation among member countries. As a result, ASEAN Community should be established by 2015. The ASEAN Community is comprised of three pillars, namely : 1) ASEAN Political – Security Community 2) ASEAN Economic Community 3) ASEAN Socio-Cultural Community. The official establishment of ASEAN Community in 2015 will strengthen regional peace and stability, accelerate economic growth and promote active collaboration and mutual assistant to raise the living standards of their people.

Article Details

Section
Article