การมีส่วนร่วมของชุมชนในการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์บริเวณตลาดน้ำโบราณบางพลี อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ

Main Article Content

พรทิพย์ จุ้ยรอด

Abstract

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับการมีส่วนร่วมและปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการมีส่วนร่วมในการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ของประชาชนบริเวณตลาดน้ำโบราณบางพลี พร้อมทั้งสำรวจปัญหาและข้อเสนอแนะด้านการมีส่วนร่วมของชุมชนในการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ของประชาชนในพื้นที่ ผู้วิจัยได้ทำการค้นคว้ารวบรวมข้อมูลจากเอกสารและการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) จากกลุ่มตัวอย่างที่เป็นตัวแทนครัวเรือนของประชาชนในพื้นที่ตลาดน้ำโบราณบางพลีจำนวน 303 ตัวอย่าง โดยการสุ่มกลุ่มตัวอย่างโดยสะดวกด้วยเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถามประกอบด้วยข้อมูลด้านปัจจัยส่วนบุคคล ด้านสังคมและเศรษฐกิจ ความรู้ความเข้าใจในการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ และระดับการมีส่วนร่วมในการพัฒนาฯ นอกจากนี้ได้เก็บข้อมูลจากการสัมภาษณ์เจาะลึกแบบมีโครงสร้างจำนวน 8 คน คือ เจ้าหน้าที่รัฐ 1 คน คณะกรรมการชุมชน 2 คน และประชาชนในชุมชน 5 คน และวิเคราะห์โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ร้อยละ ความถี่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การผันแปรทางเดียว(one-way ANOVA) และ t-test ตรวจสอบรายคู่ด้วยวิธีของเชฟเฟ่ (Scheffe) และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน (Pearson Product Moment Correlation)

ผลการศึกษาพบว่า ประชาชนในพื้นที่บริเวณตลาดน้ำโบราณบางพลีส่วนใหญ่มีส่วนร่วมในการพัฒนา การท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ในพื้นที่โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลางเมื่อพิจารณาเป็นรายด้านคือ 1.ด้านการเข้าร่วมประชุมแสดงความคิดเห็น 2.ด้านการร่วมวางแผนและตัดสินใจ 3.ด้านการร่วมสนับสนุนและดำเนินการ และ 4.ด้านการติดตามและประเมินผล พบว่าประชาชนส่วนใหญ่ในพื้นที่มีส่วนร่วมอยู่ในระดับปานกลางในทุกด้านด้วยเช่นกัน ทั้งนี้ประชาชนส่วนใหญ่มีส่วนร่วมในด้านการร่วมสนับสนุนและดำเนินการการจัดกิจกรรมของชุมชน เช่นประเพณีรับบัว หรืองานแต่งกายย้อนยุคมากที่สุดเนื่องจากเป็นกิจกรรมที่ต้องใช้กำลังคนมากและเป็นกิจกรรมสำคัญของชุมชนที่ทุกคนมีความภาคภูมิใจในมีส่วนร่วมสืบสานวัฒนธรรมประเพณีอันดีงามของชุมชน

ด้านปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการมีส่วนร่วมในการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ในพื้นที่ คือ อายุ ระยะเวลาที่อยู่อาศัยในพื้นที่ ภูมิลำเนาเดิม สื่อที่ได้รับ และความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์บริเวณตลาดน้ำโบราณบางพลี มีอิทธิพลต่อการมีส่วนร่วมในการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ในขณะที่ เพศ รายได้ อาชีพ ระดับการศึกษา และสถานภาพทางสังคม ไม่มีอิทธิพลต่อการมีส่วนร่วมในการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

ด้านปัญหาการมีส่วนร่วมในชุมชนส่วนใหญ่จะประสบปัญหาด้านการมีเวลาการไม่ได้รับข่าวสารและการประสานงาน การไม่ได้รับโอกาส การไม่เห็นความจำเป็นและการมีความรู้ความเข้าใจไม่เพียงพอ โดยประชาชนส่วนใหญ่ทราบว่าการไม่เข้าร่วมส่งผลต่อการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ในพื้นที่ ทั้งนี้ให้คำแนะนำ ว่าควรมีการจัดการแก้ไขด้านการจัดสรรเวลาให้เหมาะสม การแจ้งข้อมูลข่าวสารให้ทั่วถึงและชัดเจน การรับฟังความคิดเห็นของสมาชิกในชุมชน และรณรงค์ให้สมาชิกในชุมชนมีส่วนร่วมพร้อมทั้งปลูกฝังจิตสำนึกความรับผิดชอบต่อชุมชนของตนเอง

 

The Participation of Community in Developing Eco-tourism at Bangplee Ancient Market, Bangplee District, Samutprakarn

The purpose of this study were 1) to investigate the levels of The participation of community in developing eco-tourism in Bangplee ancient market, Bangplee District, Samutprakarn Province and 2) to investigate the factors affecting the community involvement as well as to explore the problems of community involvement and suggestions. The researcher had collected data from documents and survey research of 303 samples of Bangplee households’ at random by convenience method. The quantitative approach was achieved by applying the designed questionnaire tool for personal data, the knowledge and understanding of eco-tourism development and the level of involvement in eco-tourirsm development to the samples. In addition, the researcher had collected addtiontional data by the purposive structured interview purposive to 8 cases (1 state authority, 2 community’s leaders, and 5 community’s participants). The Data were analyzed by percentage, frequency, mean, standard deviation, one-way ANOVA, t-test, Scheffe and Pearson Product Moment Correlation through complete package for statistic result. The results of the quantitative study had shown that the majority of the local people had participated in developing eco-tourism in Bangplee Ancient Market at moderate level. It was found that they had all participated in Meeting, Planing ,Perfoming, and Evaluating in moderate level too. Factors affecting their participation were age, length of stay, birthplace, communication channel, and knowledge and understanding in developing eco-tourism at Bangplee Ancient Market by statistical significance at .05 level. While gender, income, occupation, educational level, and social status had no affected to their participation at the statistical significance of .05 level.

The problems of the community participation were concerned with the lack o time, lack of information and contacts, lack of rights and opportunities, lack of needs and lack of knowledge and abilities. However the majority of these respondents people knew that these problems of the community participation community will affect the progress of eco-tourism development in the area. These respondents suggested managing the proper schedule for most members, broadcasting and coordianating all members thoroughly and clearly, listening to all members’ opinions, and campaigning all members to participate in eco-tourism development as well as indoctrinating conscious of own community’s responsibility to all members.

Article Details

Section
Article